ทฤษฎีองค์การ


ทฤษฎีองค์การ

ทฤษฎีองค์การ 1. ทฤษฎีสมัยดั้งเดิม เป็นยุคพื้นฐาน จุดเน้น คือ 1.ให้ความสำคัญและศึกษาองค์การที่เป็นทางการเท่านั้น 2.มุ่งค้นหาวิธีการบริหารองค์การว่าทำอย่างไรองค์การจะมีประสิทธิภาพ (การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ )และประสิทธิผลสูงสุด ( ได้ผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ) 3.มองพนักงานเปรียบเสมือนเครื่องจักรและเชื่อว่าปัจจัยที่จูงใจคนได้ คือ ปัจจัยทางเศรษฐทรัพย์หรือเงินเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

มีแนวคิดของผู้รู้หลายท่านดังนี้ 1. แนวคิดของเฟรดริก ดับบลิว เทย์เลอร์ วิศวกรชาวอเมริกัน เป็นผู้ที่ใช้แนวความคิดทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้กับการบริหาร เป็นคนแรก แนวความคิดที่สำคัญ คือ แนวความคิดที่ว่า หนทางที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงาน (one best way) โดยมองว่า การทำงานทุกอย่างในองค์การ จะมีวิธีการที่ดีที่สุดเพียงวิธีเดียว การที่จะได้มาซึ่ง one best way ต้องไปศึกษาเรื่อง time and motion นอกเหนือจากนี้ เทย์เลอร์ยังเป็นคนแรกที่จ่ายค่าจ้างเป็นรายชิ้น เพื่อเป็นแรงจูงใจให้คนทำงาน 2. แนวคิดของอองรี ฟาโยล วิศวกรชาวฝรั่งเศส เป็นเจ้าของแนวความคิดของการบริหารงานตามหน้าที่ โดยกระบวนการจัดการ 5 อย่าง หรือ POCCC P Planing O Organizing C Commanding C Coordinating C Controlling และเป็นคนคิดหลักการบริหารทั่วไป 14 ข้อ คือ 1.หลักอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ซึ่งต้องอยู่คู่กันในลักษณะที่เหมาะสม และสมดุลกัน 2.หลักของการมีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว เพื่อไม่ให้สับสนในการตัดสินใจ 3.หลักของการมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน มีนโยบายที่ชัดเจน 4.หลักการธำรงไว้ซึ่งสายงาน มีการกำหนดสายการบังคับบัญชาที่ชัดเจน จากระดับสูงไปหาต่ำ 5.หลักของการแบ่งงานกันทำ 6.หลักเกี่ยวกับระเบียบวินัย 7.หลักของการถือประโยชน์ส่วนบุคคล 8.หลักของการให้ผลประโยชน์ตอบแทน 9.หลักของการรวมอำนาจไว้ส่วนกลาง ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการกระจายอำนาจด้วยบางส่วน 10.หลักของความมีระเบียบแบบแผน 11.หลักของความเสมอภาค 12.หลักของความมีเสถียรภาพของการว่าจ้าง 13.หลักของความคิดริเริ่ม 14.หลักของความสามัคคี 3. แนวคิดของไลน์ดาล เออวิคและลูเธอร์ กูลิค POSDCORB MODEL ซึ่งจะครอบคลุมทุกพื้นที่ในการบริหาร ไม่ว่าจะเป็นการวางแผน การจัดองค์การ การบริหารงานบุคคล การรายงานผล 4. แนวความคิดของแมกซ์ เวเบอร์ เป็นนักสังคมวิทยาชาวเยอรมันนี ซึ่งมีแนวความคิดว่า การที่การบริหารงานจะมีประสิทธิภาพขึ้นมาได้ จะต้องมีการจัดองค์การในลักษณะขององค์การแบบระบบราชการ ซึ่งไม่ได้หมายถึงองค์การภาครัฐอย่างอย่างเดียวแต่รวมถึงเอกชนด้วย แต่ต้อง มีลักษณะเฉพาะ ครบทั้ง 7 ข้อ คือ 1.ลำดับชั้นของการบังคับบัญชา ต้องกำหนดให้ชัดเจน จากสูงไปหาต่ำ หรือมใครเป็นหัวหน้าใครเป็นลูกน้อง 2.ความรับผิดชอบ เมื่อมีหน้าที่ก็ต้องมีความรับผิดชอบ ต้องมีการแบ่งความรับผิดชอบที่ชัดเจน 3.ความสมเหตุสมผล เป็นการกำหนดกฎ ระเบียบในการปฏิบัติงาน เช่น การเข้า การออก การหยุด 4.การมุ่งสู่ผลสำเร็จ คือ มีเป้าหมาย 5.เน้นการชำนาญเฉพาะด้าน 6.ระเบียบวินัย เป็นการกำหนดพฤติกรรมของคนในองค์การ 7.ความเป็นวิชาชีพ คือสามารถยึดเป็นอาชีพได้ตลอดชีวิต 2.ทฤษฎีองค์การแบบดั้งเดิมใหม่ มีฐานความคิดแบบดั้งเดิม แต่มีสิ่งใหม่ๆเพิ่มเข้ามา คือ 1.ให้ความสำคัญกับองค์การที่ไม่เป็นทางการ เพิ่มขึ้น เช่น ชมรม สมาคม 2. เชื่อว่าในการจูงใจให้คนทำงานนั้น มีปัจจัยด้านอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ใช่เรื่องเงินอย่างเพียงอย่างเดียว เช่น ด้านจิตวิทยาและสังคมวิทยา

มีแนวคิดของผู้รู้ที่สำคัญดังนี้ 1. แนวคิดของเอลตัน เมโย บิดาแห่งการบริหารงานแบบมนุษยสัมพันธ์ เมโยพยายามทดลองว่าปัจจัยอะไรบ้างที่จะทำให้คนทำงานอย่างเต็มที่ และบอกว่ามนุษยสัมพันธ์มีส่วนในการที่จะทำให้คนทำงานมากหรือน้อย เป็นตัวกำหนดมาตรฐานในการทำงาน 2.แนวคิดของอับราฮัม มาสโลว์ นักจิตวิทยาชาวอังกฤษ เจ้าของทฤษฎีลำดับขั้นของ ความต้องการของคน 5 ลำดับขั้น เช่น ความต้องการพื้นฐาน 1.ความต้องการทางกายภาพ 2.ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย 3.ความต้องการทางสังคม การเป็นส่วนหนึ่งของสังคม 4.ความต้องการการยกย่อง 5.ความต้องการประจักษ์ในคุณค่าของตนเอง ว่าเกิดมาต้องการเป็นอะไร 3.แนวคิดของดักลาส แมคเกรเกอร์ ทฤษฎี X และ Y มองว่าคนต่างกัน X มองคนในแง่ร้าย มองว่าคนขี้เกียจ คนเกียจคร้าน ชอบหลบหนีงานเมื่อมีโอกาส ส่วน Y มองคนในด้านดี ชอบที่จะทำงานโดยธรรมชาติ แต่ผู้บริหารต้องปรับสภาพการทำงานให้เหมาะสม กับการทำงาน การบริหารงานตามแนวความคิดนี้ ขึ้นอยู่กับผู้บริหารว่ามองคนในด้านไหน เพื่อความสอดคล้องของการบริหาร เช่น หากผู้บริหารมองคนในด้าน X ก็จะบริหารงานแบบเผด็จการ ควบคุมอย่างใกล้ชิด ลงโทษอย่างรุนแรง แต่ถ้าหากผู้บริหารมองคนในด้าน Y ผู้บริหารก็จะใช้วิธีการบริหารแบบมีส่วนร่วม หรือแบบประชาธิปไตย ให้โอกาสพนักงานแสดงความคิดเห็น ซึ่งปัจจัยทั้ง 2 อย่างสมารถปรับเปลี่ยนได้ตามสภาพ คือ X อาจจะเปลี่ยนเป็น Y หรือ Y อาจจะเปลี่ยนเป็น X ก็ได้ ทฤษฎี X และ Y ยังใช้ได้กับการมองผู้บริหารได้ด้วย คือ มองผู้บริหารเป็น 2 แบบ แบบที่ 1 poor manager ไม่สนใจทั้งคนไม่สนใจทั้งงาน งานก็ไม่สนคนก็ไม่สร้าง แบบที่ 2 dictative managerเน้นงานมาก เอาจริงเอาจังกับงาน งานต้องเสร็จ ไม่สนเรื่องของคนแบบที่ 3 playboy manager ใจดี ให้ความสนใจกับลูกน้องมาก ให้ความสนใจกับคน แต่ไม่ให้ความสนใจกับงาน ผู้บริหารประเภทนี้จะเป็นที่รักของลูกน้อง ปัจจุบันจะเน้น แบบ professional manager คือให้ความสนใจทั้งคนทั้งงาน นอกเหนือจากมองผู้บริหารแล้วยังสามารถมองลูกน้องหรือผู้ปฏิบัติงาน ได้ 4 แบบเหมือนกันโดยเอาความรับผิดชอบและความรู้เข้ามาจับ หรือที่เรียกว่า maturity ( วุฒิภาวะ ) ซึ่งมีองค์ประกอบสองตัวคือ ความรู้ในงานที่ทำและความรับผิดชอบในงานที่ทำ เราสามารถแบ่งลูกน้องออกได้ 4 แบบคือ 1.ลูกน้องที่ไม่มีความรู้ ความรับผิดชอบเลย ( โง่-ขี้เกียจ ) 2.ลูกน้องที่มีความรับผิดชอบมาก แต่ไม่มีความรู้ (โง่-ขยัน ) 3.มีความรู้ แต่ไม่มีความรับผิดชอบ ( ฉลาด-ขี้เกียจ ) 4.มีทั้งความรู้และความรับผิดชอบ ( ฉลาด-ขยัน ) ซึ่งทั้ง 4 แบบสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับหัวหน้า ว่ารู้จักพัฒนาเขาหรือไม่ 4.แนวความคิดของเฟดเดอริก เฮิร์ซเบิร์ก ทฤษฎี 2 ปัจจัย 1.ปัจจัยสุขวิทยา เป็นปัจจัยที่ใช้บำรุงรักษาจิตใจของผู้ปฏิบัติงาน ที่จะทำให้มีกำลังใจในการทำงาน เช่น เงินเดือน สภาพแวดล้อมในการทำงาน การบังคับบัญชา นโยบายและการบริหารของบริษัท 2.ปัจจัยจูงใจ เกี่ยวข้องในเรื่องของการกระตุ้น ให้ผู้ปฏิบัติงานดีขึ้น เช่น การได้รับคำชมเชย การได้รับความเคารพนับถือจากคนอื่น ความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน

3.ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ ยุคที่ 3 แนวความคิดสมัยใหม่นี้ ยังตั้งอยู่บนพื้นฐานแนวความคิดของทฤษฎี 2 ยุคแรก จะเป็นแนวความคิดที่เป็นการเพิ่มเติมขึ้นมาจากฐานเดิม เพื่ออธิบายทฤษฎีที่ยุคเดิม ไม่สามารถอธิบายได้ แต่อยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีสมัยเดิมทั้ง 2 ยุค ทฤษฎีสมัยใหม่จะมีสิ่งที่เข้ามาใหม่ ก็คือ ให้ความสนใจกับสาขาวิชาการต่าง ๆ หลาย ๆ สาขาวิชาที่นำมาอธิบายปรากฎการณ์ขององค์การ เช่น เอาวิชาเศรษฐศาสตร์ คอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ มาผสมผสานกัน หรือที่เรียกว่า สหวิทยาการ ในทฤษฎีองค์การสมัยใหม่จะมีองค์การย่อย ๆ อยู่ 2 ทฤษฎี 1. ทฤษฎีระบบ จะมองว่าองค์การเป็นระบบๆหนึ่ง ที่มีส่วนประกอบ 5 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ input สิ่งนำเข้าหรือทรัพยากรที่ใช้ในการบริหารงานขององค์การ process กระบวนการที่ใช้ในการแปลงสิ่งนำเข้าหรือทรัพยากร ให้ออกมาเป็น สิ่งส่งออกหรือผลผลิต หรือการบริการ output สิ่งส่งออกหรือผลผลิต หรือการบริการ feedback ข้อมูลย้อนกลับ ว่าสินค้าและการบริการได้รับความพึงพอใจหรือไม่ ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่กลับมาสู่กระบวนการของการ input environment สิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการบริหารงาน เช่น เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคม 2.ทฤษฎีการบริหารตามสถานการณ์ พัฒนามาจากความอิสระ ที่ว่าองค์การที่เหมาะสมที่สุดควรจะเป็นองค์การที่มีโครงสร้าง มีระบบที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสภาพความเป็นจริง 4.ทฤษฎีองค์การยุคหลังใหม่ ยุคไร้ระเบียบ เนื่องจากปัจจุบัน ปัญหาทุกปัญหามันมีความสลับซับซ้อน มีตัวแปรมากมายทั้งตัวแปรที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราจะทำงานตามระเบียบตามกฏเกณฑ์ไม่ได้ เราต้องใช้การบริหารแบบนอกกรอบหรือเป็นการสร้างระเบียบใหม่ขึ้นมาใช้ในการบริหาร เพื่อให้องค์การมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ

คำสำคัญ (Tags): #บริหารการศึกษา 5
หมายเลขบันทึก: 448923เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2011 21:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท