การวางแผนยุทธศาสตร์


การวางแผนยุทธศาสตร์

การวางแผน

 

1. ความหมายการวางแผน 

            การวางแผน(Planning)  มาจากคำในภาษาละตินว่า  “แพลนัม” (Planum)  หมายถึงพื้นที่ราบหรือพิมพ์เขียว  คำภาษาอังกฤษใช้  “Planning” ( สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. 2540 : 48 )  ซึ่งหมายถึงกระบวนการวิเคราะห์และการตัดสินใจ ของผู้บริหารที่จะกำหนดวิธีการไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติให้บรรลุผลตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ   โดยนำเอาข้อมูลข่าวสาร (Information)  ในอดีตมากำหนดหรือพยากรณ์อนาคต ดังนั้นแนวคิดของการวางแผนจึงมีลักษณะเป็น  “ศาสตร์” ที่ต้องใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empirical Information)  ที่มีความแม่นตรง และเชื่อถือได้ และจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบที่ชัดเจน และมีความต่อเนื่องกันตามลำดับ  ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้แผน  มีความรู้ และความเข้าใจที่จะสามารถนำแผนไปปฏิบัติ ให้บรรลุผลสำเร็จได้

 

2. ประโยชน์ของการวางแผน 

            การวางแผนทุกระดับจะมีประโยชน์ทั้งต่อผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติดังนี้

            1. ป้องกันมิให้เกิดปัญหาและความผิดพลาด  หรือลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานในอนาคต

            2. ทำให้องค์การมีกรอบหรือทิศทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจนว่าจะทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร และใครทำ ทำให้นักบริหารมีความมั่นใจในการปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จได้ง่าย

            3. ช่วยให้เกิดการประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร  เช่น  คน  เงิน  วัสดุอุปกรณ์  เวลา ฯลฯ

               4. ช่วยให้การปฏิบัติงานรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ เพราะมีแผนเป็นแนวทาง เปรียบเสมือนเรือที่มีหางเสือ

               5. ช่วยให้การปฏิบัติงานเป็นระบบ นักบริหารสามารถควบคุม ติดตามการปฏิบัติงาน   ได้ง่าย

 

 

3. องค์ประกอบของการวางแผน

            องค์ประกอบของการวางแผนที่สำคัญ คือ

               3.1   การกำหนดจุดหมายปลายทาง (Ends) ที่ต้องการบรรลุ   ซึ่งมีหลายระดับ  คือ

                 1) จุดมุ่งหมายหรือเป้าประสงค์ (Goals)  เป็นการแสดงถึงความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาข้างหน้า ซึ่งมักจะมองในรูปของผลลัพธ์ (Outcomes )  ในอนาคตกำหนดอย่างกว้างๆ

                     2) วัตถุประสงค์ (Objective)   เป็นองค์ประกอบที่เป็นผลมาจากการแปลงจุดมุ่งหมาย (Goal) ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้นเพื่อง่ายในการนำไปปฏิบัติ วัตถุประสงค์จึงเป็นการกำหนดผลผลิต (Output) ที่คาดหวังให้เกิดขึ้นอย่างกว้าง ๆ แต่ชัดเจน และสามารถปฏิบัติได้

                     3) เป้าหมาย (Targets) เป็นองค์ประกอบที่เป็นผลมาจากการแปลงวัตถุประสงค์ให้เป็นรูปธรรมในการปฏิบัติมากขึ้น เป้าหมายจึงเป็นการกำหนดผลลัพธ์สุดท้ายที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามแผนโดยจะกำหนดเป็นหน่วยนับที่วัดผลได้เชิงปริมาณ และกำหนดระยะเวลาที่จะบรรลุผลสำเร็จนั้นด้วย

               3.2 วิธีการและกระบวนการ (Means and Process)  เป็นองค์ประกอบที่เกิดจากการนำข้อมูลต่าง ๆ มาวิเคราะห์และกำหนดเป็นทางเลือก (Alternative)  สำหรับเป็นแนวทางปฏิบัติ  หรือกลวิธี (Strategy)  ให้บรรลุจุดหมายที่กำหนดไว้ จากนั้นจะถ่ายทอดออกมาเป็นแผนงาน (Programs) และโครงการ (Projects) ที่เชื่อมโยงกัน  โดยทั่วไปจะประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก  คือ

                     1) กลวิธีการปฏิบัติ หรือมาตรการ (Strategy)  เป็นการกำหนดแนวทางปฏิบัติให้บรรลุจุดหมาย (Ends)  ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

                 2) แผนงาน (Programs)  และโครงการ (Projects)  เป็นการกำหนดแนวทางการกระทำที่เป็นรูปธรรมในการปฏิบัติมากขึ้น   ซึ่งโดยทั่วไปจะมีประเด็นในการเขียนที่ชัดเจน ครอบคลุม   และเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ

            3.3 ทรัพยากร (Resources)  และค่าใช้จ่าย (Cost)  เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในการวางแผนและการนำแผนไปปฏิบัติ   ซึ่งได้แก่  คน  เงิน  วัสดุอุปกรณ์   ซึ่งผู้วางแผนจะต้องระบุให้ชัดเจนและมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ มิใช่เขียนแผนแบบวาดวิมานในอากาศ” หรือ เขียนแผนแบบเพ้อฝัน

            3.4 การนำแผนไปปฏิบัติ (Implementation)  เป็นองค์ประกอบที่แสดงถึงกรรมวิธีในการตัดสินใจเลือกแผนงานและโครงการไปปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จตามจุดหมาย (Ends) ที่กำหนดไว้  ซึ่งขั้นตอนนี้จะต้องอาศัยกลยุทธ์หลายอย่างทั้งกลยุทธ์ภายในองค์การและกลยุทธ์ภายนอกองค์การ

               3.5 การประเมินผลแผน (Evaluation)  เป็นองค์ประกอบที่แสดงถึงการตรวจสอบการควบคุมและการวัดผลการปฏิบัติตามแผนเพื่อให้ทราบถึง ความก้าวหน้าหรือข้อบกพร่องหรือข้อจำกัดของแผนนั้น ๆ  เพื่อจะได้ปรับปรุงแผนให้สามารถนำไปปฏิบัติได้บรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

 

4. ระดับของการวางแผน

               ถ้าจะแบ่งระดับของการวางแผนตามลักษณะของการบริหารงานในองค์การ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

            1. การวางแผนระดับนโยบาย (Policy Planning)  เป็นแผนระดับสูงสุดขององค์การ มักจะระบุแนวทางอย่างกว้างๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จะก่อให้เกิดแผนชนิดอื่นๆ ส่วนใหญ่จะเป็นแผนระยะยาว (Long - Range Plan) เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9

               2. การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning)  เป็นการวางแผนหลอมรวมครอบคลุมกิจกรรมทั้งหมดขององค์การ หรือแผนงานใหญ่ขององค์การ โดยจะระบุไว้ อย่างกว้าง” และ มองไกลไปพร้อมๆกัน ซึ่งมักจะเป็นแผนระยะยาว 5 - 10 ปี ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับแผนระดับนโยบาย

            3. แผนปฏิบัติการ หรือแผนดำเนินงาน (Operation Plan)  เป็นการวางแผนที่กำหนดจุดมุ่งหมายระยะสั้น  ระยะเวลา ไม่เกิน 1 ปี  ซึ่งถ่ายทอดมาจากแผนกลยุทธ์ องค์ประกอบของแผนปฏิบัติการจะประกอบด้วย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย  กิจกรรม ขั้นตอนการปฏิบัติ งบประมาณ ผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน แผนปฏิบัติการ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท  คือ  แผนใช้ประจำ (Standing Plans)  และแผนใช้เฉพาะครั้ง (Single - use Plans)

 

 

 

การวางแผนยุทธศาสตร์

(Strategic Planning)

 

1. ความหมายของการวางแผนกลยุทธ์

            การวางแผนยุทธศาสตร์  หรือ  การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) เป็นกระบวนการตัดสินใจเพื่อกำหนดทิศทางในอนาคตขององค์กร  โดยกำหนดสภาพการณ์ในอนาคตที่ต้องบรรลุและกำหนดแนวทางในการบรรลุสภาพการณ์ที่กำหนดบนพื้นฐานข้อมูลที่รอบด้านอย่างเป็นระบบ

            การกำหนดแนวทางที่จะบรรลุสภาพการณ์ในอนาคตที่ต้องการให้เกิด  จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่รอบด้าน  คือ  จะต้องคำนึงถึงสภาพการณ์ที่ต้องการให้เกิดศักยภาพหรือขีดความสามารถขององค์กร และการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม  การเมือง  และสิ่งแวดล้อม

            การกำหนดแนวทางที่จะบรรลุสภาพการณ์ในอนาคตที่ต้องการให้เกิดจะต้องเป็นระบบ  คือ  แนวทางที่กำหนดขึ้นจะต้องดำเนินไปอย่างเป็นขั้นเป็นตอน

            การวางแผนยุทธศาสตร์จะต้องตอบคำถามหลัก  3  ประการ  คือ

1. องค์กรกำลังจะก้าวไปทางไหน (Where are you going?)

            2. สภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร (What is the environment?)

            3. องค์กรจะไปถึงจุดหมายได้อย่างไร (How do you get there?)

            กระบวนการการวางแผนยุทธศาสตร์ (Strategic Planning Processes)  มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

               1) กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision)

            2) กำหนดภารกิจหรือพันธกิจ (Mission)

            3) กำหนดเป้าประสงค์หรือจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา (Goal)

            4) กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์หรือยุทธศาสตร์ (Strategy)

            5) กำหนดกลยุทธ์หรือแนวทางการพัฒนา

 

 

 

 

            นามธรรม                             วิสัยทัศน์ (Vision)                    ต้องการเป็นอะไร

                                                     พันธกิจ (Mission)                    ต้องทำอะไร

                                              จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา                  ทำเพื่ออะไร

                                                       ยุทธศาสตร์                           ทำอย่างไร

                                                 แนวทางการพัฒนา                        ทำโดยวิธีการใด

            รูปธรรม                                 เป้าหมาย        ทำแค่ไหน/เท่าใด/กับใคร/เมื่อใด

 

คำว่า ยุทธศาสตร์ (Strategy) มีความหมายรวมถึง จุดหมายปลายทาง (End) และ วิธีการสู่จุดหมายปลายทาง (Means) เชิงนโยบาย ซึ่งใช้ในการกำหนดนโยบายจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT) ตามหลักวิชาการ 

ส่วนคำว่า กลยุทธ์ (Strategies) หมายถึง วิธีการสู่จุดหมายปลายทาง (Means) ระดับปฏิบัติการและเป็นแนวทางเพื่อตอบสนองวิธีการสู่จุดหมายปลายทางระดับนโยบาย

 

2. ความแตกต่างระหว่างแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติงานระยะยาวแบบดั้งเดิม

    และแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ของหน่วยงาน

หน่วยงานที่ไม่ได้จัดทำแผนกลยุทธ์มาก่อน  มักจะมีความเข้าใจผิดว่าแผนปฏิบัติงานระยะยาวที่เคยทำมาแต่ดั้งเดิมหรือแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ตามนโยบายของรัฐบาลที่จัดทำขึ้นในปี 2548  คือ แผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน

           แผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน  มีลักษณะสำคัญ  ดังนี้

                    — แผนกลยุทธ์ให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมในเชิงโอกาส  และ

ภัยอุปสรรคที่เปลี่ยนแปลงไปกับศักยภาพที่เป็นจุดแข็งและจุดอ่อนของหน่วยงาน เพื่อการกำหนดกลยุทธ์ของหน่วยงาน หากสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป กลยุทธ์จะต้องปรับไปด้วย

            — แผนกลยุทธ์เน้นความเชื่อมโยงจากนโยบายลงมาที่ผลลัพธ์  และต่อลงมายังผลผลิตระยะยาวซึ่งเป็นตัวเชื่อมไปสู่การจัดทำแผนปฏิบัติการและการกำหนดกิจกรรม

                    — แผนกลยุทธ์ให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ในการจัดทำกลยุทธ์

           แผนปฏิบัติงานระยะยาวแบบดั้งเดิมของหน่วยงาน  มีลักษณะสำคัญ ดังนี้

                    — แผนปฏิบัติงานระยะยาวให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์ของสภาพปัญหากับสาเหตุของ ปัญหา เพื่อกำหนดโครงการและกิจกรรมของหน่วยงาน เพื่อแก้ไขปัญหา

               — แผนปฏิบัติงานระยะยาวเน้นความเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมกับงบประมาณ

               — แผนปฏิบัติงานระยะยาวให้ความสำคัญกับการกำหนดกิจกรรมโดยผู้ปฏิบัติงาน

แผนปฏิบัติราชการ 4 ปีของหน่วยงาน มีลักษณะสำคัญ ดังนี้

                    — แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี  ให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์ของกลยุทธ์หลักของแผนบริหารราชการแผ่นดินกับผลผลิตของหน่วยงานที่ของบประมาณแผ่นดินแต่ไม่แสดงความเชื่อมโยงจากยุทธศาสตร์ของรัฐบาลผ่านผลลัพธ์ลงมายังผลผลิตระยะยาว

            — แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี  ให้แสดงสภาพแวดล้อมในเชิงโอกาสและภัยอุปสรรค  และ ศักยภาพที่เป็นจุดแข็งและจุดอ่อนแบบแยกส่วน  แต่ไม่ได้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างกัน  และไม่ได้แสดงว่าแผนการจัดทำผลผลิตจะสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ อย่างใด

               — แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี  ให้ความสำคัญกับการกำหนดผลผลิตโดยผู้บริหารของหน่วยงาน

 

3. องค์ประกอบหลักในการวางแผนกลยุทธ์

            องค์ประกอบหลักที่ควรกำหนดอยู่ในแผนกลยุทธ์  มีดังนี้

            1.  พันธกิจ (Mission)  เป็นสิ่งที่สื่อถึงภารกิจหลักขององค์การ  ซึ่งจะสะท้อนถึงปรัชญาที่จะกำหนดการดำรงอยู่ขององค์การ  เช่น  พันธกิจของคณะมนุษยศาสตร์ ฯ  สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์ คือ “.....ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ  คุณธรรม  สนองความต้องการของตลาดแรงงานและท้องถิ่น…” ถ้อยแถลงดังกล่าวถือว่าเป็นภารกิจหลักขององค์การนั่นเอง

            2. จุดมุ่งหมาย (Goal)  คือ  ผลลัพธ์ปลายทาง (Outcomes) ที่องค์การต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคต โดยไม่ต้องระบุช่วงเวลาที่แน่นอนลงไป เช่น จุดมุ่งหมาย ของคณะมนุษยศาสตร์ฯสถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์ คือ ...ผลิตบัณฑิตให้นำความรู้ไปพัฒนาท้องถิ่น...

            3. วัตถุประสงค์ (Objective)  เป็นผลผลิต (Output)  ที่ต้องการให้เกิดขึ้น เมื่อได้กระทำสิ่งต่างๆ  ตามที่ได้กำหนดพันธกิจไว้ วัตถุประสงค์จึงต้องกำหนดให้ ชัดเจน วัดได้  และปฏิบัติได้ เป็นรูปธรรมกว่าจุดมุ่งหมาย (Goal)  และต้องเกิดขึ้นก่อนผลลัพธ์  เช่น วัตถุประสงค์ของคณะมนุษยศาสตร์ฯ ..เพื่อผลิตบัณฑิตปริญญาตรีสาขามนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์หลากหลายสาขา..”

            4. นโยบาย (Policy)  คือ  ข้อความหรือสิ่งที่องค์การระบุไว้ว่าจะปฏิบัติหรือกระทำ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์  และจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ดังนั้นการกำหนดนโยบายจึงเป็นการกำหนดกรอบ  กำหนดเกณฑ์ในการจะปฏิบัติให้กระชับและมีประสิทธิภาพ

            5. กลวิธี/มาตรการ (Strategy)  แนวทางปฏิบัติย่อยที่องค์การยึดเป็นกรอบสำหรับคัดเลือก แผนงาน / งาน / โครงการ ต่างๆ ที่จะดำเนินให้บรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งกลวิธีต่างๆ จะต้องสอดคล้องกับนโยบายข้อนั้นๆ

            6. แผนงาน (Program) เป็นการจัดรวมกลุ่มของ งาน หรือ โครงการ หรืออาจกล่าวว่า แผนงาน  คือ  งาน  หรือโครงการย่อยๆ  หลายโครงการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกัน  ซึ่งงานหรือโครงการจะประกอบด้วยกิจกรรม (Activities) ต่างๆ ที่ดำเนินการภายใต้กรอบของงาน หรือโครงการหนึ่งๆ  ซึ่งจะมีเงื่อนไขระยะเวลาเริ่มต้น  และสิ้นสุดในการทำกิจกรรมต่างๆ

 

4. กระบวนการวางแผนกลยุทธ์

               การวางแผนกลยุทธ์นอกจากจะกำหนดสาระของแผนกลยุทธ์ อันได้แก่ พันธกิจ จุดหมายวัตถุประสงค์ นโยบาย และกลวิธีหรือมาตรการ อันเป็น . ยุทธศาสตร์ . แล้ว การวางแผนกลยุทธ์

จะต้องมีองค์ประกอบและกระบวนการที่สำคัญดังนี้

           3.1 การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders Analysis)

                การวิเคราะห์เรื่องผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders  Analysis)  ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรมีส่วนช่วยในการกำหนดวิสัยทัศน์   พันธกิจ   และเป้าประสงค์หลักของหน่วยงานได้ถูกต้อง เนื่องจากหน่วยงานไม่เพียงแต่มีความผูกพันธ์กับกระทรวงเจ้าสังกัดและผู้รับบริการเท่านั้น แต่ยังมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ อีกด้วย

                ผู้มีส่วนได้เสียต่อองค์กร (Stakeholder   Influence)  ซึ่งมีอิทธิพลต่อการวางแผนและ

การดำเนินงานของหน่วยงาน จำแนกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

                     (1) ผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กร (Internal Stakeholders) ได้แก่ ผู้บริหารทุกระดับและ เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงาน

                     (2) ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในการรับบริการ (Marketplace Stakeholders)  เช่น ผู้รับบริการ พันธมิตร ผู้รับจ้าง และขายครุภัณฑ์และวัสดุในการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบพัสดุ เป็นต้น

                     (3) ผู้มีส่วนได้เสียในสังคมแต่อยู่นอกองค์กร (External Stakeholders)  เช่น คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค  คณะกรรมการอาหารและยา  สถาบันการเงิน  สภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม  องค์กรพัฒนาเอกชน  และสื่อมวลชน  รวมทั้งกลุ่มการเมืองที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ  ตลอดจนศาลยุติธรรม  และศาลปกครอง  เป็นต้น  ซึ่งทำหน้าที่ในการกำกับดูแล  และป้องกันและแก้ไขข้อขัดแย้ง/ข้อร้องเรียนระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย

                ในการจัดทำแผนกลยุทธ์ ฝ่ายที่รับผิดชอบด้านนโยบายและกลยุทธ์ของหน่วยงานควรให้ความสำคัญกับขั้นตอน ดังตัวอย่างต่อไปนี้

                ตัวอย่างขั้นตอนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียต่อองค์กรในการจัดทำแผนกลยุทธ์

 

ขั้นตอน

กิจกรรม

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

1

เตรียมงานโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบดานนโยบายและกลยุทธ์ของหน่วยงาน

ฝ่ายนโยบายและกลยุทธ์

 

1.1 ร่างรายชื่อคณะทำงานร่วมระหว่างผู้บริหารและตัวแทนของผู้ปฏิบัติงาน (Internal Stakeholders) เพื่อเสนอขอความเห็นชอบจากผู้บริหาร

 

 

1.2 ร่างรายชื่อผู้มีส่วนได้เสียจากภายนอก ประกอบด้วย ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในการรับบริการ (Marketplace Stakeholders) และผู้มีส่วนได้เสียในสังคมแต่อยู่นอกองค์กร (External Stakeholders) เพื่อเสนอขอความเห็นชอบจากผู้บริหาร

 

 

1.3 รวบรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน  โดยเฉพาะมาตราที่เกี่ยวข้องจากรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง

 

 

1.4 รวบรวมกฎหมายระหว่างประเทศ     กฎบัตรสหประชาชาติ    สนธิสัญญา อนุสัญญา และข้อตกลงระหว่างประเทศ  รวมทั้งมาตรฐานสากลด้านการค้าระหว่างประเทศที่ เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน

 

 

1.5 รวบรวมนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะคำแถลงนโยบาย แผนบริหารราชการแผ่นดินและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน

 

 

1.6 รวบรวมรายงานผลงานที่หน่วยงานต้องรับผิดชอบ   ต้องรายงานสำนักงานเลขาธิการ คณะรัฐมนตรีเพื่อจัดทำผลงานของรัฐบาลตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ

 

 

1.7 รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากรายงานสถิติที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์   สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกของหน่วยงาน

 

 

ขั้นตอน

กิจกรรม

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

 

1.8 รวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกของหน่วยงาน

 

2

ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis)

 

 

2.1 วิเคราะห์สภาพแวดล้อมโดยผู้บริหาร

ผู้บริหารทุกระดับ

 

2.2 วิเคราะห์สภาพแวดล้อมโดยตัวแทนของผู้ปฏิบัติงาน

    

เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงาน

 

2.3 วิเคราะห์สภาพแวดล้อมร่วมกันระหว่างผู้บริหารและตัวแทนของผู้ปฏิบัติงาน        

ผู้บริหารทุกระดับ

และเจ้าหน้าที่

ระดับปฏิบัติงาน

3

ประชุมคณะทำงานเพื่อจัดทำร่างทิศทางและกลยุทธ์ของหน่วยงาน

คณะทำงานฯ

 

3.1  ประเมินสถานภาพจากผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม

 

 

3.2  จัดทำร่างวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์หลักของหน่วยงาน

 

 

3.3  จดทำรางกลยุทธ์ระดับยุทธศาสตร์และกลยุทธ์

 

4

ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ข้อคิดเห็นในการจัดวางทิศทางและการกำหนดกลยุทธ์ของผู้มีส่วนได้เสีย 3 หน่วยงาน โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในหน่วยงาน (Internal Stakeholders) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงในการรับบริการ (Marketplace Stakeholders) และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสังคมแต่อยู่นอกองค์กร (External Stakeholders)

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย       3 ประเภท

 

4.1  ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและการประเมินสถานภาพของหน่วยงาน

 

 

4.2  ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับร่างวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์หลัก

 

 

4.3  ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับร่างยุทธศาสตร์และกลยุทธ์

 

5

ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการจัดวางทิศทางและกลยุทธ์ของหน่วยงาน

คณะทำงานฯ

 

5.1  จัดทำสรุปผลการประเมินสถานภาพจากการวิเคราะห์สภาพแวดลอม

 

 

5.2  จัดทำสรุปผลการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์หลักของหน่วยงาน

 

 

5.3  จัดทำสรุปผลการกำหนดยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และผลผลิต

 

 

5.4  กำหนดตัวชี้วัดระยะยาวระดับยุทธศาสตร์ และระดับกลยุทธ์  (และตัวชี้วัดรายปี  - ถ้ามี) รวมทั้งตัวชี้วัดระดับผลผลิตรายปีที่แสดงประสิทธิภาพของผลผลิต 4 มิติ (เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ เชิงเวลา และเชิงต้นทุน)

 

 

ขั้นตอน

กิจกรรม

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

6

เผยแพร่แผนกลยุทธ์ต่อสาธารณะ

ฝ่ายนโยบายและกลยุทธ์

 

6.1 จัดพิมพ์แผนกลยุทธ์แจกจ่ายผู้มีส่วนได้เสียทั้ง 3 ประเภท

 

 

6.2 จัดทำ Website เผยแพร่แผนกลยุทธ์ พร้อม E-mail เพื่อให้ประชาชนและผู้สนใจสามารถให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมกลับมายังหน่วยงานได้

 

 

            3.2 การวิเคราะห์สถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกองค์การ

                   1) การวิเคราะห์สถานการณ์ภายในองค์การ   โดยปกติจะใช้หลัก “SWOT”  ในการวิเคราะห์   ซึ่งจะเป็นการประเมินจุดเด่นหรือจุดแข็ง (Strengths)  หรือศักยภาพของการดำเนินงานขององค์การที่ผ่านมาทั้งในอดีตและปัจจุบันว่าประสบความสำเร็จเพียงใด เช่น ตรวจสอบศักยภาพด้านทรัพยากรในการบริหาร  อาทิ  คน  เงิน  วัสดุอุปกรณ์  สื่อการสอน  เทคโนโลยีสมัยใหม่  วิธีการจัดการหลักสูตร   วิเคราะห์จุดอ่อน (Weakness)  ขององค์การว่ามีปัญหาอะไรบ้าง  ตลอดจนวิเคราะห์โอกาส (Opportunity)  ที่จะสนับสนุนให้มีการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาองค์การให้เติบโต หรือมีความเป็นเลิศ และวิเคราะห์ว่ามีอุปสรรค/ข้อจำกัดหรือภาวะคุกคาม (Threat)  อะไรบ้างที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเราดำเนินโครงการแล้ว  ทั้งนี้เพื่อจะได้ใช้ตรวจสอบสภาวะความเสี่ยง (Risks)  และใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจเลือกทางเลือกในการวางแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ตลอดจนทำให้องค์การมีความเข้มแข็งในการปฏิบัติงานให้สำเร็จลุล่วงตามจุดหมายที่กำหนดไว้ในที่สุด

                        การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน ควรครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้

                              — ความเหมาะสมของโครงสร้างองค์การและความชัดเจนของนโยบายที่หน่วยงานกำหนด

                        — ประสิทธิผลในระดับผลลัพธ์ (ผลประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมาย) ในช่วงเวลาที่ผ่านมา     และประสิทธิภาพในระดับผลผลิต (เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพตามมาตรฐานเชิงเวลา และเชิงต้นทุน) ในช่วงเวลาที่ผ่านมา รวมทั้งความคุ้มค่า (B/C Ratio หรือ Cost Effectiveness) ของภารกิจในช่วงเวลาที่ผ่านมา

                              — การบริหารบุคคลและการพัฒนาบุคลากร (อัตรากำลัง คุณภาพบุคลากร การคัดเลือกบุคลากร   การให้รางวัลและการลงโทษ   ขวัญและกำลังใจ   การฝึกอบรมระหว่างการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่  การฝึกอบรมผู้บริหารระดับต่างๆ การถ่ายทอดภูมิความรู้ก่อนเกษียณอายุ เป็นต้น)

                        — ประสิทธิภาพทางการเงินและการระดมทุน

                        — การบริหารพัสดุ (การจัดซื้อจัดจ้าง ความพร้อมใช้ของครุภัณฑ์ การใช้ครุภัณฑ์ได้อย่างสมประโยชน์ การบำรุงรักษาครุภัณฑ์และอาคารสถานที่       การจัดหาวัสดุสิ้นเปลือง เป็นต้น)

                              — การบริหารจัดการ (การวางแผนปฏิบัติการ การวิจัยและพัฒนา การติดตามผลการปฏิบัติงาน  การประเมินผล  การจัดทำฐานข้อมูลและระบบสารส

คำสำคัญ (Tags): #บริหาร 5
หมายเลขบันทึก: 445410เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2011 20:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 14:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท