Ph.D. Methodology มองภาพกว้าง ตีโลกให้ “แตก...”


การที่ใครสักคนหนึ่งจะได้การยอมรับโดยถูกสมมติว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านปรัชญา จนได้รับปริญญา “ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต” นั้น ควรจะเป็นบุคคลที่มีสายตา แนวคิดกว้างไกล และมีปัญญาที่จะวิเคราะห์ วิจารณ์โลกใบนี้นั้นอย่างละเอียดละออ...

หลักสูตรแบบเดิมที่เน้นทางด้าน Research Methodology ที่จะให้นิสิต นักศึกษาไปค้นคว้าแบบเจาะลึกในเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้น เหมาะสำหรับ “ดุษฎีบัณฑิตทางด้านวิทยาศาสตร์”

แต่สำหรับดุษฎีบัณฑิตทางด้านสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะในสายวิชาทางการด้าน “ปรัชญา” แล้ว บุคคลผู้นั้นต้องเข้าใจโลกอย่างถ่องแท้และตีโลกให้ “แตก...”

การเรียนการสอนระดับปริญญาเอกสายสังคมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยไทย ก็ใช้ “งานวิจัย” นำ
โดยจะให้นักศึกษาทำวิจัยในหัวข้อเด็ด ๆ เจ๋ง ๆ ให้ยากที่สุด ลึกที่สุด ใช้ระเบียบวิธีวิจัยสุดเจ๋ง เพราะให้ได้ความรู้แบบสุด ๆ มา “หนึ่ง” อย่าง...

ถ้าสุดจริง ก็สามารถอธิบายโลกนี้ได้ทั้งหมด เหมือนกับพระพุทธองค์ที่สอนสาวกให้รู้จักใบไม้เพียงกำมือเดียว แล้วสามารถเข้าใจต้นไม้ ใบไม้สรรพสิ่งได้ทั้งโลก...

ระบบการสอนของเราไม่ “เจ๋ง” ขนาดที่พระพุทธเจ้าทรงพาสาวกทำ และหลักการของเราก็ไม่เหมือนท่านอีกด้วย

เราให้นักศึกษาขุดลึกไม่พอ มิหนำซ้ำนักศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต ก็ไปจมลึกและ “ตันตึ้ก” อยู่กับเรื่อง “เรื่องเดียว”

แต่พอจบมาแล้ว มี ดร. นำหน้าแล้ว ต้องไปทำงานวิชาการ ไปสอนหนังสือ กับต้องสู้รบ ปรบมือ กับวิชาการ กับหน้าที่การงานที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ

ความรู้ลึก ๆ เรื่องเดียวที่ทำวิจัยมา ถ้าเป็นอาจารย์ก็สอนได้เรื่องเดียว บางครั้งทำไม่ลึกจริงอีก Tacit knowledge ไม่พอ ก็ต้องสอนไปอย่างนั้น ๆ
แต่ความเป็นจริงในทางปฏิบัติ อาจารย์ต้องสอนหลายวิชามาก สอนทั้งลึก ทั้งกว้าง แต่อาจารย์ที่จบ ดร. โดยทำวิจัยลึก ๆ มา 1 เรื่อง ยังขาดความรู้ในแนวกว้าง จึงทำให้ตัวเองและลูกศิษย์เคว้งคว้างเพื่อเดินหน้าชนกับวิชาการใน “ความเป็นจริง”

ซึ่งแตกต่างกันการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ ที่เขาทำวิจัยเชิงลึก ไม่ว่าจะลึกมาก ลึกน้อย เขาก็พอใช้ในช่วงชีวิตการทำงาน เพราะระบบวิทยาศาสตร์นั้นประสานติดต่อโยงใยกับเป็นเครือข่าย

การวิจัยทางสังคมศาสตร์ ถ้าไม่ลึกจริงจะอ่านสรรพสิ่งที่ “เป็นความจริง” ไม่ออก

ปัญหาเกิดขึ้นหลากหลาย มากมาย อาทิตัวอย่างง่าย ๆ ว่า ดร.ทางด้านจิตวิทยา เครียดจัด ทุกข์หนักกับปัญหาเรื่อง “ความรัก”
ที่จริง คนที่จบปริญญาเอกด้านจิตวิทยา ต้องเข้าใจจิตตนเองอย่างถ่องแท้มิใช่หรือ เพื่อที่จะเป็นอาจารย์ เป็นนักจิตวิทยา เป็นที่พึ่งให้กับคนรอบข้างได้
แต่ก็ย้อนกลับไปว่า ตอนเรียนปริญญาเอกจิตวิทยา “เขาทำวิจัยเรื่องอะไร...?” เรื่องนั้นเกี่ยวกับความรักหรือไม่...!!!

ในความเป็นจริงกับการวิจัยสมัยเรียนนั้น แตกต่างกันราวฟ้ากับเหว
ถ้าหากเรายังผลิตดุษฎีบัณฑิตทางด้านสังคมศาสตร์ด้านการวิจัยเรื่องเดียวอยู่ สภาพสังคมก็ยังต้องล้มลุกคลุกคลาน
ถ้าหากเราผลิตดุษฎีบัณฑิตทางด้านสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะทางด้านปรัชญาให้มองภาพกว้างและตีโลกให้แตกได้ เขาและเธอก็จะเป็นผู้สรรค์สร้างโลกนี้ได้ด้วย “ความเข้าใจ...”

บุคคลที่ได้รับปริญญา "ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต" รุ่นต่อ ๆ ไป

ควรจะเป็นบุคคลผู้บริหารและคณาจารย์รับทราบและหนักว่า

 เขาหรือเธอคนนั้นเป็นบุคคลที่เข้าใจสรรพสิ่งและความเป็นไปที่ "แท้จริง" ในสังคม...

หมายเลขบันทึก: 446976เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2011 12:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียนปภังกรที่เคารพ

- รูปสวยมาก

- มีเทคนิกการถ่ายดี

- แสดงว่าคนถ่านมี Body of Knowledge .

เหมือนการเรียน Ph.D ต้องวิเคาระห์เรื่องที่จะทำให้ ออก เรียกว่า Gap analysis

Somsri Navarat

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท