ชวนไปทำนา..กับบัวชมพู Goเตรียมต้นกล้า


ต้นกล้า คือ จุดเริ่มต้นของการปลูกต้นข้าว

   

  

      การเตรียมต้นกล้า เป็นพื้นฐานการทำนาดำที่จะต้องมีการหว่านต้นกล้าเพื่อที่จะนำไปปลูกในแปลงนาอีกครั้ง และขั้นตอนการเตรียมต้นกล้านับว่ามีความสำคัญมากเช่นกัน ความสำคัญเริ่มมาจากการคัดเมล็ดพันธุ์ข้าวทีเดียว

    

แปลงนาของดิฉันปลูกข้าว 3 สายพันธุ์ คือ

  1. ข้าวเจ้าหอมมะลิ พันธุ์สุรินทร์ 1 ที่ดิฉันเลือกพันธุ์นี้เพราะเป็นพันธุ์เตี้ย ผลผลิตดี และไม่ล้มช่วงก่อนเก็บเกี่ยว(เพราะต้นมันเตี้ย)

  2. ข้าวเหนียว พันธุ์ กข.6  ซึ่งเป็นที่นิยมของชาวนาท้องทุ่งแถบนี้ทั้งนิยมปลูกและกิน

  3. และอีกสายพันธุ์อยู่ระหว่างการทดลองปลูก คือ กข.16  เป็นข้าวเหนียว ซึ่งต่อไปคิดว่าจะมาแทนที่ กข.6 โดยได้รับเมล็ดพันธุ์ทดลองมาจาก อาจารย์พรชัย  เตจ๊ะ เจ้าหน้าที่เกษตรชำนาญการ จากศูนย์วิจัยข้าวสันป่าตอง ที่กรุณาแบ่งเมล็ดพันธุ์มาให้

การคัดเมล็ดพันธ์

     การคัดเมล็ดพันธุ์ของดิฉันเป็นการคัดแบบชาวบ้านนะค่ะไม่ใช่ตามหลักวิชาการหรือ ตามหลักที่ถูกต้อง เพียงแต่บรรพบุรุษทำตามกันมา และก็ทำตามกันไปเพราะยังได้ผลดีอยู่นะค่ะ(ผู้รู้จริงอ่านแล้วเชิญหัวเราะได้เลยค่ะ และช่วยแนะนำวิธีที่ถูกต้องและเหมาะสมด้วยค่ะ ฮิ ฮิ ขอหัวเราะทีหลังนะค่ะ)

 

เมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือกที่คัดไว้ช่วงเก็บเกี่ยว ผสมน้ำธรรมชาติกับเกลือใส่ไข่ไก่

ให้ไข่ไก่ลอยน้ำ 2/3 ฟอง นับว่าใช้ได้

 

เทเมล็ดพันธุ์ข้าวลงในน้ำเกลือ คลุกเคล้าให้เข้ากัน

 

ตักเมล็ดข้าวที่ลอยน้ำออกแยกไว้ตากหาก (ใช้ไม่ได้) และ ตักเมล็ดข้าวที่จมน้ำแยกใส่กระสอบไว้

 

เมล็ดข้าวจมน้ำ คือ เมล็ดข้าวที่สมบูรณ์นำไปหว่านต่อไป

     หลังจากที่ได้เมล็ดพันธุ์ข้าวแล้ว เราจะใส่กระสอบมัดปากกระสอบให้แน่นและนำไปแช่น้ำ 2 คืน หลังจากนั้น นำขึ้นมาวางบนบกอีก 2 คืน เช้าต่อมานำไปหว่านได้เลยค่ะ ในระหว่างรอเมล็ดพันธุ์ข้าวที่แช่ไว้ เราไปเตรียมแปลงหว่านต้นกล้ากันก่อนเลยค่ะ

 

การเตรียมแปลงหว่านต้นกล้า

     การเตรียมแปลงนับว่ามีความสำคัญเป็นรายการต่อมาทีเดียว เพราะต้นกล้าจะถอนยากหรือง่ายก็ขึ้นอยู่กับการเตรียมแปลง ไปดูกันเลยนะค่ะ

  

น้ำเข้านาให้เต็มแปลงที่เราจะเตรียมดิน และ ไถ เนื่องจากแปลงนามีการไถพรวนไว้แล้ว จึงไถคลาดเลย ไม่ต้องไถดะ ดินร่วนซุยอยู่แล้ว

 

 

  

ไถไป-มา จนดินเป็นโคลนตมแบบนี้  อ้าว..น้องปู..มาทำอะไรอยู่แถวนี้จ๊ะ 

 

ยกร่อง ขึ้นแปลง เพื่อกันไม่ให้น้ำท่วมถึง โดยขึ้นแปลงให้มีขนาดใกล้เคียงกันที่สุด

 

ขึ้นแปลงเรียบร้อยแล้ว ก็ได้เวลาตกแต่งหน้าแปลงให้มีความเรียบโดยตัดไม้ไผ่ให้มีขนาดเหมาะสมที่จะทำงานง่าย ใช้จอบสับ แล้วใช้ตกแต่งให้แปลงเรียบ

 

แปลงที่เรียบร้อยสวยงามพร้อมหว่านต้นกล้า   

 

ก่อนการหว่านต้นกล้าเราต้องปิดน้ำไม่ให้เข้าแปลงนาและปล่อยน้ำออกจากท้องร่องให้หมดก่อนและทิ้งให้แปลงแข็งตัวเล็กน้อย เมล็ดพันธุ์ข้าวที่หว่านลงไปจะได้ไม่จมดิน

 

เมล็ดพันธุ์ข้าวที่เตรียมไว้ ออกรากงอกพร้อมหว่านแล้ว

  

น้ามูน นำกระทงดอกไม้ ธูป เทียน มาบอกกล่าวแก่เจ้าที่ให้ช่วยดูแลรักษาต้นกล้า

 

ได้เวลาหว่านต้นกล้าแล้ว การหว่านต้องหว่านจากหัวแปลงไปท้ายแปลง และหว่านให้ความห่างสม่ำเสมอกัน

 

 

 

การหว่านต้นกล้าของเราก็เสร็จสมบูรณ์ ต่อไปก็รอวันต้นเติบโต จนมีอายุครบ 1 เดือน จึงนำไปปลูกในแปลงนา ระหว่างนี้เราก็มาไถนาและเตรียมดินสำหรับปลูกต้นกล้าต่อไป

โปรดติดตามตอนต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #ต้นกล้า#ทำนาดำ
หมายเลขบันทึก: 450580เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2011 20:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

คุณบัวชมพู 

นำเสนอได้แบบชวนติดตามมากๆครับ

เพิ่มเติม ไม่รู้ว่าตอนปักดำ จะดำแบบสุ่ม หรือ กำหนดระยะปักดำ ครับ (ใช้ marker หรือหมุดเชือก) 

http://www.gotoknow.org/blog/supersup300/411482

จะได้ส่ง rotary weeder ไปช่วยเก็บงานวัชพืช ในร่อง(สำหรับร่องปักดำ 30 เซน)

http://www.gotoknow.org/blog/supersup300/446778

และควบคุมน้ำได้ ก็เหมาะมากกับวิธีการ "เเกล้งข้าว" ข้าวไม่ล้ม รากเเข็งแรง แมลงไม่กวน ครับ

http://www.gotoknow.org/blog/supersup300/436181

http://www.youtube.com/watch?v=R-4drqwGh8s

หรือจะเป็น "เเหนเเดง" สำหรับช่วยตรึงไนโตรเจน ปิดหน้าดิน หลังการปักดำ

http://www.youtube.com/watch?v=Kq-czjYlZV8

ถ้าครบวงจรก็เพิ่มเป็ดลงไปจัดการอีกทีมหนึ่งครับ ได้หลายอย่างครับ 

http://www.youtube.com/watch?v=ZuhV2_w1BjU&feature=related

หรือถ้ายังไม่หมดก็ซ้ำด้วย เจ้า นี่อีกทีครับ

http://www.youtube.com/watch?v=l8B1kxljI5A&feature=related

มีโอกาสขอเยี่ยมชมที่เเปลงนาครับ หรือผ่านมานครสวรรค์ก็เรียนเชิญครับ

 

ตื่นเต้น....เห็นภาพแล้วเหมือนได้ไปทำนาจริงๆ ค่ะ

รีบไปอ่านหน้าต่อไป ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณต้นกล้า  Ico48

  • ขอบคุณที่ติดตามค่ะ
  • ตอนนี้ยังไม่ได้ปักดำค่ะ รอต้นกล้าอายุครบก่อน การปักดำเป็นแบบสุ่มค่ะ
  • เพราะฉะนั้นร่องแปลงไม่สามารถควบคุมได้
  • สำหรับวัชพืชในแปลงนา มีปัญหาบ้างแต่ไม่มาก
  • เพราะน้ำท้องทุ่งแถบนี้ช่วงนี้ยังมีปริมาณเยอะอยู่
  • เราสามารถควบคุมน้ำได้ ถ้าดึงน้ำขึ้นสูงหญ้าบางชนิดก็อยู่ไม่ได้
  • ในทุ่งนาบางแปลง ก็ทดลอง(โดยบังเอิญ)ใช้แหนแดงเช่นกันค่ะ
  • สำหรับน้องเป็ด คงใช้ไม่ได้ เพราะ น้องหมา ศัตรูตัวฉกาจรออยู่ค่ะ
  • อย่างที่เคยเรียนคุณต้นกล้า ดิฉันยังสนใจการใช้เทคโนโลยีมาช่วยค่ะ
  • เพราะเรามีปัญหาเรื่องแรงงาน แต่บางอย่างเราก็ต้องเตรียมพร้อมด้วย
  • เช่นทุ่งนาบางแปลงมีปัญหา แต่ละล็อคของแปลงนาเล็กมาก บางแปลง
  • ก็ปรับปรุงแล้ว บางแปลงไม่สามารถทำอะไรได้ บันทึกต่อไปคือ ไถดะ
  • จะได้เห็นว่าล็อคมันเล็กขนาดใหน และอีกปัญหาคือ แปลงนาต่างระดับค่ะ
  • พื้นไม่เรียบเหมือนนาภาคกลาง ตอนนี้กำลังวางแผนแก้ปัญหาทั้งหมดอยู่
  • ถ้าใช้รถไถใหญ่  รถปลูก และ รถเกี่ยว คงต้องนำปัญหาเหล่านี้มาพิจารณาด้วย
  • ต่อไปคงได้รบกวนปรึกษา เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิต กับคุณต้นกล้า
  • ถ้าสะดวกหรือผ่านมาแถวเชียงใหม่ เชิญแวะพักที่เถียงนาได้เลยค่ะ
  • จริงๆ ก็อยากพาทีมงานไปดูคุณต้นกล้าทำนาเหมือนกัน เพราะเรียนตามตรงว่าสนใจมากและเป็นอะไรที่พวกเราไม่เคยเห็น ไม่เคยรู้มาก่อน เช่น เกี่ยวกับการหว่านต้นกล้าในถาด
  • โอกาสหน้าคงได้คุยกันเรื่องนี้อย่างจริงจัง
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณแจ๋ว Ico48

  • ดีใจจังค่ะที่ชอบและได้เรียนรู้การทำนาแบบบรรพบุรุษของท้องทุ่งแถบนี้
  • ขอบคุณที่ติดตามกันมาโดยตลอดค่ะ

เพิ่มเติมครับ 

เผื่อเป็นประโยชน์ในการปรับใช้ ให้เหมาะสมกับพื้นที่ และความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ศักยภาพของข้าว เพื่อการเพิ่มผลิตข้าว 

 

รูปแบบเเปลงนาของคุณบัวชมพูก็คล้ายๆกับที่ใน งานนำเสนอ ของ world bank ครับ

จากบันทึกนี้ครับ 

http://www.gotoknow.org/blog/supersup300/405066

ลองศึกษาดูครับ แล้วมาเเลกเปลี่ยนกัน

แค่ชื่อก็น่ารักแล้วค่ะ ยิ่งตามมาดูกรรมวิธีการลือกเมล็ดพันธุ์ข้าว เเละ การเพาะกล้าแบบชาวบ้านที่ชาญฉลาด ก็ยิ่งเห็นความน่ารักถ่อมตัวของคนที่ทั้งเก่งและฉลาดแบบนี้แล้ว อาม่ายิ้มแก้มตุ่ยเลยค่ะ คงมาเป็นแฟนตัวจริงเสียที่พร้อมติดตามมาเชียร์ต่อไปค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท