การประยุกต์ ICT เพื่อการศึกษา


เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

กลุ่มงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ได้ศึกษากรอบแนวทางในการพัฒนาโดยได้ค้นคว้าและศึกษาเอกสารเพื่อจะนำมาใช้ในการพัฒนางาน ดังนี้

1. พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 กำหนดให้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545–2549) กับเทคโนโลยี

3. กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ. 2544-2553 ของประเทศไทย

4. แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของ ศธ. (พ.ศ. 2547 –2549)

5.ทิศทางการบริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

 

ยุทธศาสตร์การพัฒนา

1.พัฒนากลไกการบริหารนโยบายและการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ

2.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้เกิดการเข้าถึงอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน

3.สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในทุกระดับ

4.เร่งพัฒนาและจัดหาความรู้ (Knowledge) และสาระทางการศึกษา(Content)ที่มีคุณภาพและมีความเหมาะสม

1. ยุทธศาสตร์ที่ 1 การใช้ ICT เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

ส่งเสริม สนับสนุน ให้ผู้เรียนใช้ประโยชน์จาก ICTเพื่อการเรียนรู้จากแหล่งและวิธีการที่หลากหลาย โดยจัดให้มีการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์พัฒนาผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา พัฒนาหลักสูตรให้เอื้อต่อการประยุกต์ใช้ ICTเพื่อการจัดการเรียนการสอน เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนทางไกล

จัดให้มีการศูนย์ข้อมูลสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Courseware center)ให้มีการเรียนการสอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) จัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e -Book) จัดให้มีห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Library)เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (Lifelong Learning)นำไปสู่สังคมแห่งคุณธรรมและสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้

2.ยุทธศาสตร์ที่ 2 การใช้ ICT พัฒนาการบริหารจัดการและให้บริการทางการศึกษา

พัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ ระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ และพัฒนาบุคลากรทุกระดับที่เกี่ยวข้อง โดยความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาที่มีความพร้อมและเอกชนสร้างศูนย์ปฏิบัติการสารสนเทศ (Operation center)เชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระดับชาติและระดับกระทรวง รวมทั้งส่งเสริมการใช้ ICTเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และให้บริการทางการศึกษาด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สอดคล้องกับการปฏิรูประบบราชการ

 

 

3.ยุทธศาสตร์ที่ 3 การผลิตและพัฒนาบุคลากรด้าน ICT

ผลิตและพัฒนาบุคลากร เพื่อรองรับความต้องการกำลังคนด้าน ICTโดยจัดให้มีการพัฒนาหลักสูตร ICT ในทุกระดับการศึกษา พัฒนาผู้สอนและนักวิจัยส่งเสริมการวิจัย และนำผล การวิจัยไปประยุกต์ใช้รวมทั้งประสานความร่วมมือกับองค์กรของรัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศในการพัฒนาบุคลากรด้าน ICT เพื่อการพัฒนาการศึกษาและอุตสาหกรรม

4. ยุทธศาสตร์ที่ 4 การกระจายโครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อการศึกษา

จัดให้มีและกระจายโครงสร้างพื้นฐาน ICT อย่างทั่วถึงมุ่งเน้นการจัดหาและใช้ทรัพยากรทางด้านเครือข่ายร่วมกัน จัดหาระบบคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยร่วมมือกับภาครัฐ เอกชนชุมชน และท้องถิ่น เตรียมบุคลากรปฏิบัติงานด้าน ICT ให้เพียงพอ รวมทั้งการสร้างมูลค่าเพิ่มและการซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์ ICT ที่มีอยู่ให้มี ประสิทธิภาพในการใช้ปฏิบัติงาน

สาระสำคัญที่กล่าวมาข้างต้นเป็นนโยบายและแผนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อ

การศึกษาอันเป็นตัวกำหนดแนวทางในการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีใ

ห้บังเกิดผลตามเจตนารมย์ของการปฏิรูปการศึกษาต่อไปในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้นได้กำหนดแผนแม่บทในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาที่ตอบสนองแผนระดับชาติและระดับกระทรวง โดยกำหนดยุทธศาสตร์และเป้าหมายโดยกำหนดยุทธศาสตร์ 4 ด้าน คือ

1. ยุทธศาสตร์ที่ 1 จัดหาระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย

2. ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาและสรรหาบุคลากรด้าน ICT

3. ยุทธศาสตร์ที่ 3 การประยุกต์ใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้

4. ยุทธศาสตร์ที่ 4 การประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการบริหารจัดการ

ในยุทธศาสตร์ที่ 4 การประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการบริหารจัดการนั้นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้จัดให้มีศูนย์ปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร (ICT Operrating Center) ทุกระดับให้มีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภายนอกและหน่วยงานภายในรวมทั้งส่งเสริมการใช้ ICTเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและให้บริการทางการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของรัฐบาล (E-Government)และด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ( E- Education) โดยมีเป้าหมาย ดังนี้

1.มีระบบฐานข้อมูลสำหรับการบริหารจัดการที่เป็นมาตรฐานเดียวกันและสอดรับกับทุกระดับ

2. หน่วยงานทุกระดับมีคลังข้อมูล (Data Warehouse) เพื่อการตัดสินใจ

3. มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยผ่านระบบเครือข่าย

4. มีศูนย์ปฏิบัติการด้านICT

ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตฯ

5. มีระบบเครือข่ายภายในองค์กร (Intranet) เพื่อใช้ในการบริหารงาน

6. หน่วยงานทุกระดับมี Software ที่ถูกกฎหมายสำหรับการบริหารจัดการและพัฒนาระบบ

7. มีโปรแกรมประยุคที่ใช้ในการบริหารงานด้านบุคลากร ด้านบริหารทั่วไปด้านงบประมาณ ด้านวิชาการ ด้านติดตามประเมินผล ด้านบริหารกิจการนักเรียนในทุกระดับ

8. มีระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information System :GIS)

9. มีเวปไซท์เพื่อการประชาสัมพันธ์และให้บริการข้อมูลข่าวสารของหน่วยงาน

5.ทิศทางการบริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

การบริหาร หมายถึง การทำงานให้สำเร็จแต่จะมีกลวิธีใดบ้างที่จะช่วยให้งานสำเร็จได้นั้นโดยเฉพาะในยุคโลกาภิวัตน์ที่โลกเสมือนเล็กลง (Global Village) ในขณะที่ทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรการผลิตลงด้วยนั้น นักบริหารในระยะหลังๆ นี้พยายามใช้ยุทธศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อมุ่งบรรลุเรื่อง 3 เรื่อง คือหนึ่งใช้คนเท่าเดิมทำงานได้มากขึ้น สองงานเท่าเดิม แต่ใช้คนน้อยลงและสามคุณภาพของงานต้องดีเท่าเดิม หรือดีกว่า การจะบรรลุเรื่อง 3 เรื่อง ดังกล่าวนั้นจะต้องใช้ยุทธศาสตร์ คือ

1) การใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศ (Information Utilization)

เพื่อประกอบการตัดสินใจให้มากขึ้น

2) การบริหารทางไกล (High-Tech Administration)

3) การหาความรู้ทำงานกับระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Literacy)

4) การมองการณ์ไกล (Introspection)

5) การใช้หน่วยงาน/องค์กรอื่นทำงาน (Decentralization)

6) การจัดรูปองค์กรที่ทำงานได้ฉับไว (Organization Development)

7) การพัฒนาบุคลากร (Personnel Development)

ระบบสารสนเทศทางการศึกษา

ความหมายของระบบระบบ (System) คือ ชุดขององค์ประกอบซึ่งมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันในรูปของความเป็นหนึ่งเดียวและ ดำเนินงานร่วมไปสู่เป้าหมายเดียวกันประกอบด้วยส่วนสำคัญสี่ประการ คือ

1. ข้อมูลนำเข้า (Input)

2. กระบวนการประมวลผล (Process)

3. ผลลัพธ์ (Input)

4. การควบคุมการย้อนกลับ (Feedback Control)

ความหมายของระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศ (Information System) หมายถึง ชุดของคน ข้อมูล และวิธีการ

ซึ่งทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ หรือ สารสนเทศ

คือข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล บวก ลบ คูณ หาร

เปรียบเทียบหรือตรวจสอบแล้วมีความชัดเจนขึ้น สามารถนำมาใช้ในการพิจารณาตัดสินใจ

หรือดำเนินการใด ๆ ต่อไปได้ สารสนเทศจะถูกนำเสนอในรูปอัตราส่วน ร้อยละ การเปรียบเทียบ

หมายเลขบันทึก: 446324เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2011 12:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2012 14:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท