การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง "การใช้เครื่องมือพิเศษ"


เครื่องมือที่ชำรุดเสียหายทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูงในการซ่อมแซมและไม่มีอุปกรณ์สำหรับให้บริการที่เพียงพอ อาจเกิดความเสี่ยงหรือทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับบริการที่ดีพอ

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง "การใช้เครื่องมือพิเศษ"

 โดย กลุ่มดูแลรักษาเครื่องมือ

 

เครื่องมือที่นำมาใช้ในงานบริการวิสัญญีนั้นส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องมือที่มีราคาแพง การนำเครื่องมือเหล่านี้มาใช้โดยผู้ปฏิบัติงานและผู้ฝึกอบรมที่ขาดความชำนาญและประสบการณ์ทั้งการใช้งานและการดูแล บำรุงรักษาหรือการทำความสะอาดเป็นเหตุให้เครื่องมือชำรุดเสียหายได้ง่าย ที่ผ่านมาพบว่าเสียค่าใช้จ่ายสูงในการซ่อมแซม และทำให้ไม่มีอุปกรณ์สำหรับให้บริการที่เพียงพอ เป็นเหตุให้การบริการอาจเกิดความเสี่ยงหรือทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับบริการที่ดีพอจากการขาดแคลนเครื่องมือหรือเครื่องมือมีคุณภาพไม่สมบูรณ์ในการใช้งาน

   กลุ่มดูแลรักษาเครื่องมือในงานบริการวิสัญญี ภาควิชาวิสัญญีวิทยาเป็นทีมงานที่เข้มแข็ง ทำงานทุ่มเทและมีความพยายามอย่างมากในการคงคุณภาพของเครื่องมือต่างๆ

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม 2554 ที่ผ่านมา เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ทางกลุ่มงานจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้เครื่องมือ 2 ชนิดคือ Fiberoptic Bronchoscope และ TCI (Target Controlled Infusion)

วิสัญญีพยาบาลแม้มิได้มีบทบาทโดยตรงในการใช้งาน แต่เป็นผู้มีความสำคัญในการจัดเตรียมและการดูแลรักษา ดังนั้นในวันนี้ผู้เคยมีประสบการณ์การใช้ได้พยายามนำความรู้ ความสามารถ และทักษะถ่ายทอดระหว่างกัน มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองที่มีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ

1KMEquipment.jpg

โดย Fiberoptic มีคุณรัดดา กำหอม (ภาพบนซ้าย) เป็นผู้นำเรื่อง, คุณวิลาวัลย์ สมดี (ภาพบนขวา)เป็น Notetaker

4KMEquipment.jpg

ส่วนเครื่อง TCI มีคุณพัลลภ บุญเดช (ภาพบนซ้าย)เป็นผู้นำเรื่อง, คุณกชกร พลาชีวะ (ภาพบนขวา)หัวหน้ากลุ่มเครื่องมือเป็น Notetaker เอง

8KMEquipment.jpg

12KMEquipment.jpg

19KMEquipment.jpg

15KMEquipment.jpg

14KMEquipment.jpg

 

ขอขอบคุณชาววิสัญญีทุกท่านที่ให้ความสำคัญและร่วมมือเข้าแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อให้ได้วิธีการดูแลเครื่องมือที่ดีและถูกต้องเป็นแนวทางการใช้งาน

  เนื้อหาจากการถอดบทเรียนโดย 2 Notetakers คงได้นำมาเล่าในไม่ช้านี้

และที่ลืมไม่ได้คือ ขอขอบคุณกรรมการกลุ่มเครื่องมือทุกท่าน

รายนามกรรมการกลุ่มเครื่องมือ

อ.พลพันธ์ บุญมาก, อ.สุหัทยา บุญมาก, อ.ปิยพร บุญแสงเจริญ, คุณกชกร พลาชีวะ, คุณพัชรา รักพงษ์, คุณกุลริศา ลิมป์กุลวัฒนาพร, คุณเพ็ญวิสา แนวทอง, คุณรัดดา กำหอม, คุณวิลาวัลย์ สมดี, คุณเบญจศีล เกตุคล้าย, คุณสุดใจ บรรเทาทึก, คุณวัฒนา ตันทนะเทวินทร์, คุณอังสนา ภูมิแดง, คุณสำรวม ภูมิแดง และคุณแสงสว่าง ผากากอง

 

หมายเลขบันทึก: 448318เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2011 22:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

พี่ติ๋วคะ

ขอบคุณที่แบ่งปันค่ะ ได้เห็นภาพประกอบกับเรื่องเล่า ก็เลยทำให้เห็นภาพเลยว่า การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกิดขึ้นและใช้ได้ในทุกงานเลยนะค่ะ

หนูมาลงชื่อรออ่านเรื่องเล่าจาก Notetakers ค่ะ ^^

น้องมะปราง

การจัดเวทีให้ผู้มีประสบการณ์การใช้งานในพื้นที่มาเล่าสู่กันฟังและแบ่งปัน ทำให้เทคนิคดีๆที่แต่ละคนนำมาใช้ถูกถ่ายทอด และเห็นภาพของข้อจำกัดการใช้ในมุมมองต่างๆค่ะ

การถอดบทเรียนที่ได้คงสรุปนำเสนอเพื่อให้ทุกคนรับทราบและนำไปปฏิบัติอีกที ผลลัพธ์การนำไปปฏิบัติก็จะปรับกันไปอีกทีเป็นระยะค่ะ

ขอบคุณค่ะ

เรียน อาจารย์ประพนธ์ค่ะ

...เทคนิคเดิมคือ เราให้ผู้รู้เรื่องเครื่องมือแนะนำวิธีใช้ฝ่ายเดียว ตอนนี้เราปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพิ่มเติมโดยให้ผู้ที่เคยมีประสบการณ์ดีๆมาช่วยกันแชร์เพิ่มขึ้น เพื่อจะได้ทราบว่าเทคนิคบางอย่างไม่สะดวกในการใช้จริง จึงทำให้การจัดการความรู้คราวนี้เป็นไปตามเป้าหมายมากขึ้นค่ะ...

ตอนนี้เหลือแค่ความรู้ที่พยายามให้น้องๆ 2 กลุ่มรวบรวมแล้วจัดเก็บเป็นคลังความรู้ค่ะ

ขอบคุณค่ะอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท