องค์ประกอบสำหรับการออกแบบเว็บ


องค์ประกอบสำหรับการออกแบบเว็บ

 

การออกแบบเว็บไซต์ไม่ได้มีรูปแบบที่ตายตัวและแน่นอน แต่ก็มีองค์ประกอบหลายอย่างที่จะช่วยให้เว็บดูดีและน่าใช้ มีวิธีการง่ายๆ ในการจะช่วยให้เว็บดูดีขึ้น ดังนี้

1. เลือกใช้สีที่เหมาะสม

การเลือกใช้สีนั้นมีผลอย่างมากในภาพรวมของเว็บ เนื่องจากแต่ละสีนั้นมีผลต่ออารมณ์

และความรู้สึกกับผู้ที่เข้ามาใช้บริการ ดังนั้นเราจึงควรเลือกใช้สีให้เหมาะกับเว็บ โดยแต่ละประเภท

ของสีนั้นจะให้ความหมายและความรู้สึกต่าง กัน ดังนี้

สีฟ้า

เป็นสีของท้องฟ้า จึงช่วยให้เรารู้สึกปลอดโปร่งโล่งสบาย สีฟ้านั้นเป็นสีที่ดูแล้วสบายตา และ

นอกจากนี้ ยังให้ความรู้สึกนุ่มนวลและสุขสบายอีกด้วย

สีน้ำเงิน

ให้ความรู้สึกถึงความจริงจัง มั่นคง สงบและปลอดภัย นอกจากนี้แล้วยังให้ความรู้สึกที่

หรูหรา มีระดับ มีราคา

สีเขียว

เป็นสีของต้นไม้ใบหญ้า ทำให้เรารู้สึกสดชื่นเย็นสบายและชวนให้นึกถึงความเป็นธรรมชาติ

สีเขียวนั้นเป็นสีที่สบายตามากที่สุดสีหนึ่ง

สีแดง

ให้ความรู้สึกร้อนแรง ความรุนแรง ความมีพลังและความตื่นเต้นสนุกสนาน นอกจากนี้แล้ว

ยังเป็นสีมงคลของคนจีนอีกด้วย

สีเหลืองและสีส้ม

สีเหลืองนั้นให้อารมณ์ของความสดใส และดึงดูดสายตา แต่บางครั้งอาจทำให้รู้สึกเหนื่อย

ส่วนสีส้มนั้นให้ความรู้สึกอบอุ่น กระตือรือร้น มีชีวิตชีวา และนอกจากนี้แล้ว ยังดูทันสมัยอีกด้วย

สีเทา

ให้ความรู้สึกสุภาพ สุขุม สงบ และมั่นคง นอกจากนี้แล้วยังให้ความรู้สึกหม่นหมอง และ

โศกเศร้าอีกด้วย

สีขาว

ให้ความรู้สึกเรียบง่าย สะอาดสะอ้าน โล่งสบายและบริสุทธิ์

2. มีความเป็นเอกลักษณ์

สามารถออกแบบเว็บให้มีความเป็นเอกลักษณ์อย่างง่ายๆ ด้วยการเลือกใช้สี ฟอนต์ และ

ภาพประกอบที่มีความคล้ายคลึงกันในทุกๆ หน้าของเว็บ เนื่องจากเว็บที่มีเอกลักษณ์ มักทำให้ผู้ใช้

จดจำได้ง่าย นอกจากนี้ควรมีจุดสนใจอื่นๆ เป็นส่วนประกอบอีก เช่น โลโก้ สี และความคล้ายคลึงกัน

เป็นต้น

3. ใช้งานได้อย่างเหมาะสม

4. แสดงผลได้อย่างรวดเร็ว

การใช้ภาพหรือกราฟิกประกอบ ควรคำนึงถึงระยะเวลาในการแสดงผลเว็บไซต์ด้วย

เนื่องจากยิ่งมีภาพประกอบมาก เวลาในการแสดงผลก็ยิ่งมากตามไปด้วย

บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น (2541) ได้เสนอแนวทางในการออกแบบเว็บมีอยู่ 5 องค์ประกอบ ดังนี้ คือ

1. เนื้อหา (Content) เป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งในเว็บ โดยจะเป็นการรวบรวมสิ่งที่ต้องการ

นำเสนอเพื่อสื่อให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ของเว็บ มีแบบฟอร์มต่างๆ และรายละเอียด และประวัติที่

ต้องการขององค์กร ให้เป็นระเบียบ มีจุดเด่นเห็นได้ชัด พร้อมทั้งสามารถเข้าถึงการใช้งานได้ง่าย โดย

ใช้เทคโนโลยี markup เช่น HTML เป็นต้น

2. การนำเสนอ โดยปกติหน้าจอจะใช้เทคนิคเลย์เอาท์ (layout) เข้ามาช่วยในการจัด

องค์ประกอบต่างๆ ในเว็บ และบางทีอาจจะนำเอาความสามารถของกราฟิกมาเป็นส่วนประกอบเพื่อ

ตกแต่งสำหรับการนำเสนอได้เช่นเดียวกัน

3. เทคโนโลยี (Technology) เป็นการนำเอาความสามารถของเทคโนโลยีใช้ในการออกแบบ

เช่น HTML เป็นต้น โดยเทคโนโลยีเกี่ยวกับเนื้อหาโดยทั่วไป นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีที่เป็นส่วน

ประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนโปรแกรม client-side JavaScript server-side แอพพลิเคชั่น เช่น

Java servlets เป็นต้น

4. ความเร็วในการแสดงผล (Delivery) ความเร็วและความน่าเชื่อถือสำหรับในการนำเสนอ

ผ่านอินเทอร์เน็ตหรือเครือข่ายภายในองค์กรเกี่ยวกับเซิร์ฟเวอร์ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่ใช้พร้อม

ทั้งสถาปัตยกรรมของเน็ตเวิร์กที่ให้บริการ นอกจากนี้ การออกแบบทางด้านกราฟิกและไฟล์ต้องไม่

ขนาดใหญ่จนเกินไปเพราะจะต้องใช้เวลาในการดาวน์โหลดนาน

5. วัตถุประสงค์ (Purpose) เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการออกแบบเว็บ โดยปัจจัยที่สำคัญที่

ถูกนำมาพิจารณาก่อนเป็นอันดับแรกก่อนที่จะตัดสินใจลงมือดำเนินการในส่วนอื่นๆ ทั้งหมด

ขั้นตอนการออกแบบเว็บ

บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น (2541) ได้กล่าวถึงขั้นตอนในการออกแบบเว็บดังนี้

1. เข้าใจวัตถุประสงค์ก่อนออกแบบเว็บ

การสร้างเว็บต้องมีวัตถุประสงค์ในการสร้างที่เป็นเป้าหมายที่ชัดเจน การออกแบบก็จะได้

มองเห็นภาพว่าที่กำลังสร้างขึ้นนั้นมีวัตถุประสงค์อะไร อะไรคือจุดเด่นเพื่อนำเสนอให้ตรงกับกลุ่ม

เป้าหมาย

2. ออกแบบให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย

สิ่งสำคัญในการออกแบบเว็บให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายคือ เรื่องของเนื้อหา รูปแบบกราฟิก

การนำเสนอและองค์ประกอบในส่วนต่างๆ ควรจัดให้เหมาะสมกับวัย เพื่อสร้างความประทับใจ

3. ออกแบบหน้าโฮมเพจอย่างมีสไตล์

การออกแบบเว็บเพจหน้าแรกเรียกว่าโฮมเพจ ต้องออกแบบให้เห็นถึงความมีเอกลักษณ์ มี

รูปแบบ และมีสไตล์เป็นของตนเอง เมื่อผู้ใช้บริการเข้ามาครั้งแรกจะจำได้ว่าเราสามารถนำเสนอในสิ่ง

ที่เขาต้องการ มีการแสดงถึงความทันสมัย โดยมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการนำเสนอตามความ

เหมาะสม สร้างความสม่ำเสมอตลอดทั่วทั้งเว็บ องค์ประกอบอื่นๆ ที่ต้องการคำนึง เช่น โลโก้

สัญลักษณ์ ตำแหน่งของชื่อเรื่องและเนื้อหา เป็นต้น

4. จัดรูปแบบโครงสร้างเว็บอย่างเหมาะสม

การจัดวางโครงร่างเว็บเพื่อให้ระบบการจัดวางตำแหน่งของข้อมูลสามารถใช้งานได้ง่าย

ขึ้น โดยในแต่ละส่วนต้องมีความเหมาะสมซึ่งกันและกัน เช่น ส่วนหัวของหน้า ส่วนของสารบัญ ส่วน

ของเนื้อหา ส่วนท้ายของหน้า เป็นต้น ต้องจัดให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นระเบียบ เน้นให้เห็นถึงส่วนที่

สำคัญและมีรูปแบบที่เหมาะสม สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เว็บมีความชัดเจน น่าเชื่อถือ นอกจากนี้

การออกแบบเว็บที่ดีควรจะต้องวางโครงสร้างให้มีความสมดุล มีการเชื่อมโยงสัมพันธ์กันระหว่าง

หน้าเว็บเพจต่างๆ รวมถึงลักษณะการเชื่อมโยงภายในแต่ละหน้าเว็บเพจ ซึ่งต้องวางแผนโครงสร้างให้

ดีเพื่อป้องกันอุปสรรคที่อาจเกิดต่อผู้ใช้ เช่น การหลงทางของผู้ใช้ขณะเข้าสู่เนื้อหาในส่วนต่างๆ

เป็นต้น จากหลักการนี้แสดงว่า โครงสร้างของเว็บเป็นส่วนที่ควรให้ความสำคัญ โครงสร้างที่ดีจะช่วย

ส่งผลที่ดีต่อผู้ใช้ ในขณะเดียวกัน โครงสร้างที่ไม่ดีย่อมส่งผลเสียต่อผู้ใช้เช่นกัน

5. จัดหมวดหมู่และหัวข้อให้เข้าใจง่าย

การจัดระบบข้อมูลในเว็บไซต์เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ในเว็บไซต์การจัดระบบข้อมูลนั้น

ไม่ได้ หมายถึงการจัดเนื้อหาเพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงส่วนอื่นๆ ทีเกี่ยวข้องกับชื่อเรื่อง สารบัญ

และระบบเนวิเกชั่น รวมถึงการเชื่อมโยงลิงค์ต่างๆ ในเว็บ ฉะนั้นการจัดวางกลุ่มของข้อมูลหรือ

ชื่อเรื่อง ต้องมีความสัมพันธ์และสอดคล้องซึ่งกันและกัน เพื่อให้ง่ายในการสืบค้นหาข้อมูลได้อย่าง

สะดวกและตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งลักษณะการจัดหมวดหมู่หรือการจัดระบบข้อมูลก็มี

หลากหลายรูปแบบ เช่น การจัดตามลำดับตัวอักษร การจัดตามกลุ่มผู้ใช้ การจัดตามหัวข้อชื่อเรื่อง เป็น

ต้น การจัดระบบข้อมูลนอกจากจะทำให้ผู้ใช้เข้าใจได้ง่ายแล้วยังกลายเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เว็บมี

ความน่าเชื่อถือ

6. เน้นการเข้าถึงเว็บด้วยความเร็ว

การออกแบบเว็บนอกจากจะออกแบบให้ดูดีและสวยงามแล้ว ต้องคำนึงถึงความเร็วในการ

ดาว์นโหลดของหน้าเว็บเพจอีกด้วย ถ้าเว็บเพจปราศจากรูปภาพและกราฟิกก็คงจะไม่มีอะไรดูดี เพราะ

รูปภาพหรือกราฟิกคือเครื่องมือในการสื่อความหมายได้อย่างชัดเจน พร้อมทั้งสามารถสร้างความรู้สึก

ความสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้ใช้บริการอีกด้วย

7. การแสดงผลหน้าเว็บบราวเซอร์

ความแตกต่างของระบบปฏิบัติการวินโดวส์มีผลต่อการออกแบบเว็บเพจ ดังนั้น ควรศึกษา

ถึงลักษณะของการใช้งานของกลุ่มเป้าหมายให้ได้รายละเอียดมากที่สุดเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการ

ออกแบบ

8. การใช้สัญลักษณ์รูปภาพกราฟิกสำหรับเว็บ

หลายเว็บไซต์ได้ใช้กราฟิกในการออกแบบเป็นหลักเพื่อทำให้เว็บมีความสวยงามและ

น่าสนใจมากยิ่งขึ้น เพราะกราฟิกคือองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของเว็บที่สามารถช่วยสื่อ

ความหมายของเว็บให้ผู้ใช้บริการได้เข้าใจสิ่งที่นำเสนอออกไป การออกแบบกราฟิกที่ดีย่อมหมายถึง

หน้าที่ในการชี้นำ ดังนั้น ภาพควรจะทำให้ผู้ใช้เข้าใจได้ง่าย ความสวยงามของกราฟิกไม่เพียงแต่จะ

สร้างสีสันให้กับเว็บเท่านั้น ยังถ่ายทอดอารมณ์ของเว็บเพื่อให้ผู้ใช้มีปฏิกิริยาโต้ตอบด้วยพฤติกรรม

และการแสดงออกอย่างมีเหตุผล กราฟิกส่วนใหญ่ที่นิยมนำมาใช้บนเว็บจะอยู่ในรูปแบบของ GIF

และ JPEG เพราะสองนามสกุลนี้ บราวเซอร์ทุกชนิดสนับสนุน

9. การเลือกใช้สีอย่างถูกหลักตามทฤษฎี

การเลือกใช้สีสำหรับเว็บนอกจากจะมีผลต่อการแสดงออกของเว็บแล้ว ยังเป็นการสร้าง

ความรู้สึกดีต่อผู้ใช้บริการอีกด้วย ดังนั้นจะเห็นว่า สีแต่ละสีสามารถสื่อความหมายของเว็บได้อย่าง

ชัดเจน ความแตกต่าง ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นย่อมส่งผลให้เว็บมีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น

10. จัดรูปแบบตัวอักษรสำหรับเว็บให้น่าอ่าน

ตัวอักษรแต่ละชนิดต่างให้อารมณ์และความรู้สึกที่ไม่เหมือนกัน การเลือกใช้ตัวอักษรให้

เหมาะสมกับกลุ่มบุคคลจึงเป็นเรื่องที่ต้องการให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะการอ่านหนังสือ

ตามปกติของคนนั้นต้องใช้สายตาที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนและสามารถกวาดสายตาได้อย่างปกติตาม

ตัวอักษรในแต่ละบรรทัด นอกจากนี้ การคัดเลือกตัวอักษรที่เหมาะสมแล้วยังต้องให้ความสำคัญกับ

การจัดวางตำแหน่งของตัวอักษร ให้มีช่องว่างระหว่างตัวอักษรและระหว่างคำ มีเว้นวรรค มีหัวข้อ

และเนื้อเรื่องที่เหมาะสม ควรแบ่งเนื้อหาให้มีความยาวที่เหมาะสม มีแทรกรูปภาพประกอบเพื่อ

ผ่อนคลายจากการเพ่งดูตัวอักษรเพื่อพักสายตา

หมายเลขบันทึก: 446329เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2011 13:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 00:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท