การสร้างทีมงาน เพื่อการพัฒนาองค์กร


เพื่อให้พนักงานมีจิตสำนึก มีความรู้สึกในทางบวกต่องาน มีความกระตือรือร้น เอาใจใส่จดจ่อ อุทิศตน ทุ่มเท เสียสละ รับผิดชอบอย่างถึงที่สุด และไม่ยอมแพ้ต่อปัญหาอุปสรรค เป็นการผูกใจพนักงานให้ผูกพันกับองค์กร

โครงการจัดกิจกรรม Inservice  training ประจำปี 2554-2555

เรื่อง การสร้างทีมงาน เพื่อการพัฒนาองค์กร

 หลักการและเหตุผล

                โรงพยาบาลสงขลานครินทร์เป็นโรงพยาบาลที่เปิดให้บริการ ทั้งผู้ป่วยทั่วไปและผู้ป่วยที่มีภาวะซับซ้อนระดับตติยภูมิ และเป็นศูนย์รับการส่งต่อจากโรงพยาบาลในภาคใต้ โดยให้บริการตรวจวินิจฉัย ตรวจรักษา แนะนำการปฏิบัติตัว การฟื้นฟูสภาพและการป้องกันโรค เน้นความปลอดภัยตามมาตรฐานวิชาชีพ  ดูแลแบบองค์รวมโดยทีมสหสาขา คำนึงถึงสิทธิผู้ป่วยและความพึงพอใจ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง

                การบริการผู้ป่วยนอก มีหน่วยงานที่รับผิดชอบหลายหน่วยงานเช่น ผู้ป่วยนอก1-2-3 ,DSC ,PCU,ศูนย์ให้ยาเคมีบำบัดและศูนย์คัดกรองโรคระบบทางเดินหายใจ และยังมีหน่วยงานย่อยอีกหลายหน่วย แต่ละหน่วยทำงานด้านบริการทางคลินิกร่วมกับ PCT ของภาควิชา ทำให้เกิดการจัดระบบบริการที่หลากหลาย  ประกอบกับสภาพผู้ป่วยนอกในปัจจุบันมีความซับซ้อนมากขึ้น มีหัตถการหลายอย่างที่ปรับเปลี่ยนจากการนอนโรงพยาบาลมาเป็นการบริการแบบผู้ป่วยนอก  ภาวะขาดแคลนบุคลากร  ผู้ป่วยล้น พนักงานต้องทำงานล่วงเวลาติดต่อกันหลายวัน  กลับบ้านช้า ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต  เกิดความขัดแย้งกันระหว่างผู้ปฏิบัติงาน  ผู้ปฏิบัติงานขาดความสุขในการทำงาน ขาดทักษะในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์  มีหลายคนที่รอลาออกโอนย้ายไปที่ที่มีภาระงานน้อยกว่าหรือสวัสดิการดีกว่า

จากสถิติเกี่ยวกับความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร(เกศรา,2550) พบว่า  29% ของพนักงานมีความกระตือรือร้น ตื่นเต้นมีความผูกพันยึดมั่นในหน้าที่การงานของตนเอง 54% ของพนักงานไม่มีความผูกพัน ทำไปเรื่อยๆ  เฉยๆ บ่นไป ทำไป ไม่ไปไหน แต่ไม่สร้างมูลค่าเพิ่ม  17% ของพนักงานมีอาการใจเสาะ พร้อมจะจากไปทุกเมื่อ หากมีอะไรมากระทบใจ ไม่รักและไม่  ผูกพันกับองค์กร   การทำให้พนักงานรู้สึกผูกพันกับองค์กรนั้น  ไม่ใช่แค่เพียงอยากอยู่กับองค์กรเท่านั้น ยังหมายความรวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มทางด้านผลงานให้เกิดขึ้นกับองค์กรด้วย  ทุ่มเทแรงกายแรงใจ เพื่อสร้างผลงานที่ดีเยี่ยมให้กับองค์กรด้วย คือ ไม่ใช่อยู่ไปวันๆ

ดังนั้น การที่องค์กรอยากให้พนักงานรู้สึกผูกพันกับองค์กรนั้น องค์กรจะต้องทำให้พนักงานอยากสร้างผลงาน อยากเพิ่มมูลค่าในผลงานของตนเอง และทำให้องค์กรเจริญขึ้นเรื่อยๆ  การสร้างความผูกพันของพนักงานให้เกิดขึ้นได้นั้น จะต้องเริ่มจากผู้บริหารระดับสูงขององค์กรเลย  โดยผู้บริหารจะต้องโดดเข้ามามีส่วนร่วมอย่างและให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง  เพื่อให้พนักงานมีจิตสำนึก มีความรู้สึกในทางบวกต่องาน มีความกระตือรือร้น เอาใจใส่จดจ่อ อุทิศตน ทุ่มเท เสียสละ รับผิดชอบอย่างถึงที่สุด และไม่ยอมแพ้ต่อปัญหาอุปสรรค เป็นการผูกใจพนักงานให้ผูกพันกับองค์กร

                คณะทำงานที่ให้บริการผู้ป่วยนอก ได้เล็งเห็นประเด็นสำคัญดังกล่าว จึงได้จัด การจัดอบรมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อสร้างความผูกพันของพนักงานให้ทำงานให้ดี ทำด้วยใจ ทำด้วยกัน” จึงได้จัดโครงการ“การสร้างทีมงาน”ขึ้น   

วัตถุประสงค์

  1. ให้พนักงานมีความภาคภูมิใจ ค้นหาความดี  ศักยภาพที่ตนเองมี 
  2. การฝึก จิตใจ การเสียสละกายและใจ มีน้ำใจเพื่อสังคม ให้กล้าทำในสิ่งที่ถูก
  3. สร้างความสามัคคี,ความพร้อมเพรียงกัน,การรวมกันทำงานเพื่อความสำเร็จสู่จุดหมายขององค์กร

ผู้เข้าอบรม   ผู้ป่วยนอก1-2-3 ,DSC ,PCU  ศูนย์ให้ยาเคมีบำบัดและศูนย์คัดกรองโรคระบบทางเดินหายใจ รุ่นละ 80  คน    รวม        =   160 คน      

วิทยากร   คณะวิทยากรภายในคณะแพทยศาสตร์  ม.สงขลานครินทร์ จำนวน 8 คน

วิธีการอบรม

                1. บรรยาย

                2. กิจกรรมกลุ่ม / การมีส่วนร่วม/กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ระยะเวลาการดำเนินการ    2 รุ่น รุ่นละ 1 วัน  คือวันที่ 9 กรกฎาคม 2554 และ12 พฤศจิกายน 2554 

สถานที   สวนประวัติศาสตร์ พลเอกเปรม   ติณสูลานนท์  สงขลา

 

หลังการอบรม “ การสร้างทีมงาน เพื่อการพัฒนาองค์กร ”  รุ่นที่1  วันที่ 9 กรกฎาคม 2554 คณะกรรมการได้ประเมินผลโดยใช้แบบสอบถาม ใช้ค่าคะแนนแบบ Rating scale 5  ระดับ  โดยให้ค่าคะแนน  5= ดีมาก,  4= ดี  ,              3 = ปานกลาง,2= พอใช้,1=ต้องปรับปรุง มีผู้ตอบแบบสอบถาม 62คน จากผู้เข้าอบรม 74 คน คิดเป็นร้อยละ  83.78  หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

พบว่าผู้เข้า อบรม “ การสร้างทีมงาน เพื่อการพัฒนาองค์กร ”  รุ่นที่1  วันที่ 9 กรกฎาคม 2554 มีความพึงพอใจการจัดอบรมมากที่สุดในทุกๆด้าน  โดยในภาพรวมได้คะแนนเฉลี่ย 4.34 (SD=0.43) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าหัวข้อที่ได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุด 4 ลำดับแรกคือความเหมาะสมของวิทยากร(ค่าเฉลี่ย4.40, SD=0.53)  รองลงมาคือ ความเหมาะสมของสถานที่(ค่าเฉลี่ย4.39, SD=0.58)  และความเหมาะสมของเวลา(ค่าเฉลี่ย4.37, SD=0.58) และรูปแบบ/วิธีการอบรม(ค่าเฉลี่ย4.35, SD=0.48)   ส่วนหัวข้อที่ได้คะแนนน้อยที่สุดคือความพร้อมของโสตทัศนูอุปกรณ์(ค่าเฉลี่ย4.26, SD=0.51)

สิ่งที่ได้เรียนรู้ /ความประทับใจ

1)   สนุกผ่อนคลาย           13

2)   รู้จักการทำงานเป็นทีมและการสื่อสาร                           39

3)              การรู้จักเพื่อนใหม่                                       12

4)              การเสียสละ                                              3             

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้ในหน่วยงาน/การทำงาน

1)              การทำงานเป็นทีม  รู้จักฟังความคิดเห็นคนอื่น  และการไว้วางใจ   31

2)              ความสามัคคี และการเสียสละ                  15

3)              การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และการวางแผนก่อนทำ        15  

มีภาพบรรยากาศมาฝาก

   http://medinfo.psu.ac.th/pr/WebBoard/readboard.php?id=17534

      

คำสำคัญ (Tags): #Inservice training 54
หมายเลขบันทึก: 449294เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2011 09:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท