แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการนวัตกรรม


ทำวันนี้ให้ดีที่สุด

 

แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการคุณภาพเริ่มต้นจากแนวคิดเกี่ยวกับอะไร

                หลักการและแนวทางปฏิบัติของการบริหารคุณภาพ ( Quality Management) ได้วิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องโดยเริ่มจากการตรวจสอบคุณภาพ (Inspection) และการควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Control) ในทศวรรษ 1970 และได้วิวัฒนาการไปสู่การประกันคุณภาพ (Quality Assurance) และการบริหารคุณภาพ (Quality Management) ทศวรรษ 1980 และ 1990 ตามลำดับ รวมทั้ง TQM (Total Quality Management) และ Six Sigma ที่เพิ่งจะเริ่มมีขึ้นในทศวรรษที่ผ่านมานี่เอง

2.ให้สรุปวิวัฒนาการเกี่ยวกับการบริหารคุณภาพแบบมุ่งทั้งองค์กรมาพอสังเขป

การบริหารคุณภาพมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน  ซึ่งเริ่มวิวัฒนาการในช่วงการปฎิวัติอุตสาหกรรมโดยเริ่มจากบทบาทของการตรวจสอบคุณภาพแบบเดิม ( Inspection) การควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพ และ TQM ในหนังสือเรื่อง “The Wealth of the Nation” เขียนโดย Adam Smith ในปี 1776 โดยได้นำแนวคิดเกี่ยวกับการจำแนกแรงงาน ซึ่งเป็นแรงผลักดันหนึ่งที่ทำให้เกิดการปฎิวัติอุตสาหกรรมต่อมาในปี 1914 การเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้กระตุ้นให้เกิดการผลิตแบบ Mass Production ในช่วงเวลาดังกล่าว การตรวจสอบทางด้านอุตสาหกรรมกลายเป็นสิ่งจำเป็น แนวทางใหม่ในการบริหารที่พัฒนาขึ้นโดย Frederick W. Taylor ในปี 1919 หรือที่เรียกว่า “การบริหารโดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์” ( Scientific Management ) นั้น  มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มผมผลิต โดยไม่มีการเพิ่มจำนวนช่างฝีมือ  ต่อมาในปี 1924 Dr. Walter A. Shewhart วิศวกรจากบริษัท Western Electric ได้นำแนวคิดเกี่ยวกับ Control Chart มาใช้ในการควบคุมความผันแปรของคุณภาพผลิตภัณฑ์ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการควบคุมคุณภาพโดยใช้สถิติที่เรียกว่า Statistical Quality Control ( SQC ) ในปี 1931 ในขณะเดียวกันที่ประเทศอังกฤษก็ได้พัฒนามาตรฐาน British Standards นอกจากนี้ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ( 1941 – 1945 ) สหรัฐได้พัฒนาวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใหม่โดยใช้แนวคิด Acceptable Quality Levels ( AQLs ) ดังนั้น  การตรวจสอบโดยวิธีสุ่มตัวอย่างจึงใช้เวลาลดน้อยลง  ภายหลังจากที่ Dr. Deming และ Dr. Juran ได้ไปญี่ปุ่นในปี 1950 การพัฒนาคุณภาพของญี่ปุ่นได้เจริญอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาถึง 2 ทศวรรษ โดยแนวคิดในเรื่องคุณภาพเทคนิค  และปรัชญาหลายอย่าง เช่น Fool Proof, QCC, CWQC, ผังก้างปลา รวมทั้งวิธีการของ Taguchi ก็ได้ถูกนำมาใช้ในการบริหารคุณภาพ

                ต่อมาในปี 1946 American Society For Quality Control ( ASQC ) ได้ถูกจัดตั้งขึ้นนับตั้งแต่ปี 1950 -1960 สหรัฐให้การยอมรับในคุณค่าของทฤษฏีต่าง ๆ ของ Dr. Deming และ Dr.Shewhart และแล้วศักราชใหม่ของการประกันคุณภาพ ( QA ) ก็ได้เปลี่ยนแปลงสิ่งที่อุตสาหกรรมได้มุ่งเน้น  นั่นคือการเปลี่ยนจากการตรวจสอบคุณภาพ ( Inspection ) เพื่อหาของเสียไปเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดของเสีย ( Prevention ) ในช่วงเวลาดังกล่าว  ปรัชญาทางด้านคุณภาพมากมายได้เกิดขึ้น เช่น  เรื่อง Cost of Quality ( CQQ ) , Total Quality Control ( TQC ) , Reliability Engineering , Zero Defeets, Management by Objective เป็นต้น ในระหว่างปี 1980 -1990 ความต้องการของลูกค้า  ผลการดำเนินงานของคู่แข่งขัน  และการลดต้นทุนคุณภาพเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ ซึ่งนำไปสู่การดำเนินการในเรื่องการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร ( TQM )

 

3.รางวัล Malcolm Baldring Nation Quality Award หมายถึงอะไร

รางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา

 

4.หลักการสำคัญของการของระบบการบริหารเกี่ยวกับการบริหารคุณภาพทั้งองค์การมีอะไรบ้าง

หลัก 14 ประการของ Deming สำหรับการปรับปรุงคุณภาพ

1. การสร้างเป้าหมายที่สอดคล้องกัน

2. นำไปสู่การสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง

3. สร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ หยุดการควบคุมคุณภาพโดยอาศัยการ

ตรวจสอบเพื่อให้พบปัญหา

4. เสริมสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวบนพื้นฐานทางด้านศักยภาพ แทนการ

ให้รางวัลจากการใช้ราคา

5. ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ คุณภาพ และระบบการให้บริการอย่างต่อเนื่อง

6. ทำการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ

7. เน้นภาวะผู้นำให้เกิดขึ้น

8. กำจัดข้อวิตกกังวล หรือความหวาดกลัวให้หมดไป

9. กำจัดสิ่งที่เป็นอุปสรรคของการร่วมมือระหว่างหน่วยงานในองค์การ

10. หยุดการกระตุ้นโดยใช้คำขวัญสำหรับพนักงาน

11. สนับสนุน ช่วยเหลือ และปรับปรุง

12. กำจัดอุปสรรคที่ขัดขวางความภาคภูมิใจในการทำงานของพนักงาน

13. จัดตั้งแผนการศึกษาและการฝึกอบรม เพื่อให้เกิดการปรับปรุงตนเอง

14. ทำให้ทุกคนในองค์การลงมือปฏิบัติ เพื่อมุ่งสู่การเปลี่ยนแปลง

 

 การจัดการคุณภาพหมายถึงอะไร

                การนำนโยบาย คุณภาพมากำหนดเป็นเป้าหมายคุณภาพ  จากนั้นจะต้องมีการกำหนดเป็นแผนคุณภาพ สำหรับดำเนินการต่อไป    หรือการจัดการคุณภาพหมายถึง กิจกรรมหรือกระบวนการปรับปรุงการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องทุกขั้นตอนของการทำงาน

 

การบริหารคุณภาพแบบมุ่งเน้นทั้งองค์กร (TQM)  มีหลักการที่สำคัญอะไรบ้าง

                1.มุ่งเน้นความสำคัญให้กับลูกค้า

                2.การปรับปรุงกระบวนการทำงาน

                3.การให้ทุกคนมีส่วรร่วม

 

จงสรุปว่าระบบริหารแบบ (TQM)   มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

                1.วัตถุประสงค์ (Objective) เพื่อให้มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในทุกๆส่วนขององค์กร

                2. หลักการพื้นฐานของรูปแบบ (Fundamanttal  Principles) การมุ่ให้ความสำคัญกับลูกค้า หรือผู้รับบริการ การปรับปรุงกระบวนการทำงาน และการมีส่วนร่วมของทุกคนในองค์กร

                3. องค์ประกอบ(Elements) ภาวะผู้นำการศึกษา และการฝึกอบรม โครงสร้างสนับสนุน การติดต่อสื่อสาร การพิจารณาความชอบ แลฃะการวัดผล

 

แนวคิดการจัดการคุณภาพ การศึกษา สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารสถานศึกษาได้อย่าไรบ้าง

                1.ศึกษาหลักการบริหารแบบคุณภาพ

                2.กำหนดนโยบายด้านบริหารคุณภาพให้ชัดเจน

3.จัดตั้งองค์กรหรือคณะบุคลดำเนินการตามนโยบายคุณภาพ

4.วางแผนและออกแบระบบงานมาตรฐานและวิธีทำงาน และการจัดการทรัพยากร

5.จัดทำคู่มือระบบคุณภาพโดยอผธิบายวิธีปฏิบัติงานแต่ละด้าน

6.สร้างทีมงาน ละจัดตั้งคณะทำงาน เพื่อดำเนินงานแต่ละด้าน

7.จัดฝึกอบรม และพัฒนาบุคลากรทุกระดับ

8.จัดระบบประเมินผลงานอย่างโปร่งใส และทุกฝ่ายยอมรับการนำสู่การปฏิบัติ

               

 นโยบายคุณภาพ(Quality policy) ของเดมมิ่ง 14 ประการ (Deming 14 point) สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาอย่าไรบ้าง

                นโยบายคุณภาพ(Quality policy) ของเดมมิ่ง 14 ประการ (Deming 14 point) สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการบริหารได้ โดยเริ่มตั้งแต่การ วางแผน  การจัดองค์กร  การจัดการบุคล  การอำนวยการ และการควบคุม ให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

               

 ประเด็นอภิปราย

                1) การบริหารการศึกษาโดยใช้วงจร P D C A ทำอย่างไร

                วงจรเดมมิ่ง เป็นวงจรเพื่อการบริหาร และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องแบบอเนกประสงค์ ครอบจักรวาล คือสามารถนำไปใช้กับระบบบริหารใดๆ ก็ได้ ทั้ง ISO9001:2000, ISO14001, 5ส, QCC etc. รวมไปถึงการบริหารการศึกษา ใช้ได้หมดแล้วแต่ว่าจะนำไปใช้

P -Plan หมายถึงการวางแผน
D -Do หมายถึงการปฏิบัติ ตามแผนที่ได้วางไว้
C -Check หมายถึงตรวจสอบ
A -Action หมายถึงการแก้ไขข้อบกพร่องจากการตรวจสอบ และนำผลจากการแก้ไขไปถือปฏิบัติ (เป็นมาตรฐาน) ต่อไป        ถ้าวงจร P-D-C-A หมุนไปอย่างต่อเนื่อง จะเกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

                การประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา เช่น จัดการคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษาทุกฝ่าย กล่าวคือการจัดการคุณภาพการศึกษา ต้องยึดหลักการกระจายอำนาจ และการมีส่วนร่วมของครูผู้สอน บิดา มารดา ผู้ปกครองชุมชน หรือหน่วยงานที่กำกับดูแล  ให้เข้ามามีส่วนร่วมกำหนดนโยบาย  วางแผน(P -Plan หมายถึงการวางแผน)    ติดตามประเมินผล (C -Check หมายถึงตรวจสอบ)     พัฒนาปรับปรุง(A -Action หมายถึงการแก้ไขข้อบกพร่องจากการตรวจสอบ และนำผลจากการแก้ไขไปถือปฏิบัติ)   ช่วยกันคิดช่วยกันทำ  (D -Do หมายถึงการปฏิบัติ ตามแผนที่ได้วางไว้)    เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

   2) จากคำกล่าวที่ว่า การป้องกันดีกว่าการแก้ปัญหา”  ท่านเห็นด้วยหรือไม่ จงยกตัวอย่าง

         ประกอบ

                จากคำกล่าวที่ว่า การป้องกันดีกว่าการแก้ปัญหา”  ข้าพเจ้าเห็นด้วย เนื่องจาก การบริหารแบบคุณภาพมีแนวคิดอยู่บนพื้นฐานของการป้องกันความผิดพลาดต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นมากกว่าการแก้ไขภายหลังความผิดพลาด หรือความสูญเสียที่เกิดขึ้นแล้ว

                ตัวอย่างจากคำกล่าวที่ว่า การป้องกันดีกว่าการแก้ปัญหา คือการให้มีระบบประกันคุณภาพทางการศึกษา กล่าวคือ เป็นการควบคุมคุณภาพโดยการกำหนดมาตรฐานด้วยตนเอง    การตรวจสอบคุณภาพเป็นการตรวจสอบผลการดำเนินงานด้วยตนเอง   และการประเมินคุณภาพด้วยตนเอง และบุคลภายนอก

 

3) การบริหารโดยใช้ข้อมูลจริงมีประโยชน์ในการแก้ปัญหา และการตัดสินใจหรือไม่ อย่างไร

                การบริหารโดยใช้ข้อมูลจริงมีประโยชน์ในการแก้ปัญหา และการตัดสินใจ  คือในการจัดทำแผนงานเพื่อพัฒนาคุณภาพ   การกำหนดเป้าหมาย  ยุทธศาสตร์  การดำเนินงาน เกณฑ์มาตรฐาน  ฯลฯ ขั้นตอนดังกล่าวล้วนต้องอาศัยข้อมูลพื้นฐานทั้งสิ้น หากข้อมูลพื้นฐานไม่เพียงพอ ไม่เป็นปัจจุบัน ไม่สามารถเชื่อถือได้ ย่อมหวังความสำเร็จได้ยาก ดังนั้นทุกหน่วยงานจึงจำเป็นที่จะต้องมีระบบข้อมูลสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพเพื่อใช้ในหน่วยงานของตน

 

4)บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการจัดการคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วยใครบ้าง และควรมีบทบาทอย่างไร

                บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการจัดการคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษาทุกฝ่าย กล่าวคือการจัดการคุณภาพการศึกษา ต้องยึดหลักการกระจายอำนาจ และการมีส่วนร่วมของครูผู้สอน บิดา มารดา ผู้ปกครองชุมชน หรือหน่วยงานที่กำกับดูแล  ให้เข้ามามีส่วนร่วมกำหนดนโยบาย  วางแผน  ติดตามประเมินผล  พัฒนาปรับปรุง ช่วยกันคิดช่วยกันทำให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

 

………………………………………………………………………………………………..

หมายเลขบันทึก: 447619เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2011 17:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 22:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท