คุณหมอ! ลูกชายสั่งไว้ว่าไม่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ by Oraphan


           คำนี้ได้ยินแล้วบางคนอาจเข้าใจว่าผู้ป่วยเป็นคนไข้ระยะสุดท้ายที่ไม่ต้องการจะยึดยื้อชีวิตที่เหลืออยู่ต่อไป 

คุณยายอายุ 65 ปีป่วยเป็นโรคหอบ COPD มานานหลายปี  เมื่อหลายเดือนก่อนยายหอบมากจนต้องใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจต่อไปอีกระยะจนอาการจึงทุเลาจึงสามารถถอดท่อช่วยหายใจออกได้  ยายอาศัยอยู่กับลูกสะใภ้และหลานเพราะลูกชายต้องไปทำงานที่กรุงเทพหาเงินเพื่อส่งมาเลี้ยงครอบครัว  แน่นอนภาระการดูแลทั้งหมดก็ตกอยู่กับลูกสะใภ้ วันนี้ก็เช่นกันยายมีอาการเหนื่อยหอบมากหลังให้ออกซิเจนและพ่นยาขยายหลอดลมให้ยาฉีดช่วยแก้ไขอาการอยู่พักใหญ่ก็ยังไม่ทุเลา ยายมีภาวะหลอดลมตีบและออกซิเจนเริ่มไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ  หมอบอกยายว่าถ้าไม่ไหวคงต้องใส่ท่อช่วยหายใจเหมือนครั้งที่แล้วนะเพราะถ้าปล่อยไว้นานเกินไปยายอาจเสียชีวิตได้  ลูกสะใภ้ซึ่งมากับเพื่อนบ้านอีก 2 คนเข้ามายืนอยู่ใกล้ๆยายและหันมาบอกกับเราว่า

“แต่ลูกชายสั่งไว้ว่าถ้าเป็นอะไรไม่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ” เราถามเหตุผลเธอว่าเพราะอะไรลูกชายจึงไม่อยากให้ใส่แต่เธอบอกด้วยสีหน้าไม่พอใจ ”ไม่รู้แต่เขาสั่งว่าไม่ให้ใส่”  เราก็ช่วยกันอธิบายเหตุผลว่าโรคของยายไม่ใช่โรคร้ายแรงหรือไม่มีหนทางรักษาเพียงแต่เป็นโรคที่ต้องการดูแลอย่างต่อเนื่องแต่เธอยืนยันว่าไม่ให้ใส่ (ตอนนั้นฉันอยากบอกเธอให้ลองเอามือบีบจมูกตัวเองหรือกั้นหายใจไม่ต้องหายใจสักพักเธอยังอยากจะพูดว่าไม่ให้ใส่ท่ออยู่ไหม)

พอเราหันไปถามยายๆว่าถ้าเหนื่อยมากทนไม่ไหวให้หมอใส่ท่อช่วยนะยายเองไม่ยอมพูดอะไรได้แต่มองหน้าลูกสะใภ้ เราเลยบอกว่าการยินยอมให้แพทย์รักษาและทำหัตถการต่างๆหากผู้ป่วยรู้สึกตัวดีและมีสติเราคงต้องให้ผู้ป่วยได้ตัดสินใจเอง เพราะในส่วนของคนที่เป็นผู้ให้การรักษาเราคงไม่อาจนิ่งดูผู้ป่วยหยุดหายใจและเสียชีวิตไปต่อหน้าต่อตาโดยไม่ได้ช่วยเหลืออะไร

เราบอกแกว่ายายๆสามารถตัดสินใจเองได้ถ้ายายเหนื่อยมากยายทนไม่ไหวควรใส่ท่อนะยายจึงค่อยๆพยักหน้า ขณะเดียวกันหมอก็ขอโทรศัพท์พูดกับลูกชายที่อยู่กรุงเทพเมื่อหมอได้อธิบายเหตุผลลูกชายก็ยินยอมให้ใส่ท่อช่วยหายใจได้ สุดท้ายยายก็รอดพ้นจากภาวะวิกฤตินั้นมาได้   

เราเลยมาคิดว่าบางครั้งญาติผู้ป่วยอาจยังไม่เข้าใจเรื่องสิทธิผู้ป่วยในการรับการรักษาว่าเขาสามารถตัดสินใจแทนผู้ป่วยได้ในกรณีใดเราอาจต้องมาหาวิธีทำความเข้าใจกับญาติกันใหม่ส่วนสัมพันธภาพในครอบครัวของยาย (วิกฤติของจิตใจ )คงต้องตามดูกันภายหลัง......

คำสำคัญ (Tags): #sha#รพ.พิจิตร
หมายเลขบันทึก: 448820เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2011 09:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อ้างเหตุผลหมื่นแสนก็ไม่สามารถทำมักง่ายอย่างนี้ได้หรอก หากจะทำตามคำขอของแม่ คุณลูกที่อยู่กรุงเทพฯก็ต้องมาดูด้วยตัวเองที่ข้างๆ เตียง แล้วก็ตัดสินใจ ไม่ใช่บอกเมียให้สั่งหมอ ล่ะการรักษา หากเอาใจเขามาใส่ใจเรา หากเราเป็นพ่อเป็นแม่นอนเตียงป่วยหายใจไม่ออกต้องการความช่วยเหลือ ลูกของเราไม่มา และยังบอกว่าปล่อยให้ตายได้ ผมจะรู้สึกเสียใจมากๆ และลูกเราก็คงจะไม่มีอนาคตที่ดีแน่นอน

ผู้มีประสบการณ์ท่านหนึ่งให้ความเห็นว่า

เพื่อความสบายใจของทุกฝ่าย

ทำความเข้าใจกับผู้ป่วยและญาติว่า

..เรื่องจัดการที่บ้าน ให้คนในครอบครัวตัดสินใจเป็นหลัก พวกเราเป็นส่วนเสริม

..เรื่องจัดการที่ รพ. พวกเรายังต้องรับหน้าที่ตัดสินใจ แต่จะรับฟังความเห็นครอบครัว..

แบบนี้เห็นนว่าเหมาะสมเพียงไร ในบริบทบ้านเราคะ?

สงสัยลูกสะใภ้ขี้เกียจเฝ้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท