Group Benchmarking ห้องสมุดสามมหาวิทยาลัย


ไม่คิดว่าจะได้เรียนรู้ก็ได้เรียน เรื่องการเทียบเคียงสมรรถนะ

Group Benchmarking กลุ่มสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัย

เทียบเคียงคืออะไร ทำไมต้องทำเทียบเคียงสมรรถนะ

คือการต่อยอด พร้อมก้าวไปด้วยกัน ไม่ใช่การแข่งขัน

 “ขอให้ไปเข้าอบรมเทียบเคียงสมรรถนะด้วยนะ จะได้เข้าใจหลักการของ Group Benchmarking (ไหนๆ วิทยากรก็เดินทางมาให้ความรู้แก่คณะทำงาน)


ฉันและอีกหลายๆ คนได้รับคำสั่ง(มอบหมาย)ในวันหนึ่งของต้นเดือนมีนาคม 2554 จุดเริ่มต้นของโครงการ Group Benchmarking กลุ่มสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัย โดยที่การอบรมครั้งแรกนั้น ใช้การอบรมทางไกลผ่านระบบ Video Conference ยิงสัญญาณภาพและเสียงของผู้เข้าอบรมจากมหาวิทยาลัยของฉัน ไปยังมหาวิทยาลัยอีกสองแห่งหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการ

อบรมครั้งนั้นครั้งแรก และทิ้งช่วงเวลาไปสองสัปดาห์ กลับมาอบรมใหม่อีกครั้งในรูปแบบการสื่อสารทางไกลเช่นเดิม แล้วทั้งสามสถาบันมีการบ้านกลับไปทำ เพื่อกลับมาเรียนรู้ร่วมกัน โดยที่แรกเริ่มเดิมที ฉันและอีกหลายคนเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์และเรียนรู้ร่วมกับ “ตัวจริงเสียงจริง” แต่ไปๆมาๆ ตัวฉันและอีกหลายคนกลับได้มีส่วนพัวพันนัวเนียกับการทำกิจกรรมเทียบเคียงสมรรถนะดังกล่าวนี้ด้วย

“คำสั่งแต่งตั้งให้ทำงาน....รับไปดำเนินการต่อด้วยนะ”


ฉันรับสำเนาคำสั่งแต่งตั้งทำงานกลุ่มเกี่ยวกับการมาทำเทียบเคียงด้วยความงงงัน แต่ก็พร้อมเรียนรู้ตามๆ กันไป จนวันนี้เดินไปได้เกือบครึ่งทางแล้ว ที่ไม่ค่อยจะทันตั้งตัวก็ตั้งหลักได้บ้าง แต่คงมีเรื่องให้เรียนรู้อีกมากมาย

เวลานี้เรากำลังทำกระบวนการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ ประเภทฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งประกอบด้วย ๓ กระบวนย่อย คือ กระบวนการจัดซื้อฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ กระบวนการประชาสัมพันธ์การให้บริการฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้การใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

และเรากำลังจะนำเสนอการดำเนินงานเพื่อเรียนรู้การสรุปผลวิเคราะห์กระบวนการ/คู่เทียบ และเรียนรู้หาความเข้าใจการค้นหา Best Practices และอีกมากมายๆ (29 มิถุนายน - 1 กรกฎาคม 2554)

รอบนี้ไม่มีการประชุมแบบอยู่ไกลตัว ทีมบุคลากรสามมหาวิทยาลัยมาเรียนรู้ร่วมกัน ตัวเป็นๆ 

มาดูที่มาที่ไปของการได้เรียนรู้ โครงการ Group Benchmarking กลุ่มสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัย  คือดังนี้ค่ะ

แผนพัฒนาการศึกษาสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 10    (พ.ศ. 2550-2554) กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาสำนักหอสมุด 5 ยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์ที่ 1 คือ สนับสนุนการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล

กลยุทธ์: การบริการสารนิเทศและการส่งเสริมการเรียนรู้สารนิเทศ

เป้าหมายกลยุทธ์ คือ การจัดทำ Best Practice ด้านบริการสารนิเทศ เพื่อเทียบเคียงด้านบริการสารนิเทศกับห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศ ได้แก่ หอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์          เพื่อให้ได้วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) และนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางการพัฒนาสำหรับห้องสมุดแต่ละแห่งที่เข้าร่วมในการเทียบเคียงสมรรถนะ

 

โครงการ Group Benchmarking กลุ่มสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัย ใช้เครื่องมือการเทียบเคียงสมรรถนะ (Benchmarking) เป็นเครื่องมือที่สามารถเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้กับองค์กรด้วยการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ บริการ หรือวิธีปฏิบัติงานกับองค์กรอื่น เพื่อให้ได้วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ โดยจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการการเทียบเคียงสมรรถนะ ขึ้น ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม – 21 ตุลาคม 2554 โดยมีอาจารย์ศุภชัย  เมืองรักษ์  ผู้อำนวยการฝ่ายปรึกษาแนะนำด้านการจัดการองค์กร สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ และอาจารย์นุชรัตน์  สิริประภาวรรณ  วิทยากรที่ปรึกษาการจัดองค์กรสู่ความเป็นเลิศ เป็นที่ปรึกษาและวิทยากร

ที่ต้องลุยในโครงการ คือ การอบรม การลงมือปฏิบัติแต่ละขั้นตอน ภายในช่วงเวลาที่กำหนด อาทิ

  • อบรมเชิงปฏิบัติการ การทำ Site Visit และการตั้งคำถามรายกระบวนการ
  • อบรมการเขียนรายงานแนวปฏิบัติที่ดีและหลักการนำเสนออย่างมืออาชีพ
  • การนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีและการวิพากษ์ สืบค้น ซักถาม
  • ..
  • อบรมเชิงปฏิบัติการ การบริหารโครงการแบบบูรณาการและเครื่องมือเพื่อการปรับปรุง
  • ..

เป็นต้น

 วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้บุคลากรของสำนักหอสมุดมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการเทียบเคียงสมรรถนะ (Benchmarking) และกระบวนการ Best Practice
  2. เพื่อให้สำนักหอสมุดได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้บทเรียนการดำเนินงานซึ่งกันและกัน
  3. เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลแนวปฏิบัติที่ดี และสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ตามแนวทางของ Benchmarking Network

เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

ห้องสมุดทั้งสามมหาวิทยาลัยจะได้กระบวนการเทียบเคียงสมรรถนะด้านบริการสารนิเทศ และได้กระบวนการ Best Practice

(ตามแผนที่ระบุในโครงการ)

วันนี้ฉันได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งผู้รับการอบรมในโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ จากที่แรกๆ ไม่รู้เรื่องไม่ค่อยเข้าใจ พอได้ลงมือทำ สุมหัวร่วมกันในกลุ่มคนทำงาน ทำให้ได้ซึมซับรับความเข้าใจในการทำงานแต่ละขั้นตอนเพิ่มมากขึ้น

จึงเชื่อมั่นว่า เมื่อเสร็จสิ้นโครงการในเดือนตุลาคม 2554 คงจะสามารถนำความรู้ความเข้าใจในกระบวนการเทียบเคียงสมรรถนะ และกระบวนการ Best Practice และนำไปพัฒนาการให้บริการเพื่อให้การบริการสารนิเทศมีคุณภาพมากยิ่งขึ้นค่ะ.

อ่านต่อ>>เรียนรู้การทำกระบวนการประชาสัมพันธ์ ผ่านการเทียบเคียงสมรรถนะ

หมายเลขบันทึก: 446379เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2011 17:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อรุณสวัสดิ์ค่ะพี่ต๋อย

มาชม group benchmarking

ขอบคุณที่แบ่งปันค่ะ

**^_^**

  • พี่จ๊ะ..จ๊ะ..
  • 

จึงเชื่อมั่นว่า เมื่อเสร็จสิ้นโครงการในเดือนตุลาคม 2554 คงจะสามารถนำความรู้ความเข้าใจในกระบวนการเทียบเคียงสมรรถนะ และกระบวนการ Best Practice และนำไปพัฒนาการให้บริการเพื่อให้การบริการสารนิเทศมีคุณภาพมากยิ่งขึ้นค่ะ.

 

ขอให้บรรลุและตรงตามวัตถุประสงค์นะจ๊ะ  ^^

จาก KM ไปสู่ BM แล้วนิท่านดาว

Ico48 เนปาลี

  • สิ้นโครงการ พี่ก็สิ้นหนทางทำมาหากินในห้องสมุดแล้ว..

Ico48 JJ 

  • สวัสดีค่ะท่านอาจารย์  BM เป็นส่วนหนึ่งของ KM ด้วยใช่ไหมคะ  ขอบพระคุณค่ะ

Ico48 ชาดา ~natadee

  • สวัสดีค่ะน้องอิง นานๆ จะมาเจอกันในนี้นะคะ
  • ปลายเดือนสิงหาคม พี่จะไปศึกษาดูงานแบบ Site Visit ที่หน่วยงาน / ห้องสมุด ใน กทม ค่ะ ระหว่างนี้ดูเรื่องคำถามก่อนไป Site Visit ค่ะ

เห็นพี่ดาวทำงาน อยากไปเที่ยว มช บ้างจัง ไปครั้งหน้าจะแจ้งล่วงหน้า พอดีไปแค่ 1 วัน ไปนั่งสมาธิมาด้วยครับ...

สวัสดีครับคุณ ดาวลูกไก่......

เข้ามาเรียนรู้ Group Benchmarking

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท