การสร้างคำ


การสร้างคำ

  ก่อนศึกษาเรื่องการสร้างคำ นักเรียนควรจะมีความรู้เรื่อง คำมูลก่อนค่ะ

คำมูล หมายถึง คำคำเดียวที่ไม่ได้ประสมกับคำอื่น ซึ่งคำมูลมีลักษณะดังนี้คือ


          1. มีความหมายสมบูรณ์ในตัว

          2. มีมาแต่เดิมในทุกภาษา

          3. อาจมีพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้ เช่น แม่ กรรม ฉัน เหนือ ว้าย ป้า แดง ดำ แบตเตอรี่

สับปะรด เป็นต้น

ข้อสังเกตเกี่ยวกับคำมูล

          1. คำมูลในภาษาไทยมักเป็นคำพยางค์เดียวสะกดตรงตัวไม่มีคำควบกล้ำหรือการันต์

          2. คำมูลหลายพยางค์ เมื่อออกเป็นแต่ละพยางค์จะไม่มีความหมาย หรือความหมายไม่เกี่ยวข้อง

กับคำมูลนั้น ๆ เลย

การสร้างคำใหม่ มีอยู่ 3 แบบด้วยกันคือ  

1. คำซ้ำ

2. คำซ้อน

3. คำประสม

คำซ้ำ
          คำซ้ำคือคำคำเดียวกันนำมากล่าว 2 ครั้ง มีความหมายเน้นหนักหรือบางทีต่างกันไป

หรือคำที่เพิ่มขึ้นโดยออกเสียงให้ต่อเนื่องกัน

กับคำเดี่ยวเพียงคำเดียว จึงถือว่าเป็นคำสร้างใหม่ มีความหมายใหม่ทำนองเดียวกับ

คำซ้อน ต่างกันก็แต่เพียงคำซ้ำใช้คำคำเดียวกันซ้อนกันเท่านั้น และเพื่อให้รู้ว่าคำที่กล่าว

2 ครั้งนั้นเป็นคำซ้ำ ไม่ใช่คำเดี่ยวๆ เรียงกัน จึงต้องคิดเครื่องหมายกำกับไว้ ในภาษาไทยใช

้ไม้ยมกแทนคำท้ายที่ซ้ำกับคำต้น (ยมก แปลว่าคู่ ไม้ยมกจึงใช้สำหรับคำซ้ำที่มาเป็นคู่ๆ กัน

เท่านั้นหาใช่มีไว้แทนคำอื่นๆ ที่มีเสียงเดียวกันทุกคำไปไม่) หากไม่ใช้ไม้ยมกจะทำให้

สังเกตยากว่า คำใดเป็นคำเดี่ยว คำใดเป็นคำซ้ำ เช่น ชาวนาใส่เสื้อดำดำดำนา

หรือพูดพูดไปอย่างนั้นเอง (พูด ไม่ใช่คำซ้ำ)

ลักษณะของคำซ้ำ

          1. คำซ้ำที่ซ้ำคำนาม แสดงพหูพจน์ บอกว่านามนั้นมีจำนวนมากกว่าหนึ่ง

ได้แก่ เด็กๆ หนุ่มๆ สาวๆ เช่น เห็นเด็กๆ เล่นอยู่ในสนาม มีแต่หนุ่มๆ สาวๆ เดินไปเดินมา

          2. คำซ้ำที่ซ้ำคำขยายนาม แสดงพหูพจน์ก็มีเน้นลักษณะก็มี

เช่น ฉันให้เสื้อดีๆ เขาไป เสื้อตัวนี้ยังดีๆ อยู่ มีแต่ปลาเป็นๆ

บางทีเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ที่คำต้นด้วยเมื่อต้องการเน้นลักษณะ

คำขยายนั้นๆ ดังกล่าวแล้วในเรื่องวรรณยุกต์ ส่วนมากเสียงจะเปลี่ยนเป็นเสียงตรี ดังนี้

ดี๊ดี เก๊าเก่า บ๊าบ้า ร๊ายร้าย ซ้วยสวย


          3. คำซ้ำที่ซ้ำคำขยายนามหรือสรรพนาม แสดงความไม่เจาะจง

หากพูดคำเดี่ยวคำเดียวย่อมเป็นการยืนยันเจาะจงแน่นอนลงไป

เช่น มะม่วงเล็ก แสดงว่า เล็ก แน่ไม่เป็นอื่น แต่ถ้าหากใช้คำซ้ำว่า ลูกเล็กๆ แสดงว่าอาจจะไม่เล็ก

ทั้งหมด มีเล็กบ้างใหญ่บ้าง แต่ส่วนมากเห็นแต่ลูกเล็กๆ คำอื่นๆ ก็ทำนองเดียวกัน ดังนี้

ที่ซ้ำคำขยาย ได้แก่ แดงๆ เช่น เสื้อสีแดงๆ แสดงว่าไม่แดงทีเดียว แต่มีลักษณะไปทางแดง

พอจะเรียกว่า แดง ได้ หรือกลมๆ เช่น ผลไม้ลูกกลมๆ อาจจะไม่กลมดิก แต่ค่อนไปทางกลม

อย่างไข่เป็นต้นก็ได้

ที่ซ้ำคำนาม ได้แก่ ผู้ใหญ่ๆ เด็กๆ เช่น พวกเด็กๆ นั่งคนละทางกับพวกผู้ใหญ่ๆ

ซึ่งไม่แน่ว่าเป็นพวกเด็กทั้งหมด หรือผู้ใหญ่ทั้งหมดแต่ส่วนมากเป็นเด็กหรือเป็นผู้ใหญ่

หรือดูเป็นเด็กดูเป็นผู้ใหญ่

ที่ซ้ำคำสรรพนาม ได้แก่ เราๆ ท่านๆ เขาๆ เราๆ

หมายถึง คนสองฝ่ายแต่ไม่ได้ระบุแน่ว่าเป็นฝ่ายใด ฝ่ายเดียวกันหรือ

ฝ่ายตรงกันข้าม

ที่เป็นคำซ้ำซ้อนกัน 2 คู่ ลักษณะเช่นนี้ก็มี เช่น สวยๆ งามๆ

ผิดๆ ถูกๆ ความหมายเจาะจงน้อยกว่า สวยงาม ผิดถูก

          4. คำซ้ำที่ซ้ำคำนามหรือคำบอกจำนวนนับจะแยกความหมายออกเป็นส่วนๆ

มื่อมีคำ เป็น มาข้างหน้า ถ้าใช้คำเดี่ยวก็เป็นเพียงจำนวนครั้งเดียว แต่ถ้าใช้คำซ้ำ

นอกจากจะว่าจำนวนนั้นมีมากกว่าหนึ่งแล้ว ยังแยกออกไปเป็นทีละหนึ่งๆ อีกด้วย เช่น

ชั่งเป็นกิโลๆ (ชั่งทีละกิโล และมีมากกว่ากิโลหนึ่ง)

ตรวจเป็นบ้านๆ ไป (ตรวจทีละบ้าน แต่มีหลายบ้าน)

ซื้อเป็นร้อยๆ (ซื้อหลายร้อย แต่ชั่งหรือนับกันทีละร้อย)

แตกเป็นเสี่ยงๆ (แตกออกหลายชิ้น แต่ละชิ้นกระจัดกระจายกันไป)

น่าสังเกตว่า ทำเป็นวันๆ กับ ทำไปวันหนึ่งๆ มีความหมายต่าง

กันคือ ทำเป็นวันๆ หมายความว่า ทำวันหนึ่งก็ได้ค่าจ้างทีหนึ่ง ทีละ

วันๆ ไป ส่วน ทำไปวันๆ คือ ทำงานให้พ้นๆ ทีละวันๆ ไป

          5. คำซ้ำที่ซ้ำบุรพบท หรือคำขยาย ใช้ขยายกริยาบอกความเน้น เมื่อเป็นคำสั่ง

ที่ซ้ำคำบุรพบท ได้แก่ เขียนกลางๆ นั่งในๆ เย็บตรงริมๆหยิบบนๆ วางใต้ๆ

ที่ซ้ำคำขยาย ได้แก่ เขียนดีๆ พูดดังๆ เดินเร็วๆ วิ่งช้าๆ

          6. คำซ้ำที่ซ้ำจากคำซ้อน 2 คู่ ใช้เป็นคำขยายบอกความเน้น

เช่น ออดๆ แอดๆ แสดงว่าป่วยไข้เสมอยิ่งกว่า ออดแอด ง่อกๆ แง่กๆ

ดูจะไม่มั่งคงยิ่งกว่า ง่อกแง่ก

ข้อควรสังเกต

          1.คำที่มีเสียงซ้ำกันบางครั้งไม่ใช่คำซ้ำ ได้แก่ เขาพูดกันไปต่าง ๆ นานา

ฉันเห็นเขาจะจะเลย ทั้ง 2 คำนี้เป็นคำมูลสองพยางค์ จะไม่ใช้ไม้ยมก

          2. คำที่มีความหมายและหน้าที่ในประโยคต่างกันไม่ใช่คำซ้ำ เช่น

          เมย์กำลังใช้แปรงแปรงผ้าที่กำลังซัก

          แปรง คำแรกเป็นคำนาม

          แปรงคำที่สอง เป็นคำกริยา

 กลับด้านบน

คำซ้อน

คำสำคัญ (Tags): #การสร้างคำ
หมายเลขบันทึก: 446140เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2011 12:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 เมษายน 2012 21:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท