การจัดการความรู้โดยใช้Cyber Network


CKM : Cyber Knowledge Management

    

การจัดการความรู้ในโลกไซเบอร์ (Cyber Knowledge Management-CKM)

    ในสังคมปัจจุบันทุกคนต้องยอมรับว่า  "โลกไซเบอร์" เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการทำงาน   การติดต่อสื่อสาร การส่งผ่านข้อมูล การค้นหาข้อมูล  การเผยแพร่ข่าวสาร กิจกรรม ความรู้  การเชื่อมโยงผู้คนในสังคมเข้าด้วยกัน รวมทั้งการทำธุรกรรมต่างๆ ทางด้านการเงิน การพาณิชย์  และธุรกิจการค้า มีข้อมูลความรู้จำนวนมากมายมหาศาลปลิวว่อนอยู่ในโลกไซเบอร์    ทั้งลับเฉพาะบุคคล  ลับเฉพาะองค์กร  หรือเป็นสาธารณะ

        การจัดการความรู้ในโลกไซเบอร์  ( Cyber Knowledge Management ) 

ของปัจเจกบุคคล องค์กร และหน่วยงานต่างๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่จะสามารถนำไปสู่การแข่งขัน และนำไปสู่ความสำเร็จ  ดังคำกล่าวที่ว่า   "ความรู้คืออำนาจ" ( Knowledge is Power )

       พลเมืองในโลกไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นักศึกษา และคนทำงาน หากต้องการหาข้อมูลใดๆ  เพื่อมาตอบคำถามต่างๆ  คงหนีไม่พ้นการใช้เครื่องมือค้นหาข้อมูลต่างๆ จากเว็บไซต์ เช่น Google , MSN, Yahoo , Bing, Ask เป็นต้น  ปัจจุบัน การจัดหาความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวมนุษย์ ( Tacit Knowledge )  นักจัดการความรู้ก็พยายามแปลงมันให้ออกมาเป็น ความรู้ที่แจ้งชัด ( Explicit Knowledge ) ในรูปแบบของ หนังสือ นิตยสาร  วารสาร แผ่นพับ สิ่งตีพิมพื สื่ออิเลคทรอนิกส์ สื่อมัลติมีเดีย เว็บไซต์ Blog ฯลฯ เป็นต้น  รูปแบบต่างๆ ที่ว่านี้ บางรูปแบบไม่สามารถนำไปใช้ในโลกไซเบอร์ได้ ดังนั้น กระบวนการในการนำรูปแบบเหล่านี้ไปเผยแพร่ในโลกไซเบอร์ คือ  " การจัดการความรู้ในโลกไซเบอร์ " ( Cyber Knowledge management - CKM ) นั่นเอง  

         ยกตัวอย่าง ถ้าพิมพ์หนังสือฉบับหนึ่ง จำนวน 500 เล่ม แล้วแจกจ่ายไปตามห้องสมุดต่างๆ ความรู้ในหนังสือฉบับนั้นก็คงมีอยู่แค่ 500 แห่งเท่านั้น  แต่ถ้าเราสามารถจัดการความรู้ในหนังสือเล่มนั้นให้อยู่ในรูปแบบของ  Cyber Knowledge  เช่นทำเป็น E-book หรือจัดทำเป็นรูปแบบ PDF , Word  แล้วดำเนินการเผยแพร่ไปในเครื่องมือต่างๆที่มีอยู่ในโลกไซเบอร์แล้ว   ความรู้ในหนังสือฉบับนั้นก็จะสามารถแบ่งปันให้แก่ผู้คนได้อย่างมหาศาล

       ปัจจุบัน การจัดการความรู้ในโลกไซเบอร์ หรือการพยายามที่จะสร้างความรู้ในรูปของ Cyber Knowledge ของคนไทย  มีจำนวนน้อยมาก เท่าที่สังเกตเป็นการส่วนตัวพบว่าอาจจะมาจากสาเหตุหลายประการ ดังนี้

  • คนไทยชอบถ่ายทอดความรู้แบบเล่าต่อๆ กันมา ไม่ค่อยชอบเขียน ไม่ค่อยชอบบันทึก
  • คนไทยไม่กล้าเขียน กลัวจะอายในสำนวน ถ้อยคำ และชอบคิดว่า "ตัวเองไม่มีภูมิปัญญาพอที่จะเขียน"
  • คนไทยส่วนใหญ่ยังขาดความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือบันทึกต่างๆ ในโลกของไซเบอร์ และยังกลัวที่จะเรียนรู้มันอีกด้วย
  • ฯลฯ

เครื่องมือในโลกไซเบอร์ทุกวันนี้ มันทันสมัยมากและมันติดตัวอยู่กับคนตลอดเวลา อย่างเช่น โทรศัพท์มือถือ ที่สามารถทำได้สารพัดเรื่อง เช่น รับ-ส่งอีเมล์ ข้อความ ถ่ายภาพ ถ่ายคลิบวีดีโอ เชื่อมโยงไปยังเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) จัดการสื่อต่างๆ (Social Media) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

แต่หากเรามองในสังคมส่วนใหญ่ของไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะในหมู่บรรดา เด็กนักเรียน นักศึกษา เยาวชน และวัยรุ่น  แล้ว ลองสังเกตว่าข้อมูลที่มีอยู่ในโลกไซเบอร์ ส่วนใหญ่ เด็กเหล่านั้นนำความรู้มาใช้ หรือ นำความไร้สาระมาใช้ และ ใครจะตอบได้ว่า ความรู้ที่ปลิวว่อนอยู่ในโลกไซเบอร์นั้น มีความรู้หรือความไร้สาระมากกว่ากัน ดังนั้น การจัดการความรู้ในโลกไซเบอร์ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรจะสร้างความรู้ให้มากกว่าความไร้สาระ 

 

"ทำอย่างไรจะให้เด็กและเยาวชนของเรา รู้จักไช้  FaceBook , Hi5, Twitter, MSN  อย่างมีสาระมากกว่าความไร้สาระ" นี่ก็คือส่วนหนึ่งที่น่าจะมีการจัดการความรู้ในโลกไซเบอร์ (Cyber Knowledge Management-CKM) แต่จะทำอย่างไรนั้น...ก็คงต้องคิดกันต่อไป...

 

 

     

หมายเลขบันทึก: 447474เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2011 22:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ร่วมกันนะครับ

แล้วเราจะได้ใช้ไซเบอร์ให้เกิดประโยชน์

ในการเรียนรู้นะครับ

สวัสดีค่ะ คุณรัตน์นรี

เปิดประเด็นชวนคุยได้น่าสนใจมากๆ ค่ะ

แนวทางหนึ่งที่น่าสนใจ ปรางมองว่าแนวทางการส่งเสริมให้การอ่านหนังสือค่ะ โดยช่วงหลายปีที่ผ่านมาสร้างกระแสได้ดีเลยทีเดียว

หากเราช่วยกันสร้างกระแสและเผยแพร่การใช้เครื่องมือ social media อย่างเหมาะสมและส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพต่อการจัดการความรู้อย่างมากเลยค่ะ

เมื่อโลกมันเปลี่ยนไป ;)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท