*สมรรถนะของช่างอุตสาหกรรมกับการจัดอาชีวศึกษา


สมรรถนะของช่างอุตสาหกรรมกับการจัดอาชีวศึกษา สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ

 

ผู้เขียนได้สรุปจากการฟังบรรยาย ในการเข้าร่วมสัมมนาเรื่อง ความต้องการกำลังคนของภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการกับการจัดตั้งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ในระดับพื้นที่  เพื่อร่วมวิเคราะห์ความต้องการปรับหลักสูตรฐานสมรรถนะพัฒนาทักษะสร้างคนคุณภาพรองรับตลาดแรงงานที่เติบโต  จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ร่วมกับคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบันได้แก่ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย ในช่วงของการพูดคุยในหัวข้อ    “ปัญหาและความต้องการด้านกำลังคนภาคบริการและอุปสรรคด้านการยกระดับฝีมือแรงงานไทยยกมาเฉพาะในส่วนของคุณถาวร  ชลัษเฐียร  รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ให้ข้อคิดต่าง ๆ ดังนี้

 

pimporntext2011

นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคลำปาง

  

  • เป็นช่วงที่ขาดแคลนแรงงาน จะด้วยอัตราการเกิดของประชากร หรือเป็นช่วงหมดยุค Baby Boom  (เกิดก่อน พ.ศ. 2500) รอยต่อของ Generation x , Generation y, Generation Z จำนวนประชากรลดก็มีผลต่อแรงงานได้เช่นกัน

  • แรงงานที่ขาดแคลนจะเป็นแรงงานใช้ทักษะฝีมือ และต้องการใช้จริงเฉพาะด้าน ซึ่งในภาค อุตสาหกรรมหลายแห่งได้ยอมรับความสามารถเฉพาะด้านเหล่านี้ โดยให้ผลตอบแทนสูง ไม่ได้ดูจากวุฒิการศึกษา แต่ดูจากความสามารถเชี่ยวชาญด้านนั้น ๆ  ฉะนั้น การมีสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพก็เท่ากับเป็นการรับรองความสามารถในแต่ละระดับได้

  • ต้องการให้มีสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนเฉพาะด้าน ป้อนให้กับภาคอุตสาหกรรม

  • การผลิตของสถาบันการศึกษาของอาชีวศึกษา ผลิตได้ไม่ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ

  • การลงทุนภาคอุตสาหกรรมที่มีฐานอยู่ในประเทศเพิ่มจำนวน เช่น ชิ้นส่วนของรถยนต์  ชิ้นส่วนและการประกอบเครื่องปรับอากาศภายใต้แบรนด์ไทยหรือส่งให้กับแบรนด์นอก

  • สมรรถนะหลัก (core competency) ก็เป็นอีกความสำคัญของบุคคลซึ่งทำงานในภาคอุตสาหกรรม โดยแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ระดับล่าง เป็นเรื่องความขยัน ซื่อสัตย์  อดทน  ระดับกลาง ความมุ่งมั่น ความมีวินัย และระดับสูง จะต้องเป็นคนที่มีวิสัยทัศน์  คิดนอกกรอบ (Think the outside box)  การจัดการ

  • ผู้สอนจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  การสอนตามที่ตนเองถนัด   สอนตามที่ตนเองเคยได้เรียนรู้มา สอนตามผู้บังคับบัญชาสั่ง

  • ทัศนคติการเรียนทางด้านอุตสาหกรรม จะต้องบอกและสอนให้ผู้เรียนได้รับรู้ว่า เรียนด้านนี้จะต้องเหนื่อยและจำต้องอดทน

 

 

ความคิดเห็นว่า ทำไมนักเรียนมุ่งไปเรียนสายสามัญมากกว่าอาชีวศึกษา 

  • ทัศนคติของผู้ปกครองและผู้เรียน  ต้องการเป็นเจ้าคนนายคน มากกว่าจะเริ่มต้นที่ระดับฝึกหัดก่อนแล้วค่อยเลื่อนระดับ
  • การแข่งขันในเรื่องค่าตอบแทนรายหัวของผู้เรียนในสายสามัญและสายอาชีพ อาจจะเป็นอีกปัจจัยทำให้จำนวนผู้เข้าสู่การเรียนสายอาชีพถูกสกัดหรือละเลยจากโรงเรียนที่เห็นความสำคัญในด้านอาชีพ
  • ชื่อเสียงของสถานศึกษาอาชีวศึกษา ที่ส่งผ่านทางสื่อต่าง ๆ ในภาพลบ เช่น การทะเลาะ การยกพวกตีกันระหว่างสถาบันฯ  ความรุนแรงในการรับน้อง
  • กลุ่มผู้สมัครงานยุคใหม่จะมองค่าตอบแทนของเงินเดือนเป็นหลัก สำหรับสวัสดิการหรือผลตอบแทนอื่น ๆ แทบจะนำมาประกอบการพิจารณาในการสมัครงาน   โดยบางส่วนการเปรียบเทียบเงินเดือนในกลุ่มเพื่อนก็มีอิทธิพลต่อการเลือกสาขาที่จะศึกษาต่อได้เช่นกัน

 

ข้อความทั้งหมดไม่ได้เป็นการถอดจากการบรรยาย จึงอาจมีบางส่วนขาดหายไป อย่างไรก็ตามได้พยายามเก็บประเด็นให้สมบูรณ์เท่าที่จะทำได้ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ อาจจะเป็นอีกแหล่งข้อมูลสำหรับการเตรียมพร้อมปฏิรูปการอาชีวศึกษา ในทศวรรษที่สองนี้ได้

 

*พิมพร  ศะริจันทร์ ศึกษานิเทศก์  เขียนวันที่ 24  มิถุนายน  2554
จากการร่วมสัมมนาเรื่อง ความต้องการกำลังคนของภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการกับการจัดตั้งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) วันที่ 22 มิถุนายน  2554 ณ ห้องแกรนด์นันทา โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ เชียงใหม่
ติดต่อผู้เขียน  [email protected]

 

 

หมายเลขบันทึก: 446115เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2011 09:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 14:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท