บทบาทของพยาบาลในการบริหารจัดการความปวด


บทบาทของพยาบาลในการบริหารจัดการความปวด

JCAHO กำหนดมาตรฐานในการจัดการความปวด กำหนดไว้ว่า ผู้ป่วยทุกรายที่รับไว้ในโรงพยาบาล ต้องทำการประเมินปวดและประเมินซ้ำในรายที่ปวดหรือมีข้อบ่งชี้ว่าจะมีความปวด

 

การประเมินปวดแบบองค์รวม

  1. ประเมินความปวดจากคำบอกเล่าของผู้ป่วย ซึ่งประกอบด้วย

1.1     ระดับความรุนแรงของความปวด โดยใช้เครื่องมือบอกระดับของความปวด โดยผู้ป่วยเอง มีหลายแบบที่นิยม คือ.

-          Simple Descriptive Scale : SDS หรือ Verbal Rating Scale : VRS

-          Visual Analogues Scale : VAS

-          Numeric Rating Scale

-          Faces Pain Rating Scale

1.2     ตำแหน่งและขอบเขตความปวด

1.3     ลักษณะความปวด

1.4     เวลาที่เริ่มปวดและระยะเวลาที่ปวด

1.5     ประสบการณ์ความปวดที่ผ่านมา ปัจจัยที่ทำให้อาการปวดเพิ่มมากขึ้นหรือลดลง

1.6     อาการหรือผลกระทบอื่นๆ เกิดร่วมทางกาย เช่น นอนไม่หลับ แน่น หายใจไม่ออก

  1. ประเมินโดยสังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วย นิยมในเด็ก ผู้สูงอายุ
  2. ประเมินโดยการวัดและสังเกตการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา ในผู้ป่วยที่มีปัญหาในการสื่อสาร
  3. ประเมินจากปริมาณยาบรรเทาปวด ที่ผู้ป่วยร้องขอและได้รับ
  4. จากความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน

 

หลักการใช้ยาแก้ปวด โดยใช้เกณฑ์การใช้ยาตามบันได 3 ขึ้น ของ WHO

ขั้นที่ 1 ปวดเมื่อย ใช้ยากลุ่ม Non opioid ได้แก่ paracetamal, aspirin และ NSAIDS

ขั้นที่ 2 หลังจากรับยาขั้นที่ 1 ปวดยังคงอยู่และรุนแรงขึ้น ใช้ยากลุ่ม Weak opioid แทน เช่น Codeine, Tramadol

ขั้นที่ 3 ถ้ายังปวดมาก ใช้ยากลุ่ม Strong opioids ได้แก่ MO, fentanyl หรือ methadone

 

การบรรเทา Pain โดยไม่ใช้ยา

-          ประคบร้อน / ประคบเย็น

-          ดนตรีบำบัด

-          การนวด โยคะ

-          ฯลฯ

คำสำคัญ (Tags): #การประเมิน
หมายเลขบันทึก: 448815เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2011 09:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 08:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท