cha
นางสาว มาลินี cha โต๊ะหลี

การถ่ายภาพทิวทัศน์


การถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ของสถานที่ต่างๆ ที่ท่านได้เดินทางท่องเที่ยวไป โดยส่วนใหญ่แล้วจะเน้นใช้เลนส์มุมกว้าง หรือเลนส์(Wide Angle) หรือถ้าเป็นกล้องดิจิตอลคอมแพ็ค ก็คือการ (Zoom Out) ออกมาให้เห็นภาพกว้างๆ นั่นเอง ทั้งนี้ก็เพื่อให้เห็นภาพของสถานที่นั้นๆ

 การถ่ายภาพทิวทัศน์

 


          การถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ของสถานที่ต่างๆ ที่ท่านได้เดินทางท่องเที่ยวไป โดยส่วนใหญ่แล้วจะเน้นใช้เลนส์มุมกว้าง หรือเลนส์(Wide Angle) หรือถ้าเป็นกล้องดิจิตอลคอมแพ็ค ก็คือการ (Zoom Out) ออกมาให้เห็นภาพกว้างๆ นั่นเอง ทั้งนี้ก็เพื่อให้เห็นภาพของสถานที่นั้นๆ
 โดยรวมในมุมกว้างว่ามีลักษณะทิวเขา หรือต้นไม้ใบหญ้า เป็นอย่างไรบ้างแต่สิ่งที่คู่กันกับการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ก็คือ ปกติจะมีวัตถุหรือสิ่งของต่างๆ อยู่ในระยะที่หลากหลายกัน บางสิ่งอยู่ใกล้กับกล้อง และบางสิ่งอยู่ไกลออกไป ซึ่งถ้าหากเราต้องการให้เห็นวัตถุทั้งหมดในภาพคมชัด 
 เราจะต้องเลือกใช้รูรับแสงเล็ก (รูรับแสงเล็กๆ หมายถึง ขนาดรูรับแสงที่มีค่า F มากๆ เช่น F8 สำหรับ กล้องดิจอตอลคอมแพล็ก หรือ F16 สำหรับกล้องD-SLR) ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้ภาพที่เรียกว่า “ภาพชัดลึก” กล่าวคือ การใช้รูรับแสงกว้าง และใช้เลนส์มุมกว้างในการถ่ายภาพจะให้ภาพชัดลึก
 คือ สิ่งที่อยู่ด้านหน้าใกล้ๆ กับกล้องก็ชัด สิ่งที่อยู่ไกลออกไปจากกล้องก็ชัดในภาพด้วยเช่นเดียวกัน
เพราะถ้าหากว่าเราใช้ขนาดรูรับแสงที่กว้าง ภาพที่ได้อาจจะเป็น “ภาพชัดตื้น” ซึ่งวัตถุในภาพอาจจะชัดเฉพาะตรงสิ่งที่เราโฟกัสภาพไปตรงอื่นๆที่อยู่ก่อนหน้า หรืออยู่เลยไปทางด้านหลังจะเริ่มพร่ามัวได้ ซึ่งไม่เป็นที่นิยมสำหรับการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ เพราะเราจะไม่เห็นรายละเอียดของสิ่งที่เรากำลังจะถ่ายทั้งหมดเมื่อเราทราบว่า ขนาดรูรับแสงมีผลกับภาพวิวทิวทัศน์แล้ว สิ่งที่ตามมาก็คือ โหมดที่จะเหมาะสมสำหรับใช้งานในการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ก็คือ โหมดที่เน้นเรื่องรูรับแสงเป็นสำคัญ หรือโหมด Aperture Priority หรือเรียกสั้นๆว่า โหมด A นั่นเอง สำหรับกล้อง Canon จะเรียกโหมดนี้ว่า Av 
ทั้งนี้เพราะว่าโหมดนี้เราสามารถจะเลือกด้วยตัวเองได้ ว่าต้องการใช้งานค่า F หรือค่าขนาดรูรับแสงที่เท่าไหร่ ซึ่งตามใจคนถ่าย เช่น ในกรณีถ่ายภาพวิวทิวทัศน์นี้เราก็อาจจะเลือกไปเลยว่าเป็น F8 สำหรับกล้องดิจิตอลคอมแพ็ค หรือ F16 สำหรับกล้อง D-SLR จากนั้นกล้องก็จะไปเลือกค่าความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับการถ่ายภาพนั้นๆ ให้กับเราเอง
หรือถ้าฉุกเฉินต้องการถ่ายแบบทัดทีทันใดสำหรับการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ เราก็แค่ปรับไปที่โหมดอัตโนมัติแบบที่เป็นรูปภูเขาก็ได้เหมือนกัน แต่ในการฝึกฝนไม่แนะนำให้ใช้งานในโหมดดังกล่าว เพราะเราไม่สามารถควบคุมค่ารูรับแสงเองได้ ในโหมดอัตโนมัติที่เป็นรูปภูเขานี้
ข้อควรระวังในการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ที่เป็นเอกลักษณ์ของภาพวิวทิวทัศน์ทุกแบบ ก็คือ ระวังเรื่องเส้นขอบฟ้าอย่าให้เอียง เพราะจะทำให้ภาพโดยรวมดูผิดปกติไป แนวของเส้นขอบฟ้าควรจะเป็นแนวนอน แนวระดับไม่ควรเอียงไปจากแนวปกตินี้เพราะจะทำให้ภาพโดยรวมเอียงเสียศูนย์ไปได้
เนื่องจากเส้นขอบฟ้าเป็นสิ่งที่สายตาทุกสายตาคุ้นเคย และคาดหวังที่จะเห็นเส้นดังกล่าวนั้นอยู่ในแนวระดับ เวลาดูภาพ ก็คาดหวังจะเห็นชิ้นเดียวกันนี้ แต่ถ้าไม่เป็นไปตามนั้น ก็อาจจะรู้สึกแปลกๆได้ แต่ยกเว้นกรณีที่เราจะต้องการเจตนาให้ภาพ ออกมาแปลกๆ แบบนั้นก็ย่อมจะทำได้ แต่โดยสถานการณ์ทั่วๆไปไม่แนะนำให้ถ่ายโดยส้นขอบฟ้าเอียงไปจากแนวระดับ วิธีการสังเกตถ้ากล้องของคุณมีเส้น grid ให้ดูก็ถือว่าโชคดีไป เราก็อ้างอิงกับเส้น grid นั้นได้ แต่ถ้ากล้องคุณไม่มีจุดโฟกัสหลายๆจุด ก็ลองสังเกต แนวของจุดโฟกัสที่อยู่ในแนวระดับเดียวกันนั้นเป็นเกณฑ์ก็ได้ อาศัยแนวดังกล่าวอ้างอิงกับแนวของเส้นขอบฟ้าจะทำให้ถ่ายรูปออกมาแล้วเส้นขอบฟ้าไม่เอียง      

คำสำคัญ (Tags): #การถ่ายภาพ
หมายเลขบันทึก: 449088เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2011 20:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 18:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ภาพแบบนี่้เราก็มีนี้หว่า แล้วอยู่ไหน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท