การตรวจสอบคุณภาพ


การตรวจสอบคุณภาพการศึกษา  เป็นกระบวนการหนึ่งของการประกันคุณภาพการศึกษา  การตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อจะจับผิดผู้ปฏิบัติงาน  แต่เป็นการตรวจสอบเพื่อให้ทราบถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินการประกันคุณภาพ  และเพื่อให้ทราบถึงปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการ  แล้วจะได้หาทางปรับปรุงแก้ไขต่อไป
สำหรับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  มีแนวทางในการตรวจสอบคุณภาพการศึกษาโดยแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณภาพการศึกษาเพื่อทำหน้าที่ ดังนี้ คือ
(1) ศึกษาและวิเคราะห์แบบรายงานการศึกษาตนเอง (Self - study report) ของคณะและวิทยาลัย
(2) ศึกษาและวิเคราะห์รายงานที่สำคัญอื่น ๆ ของคณะและวิทยาลัย
(3) ตรวจสอบ และประเมินระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะและวิทยาลัย
(4) เยี่ยมชมคณะทั้งส่วนกลางและวิทยาเขต และสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง
(5) ให้ข้อเสนอแนะ และข้อคิดเห็นในการปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพการศึกษาของคณะและวิทยาลัย
(6) เขียนสรุปรายงานเยี่ยมชมคณะและวิทยาลัย และเสนอแนะผลการประเมินต่อคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา

 

2.1   วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
    วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในของมหาวิทยาลัย มีดังนี้
(1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ว่าหน่วยงานมีระบบและกลไกกำกับการควบคุมคุณภาพในแต่ละองค์ประกอบของคุณภาพ
(2) เพื่อศึกษา และวิเคราะห์ว่ามีการปฏิบัติตามระบบและกลไกการควบคุมคุณภาพที่กำหนด  โดยพิจารณาจากผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้คุณภาพ
(3) เพื่อให้ข้อคิดเห็น  จุดแข็ง จุดอ่อน  และให้ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงระบบและกลไกในการควบคุมคุณภาพตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ที่กำหนด

 

 

2.2  คุณสมบัติของคณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
มหาวิทยาลัย  กำหนดคุณสมบัติของคณะอนุกรรมการตรวจสอบภายใน ไว้ดังนี้
2.2.1 คุณสมบัติเฉพาะ
(1) มีประสบการณ์ด้านการสอนในมหาวิทยาลัยไม่ต่ำกว่า 5 ปี หรือเป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัย หรือเป็นบุคคลภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่ตรวจสอบ
(2) ผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรที่ทบวงมหาวิทยาลัยรับรอง  หรือเคยทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบคุณภาพ
(3) มีความรู้ความเข้าใจในระบบประกันคุณภาพการศึกษา
(4) มีความเชื่อมั่นในระบบประกันคุณภาพการศึกษา
(5) มีความเข้าใจกระบวนการทำงานของมหาวิทยาลัยตามองค์ประกอบ 9 ด้าน
2.2.2 คุณสมบัติทั่วไป 
(1) มีความสามารถในการทำงานเป็นทีม
(2) มีทักษะในการติดต่อสื่อสารอย่างกัลยาณมิตร
(3) มีทัศนะที่กว้างและลึก
(4) มีความหนักแน่นสุขุมรอบคอบ
(5) มีทักษะในการคิด  และวิเคราะห์
(6) มีความโปร่งใสและเป็นกลาง

.3   องค์ประกอบของคณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
มหาวิทยาลัย  แต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณภาพภายในไว้ชุดหนึ่ง  จำนวน 15 รูป/คน  โดยมีองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณภาพประกอบด้วย  ประธานคณะอนุกรรมการ  รองประธานคณะอนุกรรมการ คณะอนุกรรมการ  เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ อย่างไรก็ตาม ในการตรวจสอบครั้งหนึ่ง  ไม่จำเป็นต้องมีคณะอนุกรรมการตรวจสอบทั้ง 15 รูป/คน  แต่อย่างน้อยควรประกอบด้วย ประธาน ผู้ตรวจสอบ และเลขานุการ  ซึ่งรวมแล้วประมาณ 3 - 5 รูป/คน 

2.4 หลักการในการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
ในการตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายใน  มหาวิทยาลัยกำหนดให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบ ทำการตรวจสอบตามวัตถุประสงค์ ดังนี้

(1) ศึกษาและวิเคราะห์ว่ามีระบบและกลไกในการกำกับ ควบคุมคุณภาพในแต่ละองค์ประกอบ
(2) ศึกษาและวิเคราะห์ว่ามีการปฏิบัติตามระบบ และกลไกการควบคุมคุณภาพที่กำหนด  โดยพิจารณาจากผลการดำเนินการตามตัวบ่งชี้คุณภาพ
(3) ให้ข้อคิดเห็นและเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบและกลไกในการควบคุมคุณภาพตามองค์ประกอบและดัชนีบ่งชี้ที่กำหนด

2.5  ขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
คณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายใน  อาจจะใช้เวลา 3 - 5 วัน ในการตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายใน  ซึ่งจำนวนวัน  ขึ้นอยู่กับจำนวนหน่วยงาน/คณะ/วิทยาลัย ที่รับการตรวจสอบ  โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้

(1) ขั้นเตรียมการ
- ศึกษาวิเคราะห์รายงานการศึกษาตนเอง (SSR)
- ศึกษาเอกสารและคู่มือประกันคุณภาพของหน่วยงาน/คณะ/วิทยาลัย
- ประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์  วิธีการดำเนินงานและการแบ่งงาน
- ทำแผนการตรวจเยี่ยม
- ติดต่อประสานงานเกี่ยวกับเรื่องวัน  เวลา  เพื่อตรวจเยี่ยม 

(2) ขั้นเข้าตรวจสอบ
 - ไปที่หน่วยงาน/คณะ/วิทยาลัย ตามเวลาที่นัดหมายเพื่อพบกับผู้บริหาร  และแจ้งวัตถุประสงค์ก่อนการตรวจสอบ
 - ดำเนินการตรวจสอบ จากเอกสาร ฐานข้อมูล  ที่หน่วยงาน/คณะ/วิทยาลัยจัดเตรียมไว้  และอาจหาข้อมูลเพิ่มเติมจากการสอบถามผู้บริหาร  อาจารย์ นักศึกษา  และผู้เกี่ยวข้อง
 - ประชุมเพื่อสรุปผลการตรวจสอบเมื่อสิ้นวันตรวจสอบ


(3) ขั้นวิเคราะห์และพิจารณาผลการตรวจสอบ
 - วิเคราะห์หน่วยงาน/คณะ/วิทยาลัย ว่ามีระบบกลไก  และมีการดำเนินงานตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพที่ระบุไว้หรือไม่  พร้อมทั้งวิเคราะห์จุดแข็ง  จุดอ่อน  และให้ข้อเสนอแนะ
 - พิจารณาผลการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา

(4) ขั้นเขียนรายงานผลการตรวจสอบ
 - เขียนเพื่อตอบข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบครอบคลุมทุกประเด็น
 - เขียนในเชิงสรุปซึ่งเป็นผลจากการวิเคราะห์ข้อมูล และหลักฐานทั้งหมด
 - เขียนในเชิงให้เกิดการพัฒนาหน่วยงาน/คณะวิชา/วิทยาลัยศาสนศาสตร์  โดยชี้ให้เห็นปัญหาของระบบและกลไก
 - เขียนรายงานตามข้อเท็จจริงและส่งรายงานตามกำหนด
 - เขียนตามแบบฟอร์มรายงานผล (ตามเอกสารในภาคผนวก)  และควรมีความยาว 5 - 10  หน้ากระดาษ A4

(5) ขั้นให้ข้อมูลย้อนกลับ
 - จัดให้มีการประชุมร่วมกับผู้บริหาร  ผู้เกี่ยวข้องในหน่วยงาน/คณะวิชา/วิทยาลัย
ศาสนศาสตร์  รวมทั้งผู้สนใจ
 - นำเสนอผลการตรวจสอบโดยวาจาประมาณ  30  นาที
 - ส่งรายงานผลการตรวจสอบแก่หน่วยงาน/คณะวิชา/วิทยาลัยศาสนศาสตร์
 - เสนอผลการตรวจสอบต่อคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย

หมายเลขบันทึก: 449249เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2011 21:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 19:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท