ผลประเมิน NT ภาคใต้ยังอยู่ใต้เหมือนเดิม


การศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้

           ผลของการประเมิน NT ขณะนี้ได้ถูกนำมาวิเคราะห์ โดยเฉพาะวิชาภาษาไทย คณิต วิทย์ ชั้น ป.3 สูงขึ้นกว่าปี 2552 โดยเฉพาะภาษาไทยคะแนนสูงเกินมาตรฐาน ขณะที่ด้านการอ่าน-เขียน-คิด ทั้ง ป.3 และ ป.6 ภาพรวมสูงขึ้น แจงคะแนนร.ร.ขนาดเล็กและขนาดใหญ่พิเศษ สูงกว่าร.ร.ขนาดกลางและขนาดใหญ่ เพราะมีการดูแลทั่วถึงและความพร้อมของ ทรัพยากร และปีนี้เขตพื้นที่ฯ ภาคอีสาน ร้อยเอ็ด อุดร มหาสารคาม ติดอันดับกลุ่มทำคะแนนดี ส่วนจังหวัดชายแดนจังหวัดภาคใต้คะแนนต่ำอยู่ใต้เหมือนเดิม

             ซึ่งท่านชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ระบุว่าภายหลังประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) วที่ประชุมได้วิเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้น ฐานแห่งชาติ (National Test : NT) ปีการศึกษา 2553 ที่จัด ประเมินในระดับประถมศึกษาปีที่ 3 และปี 6 โดยระดับป.3 สพฐ.ทำการประเมินผล สัมฤทธิ์ใน 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และประเมินผลภาคปฏิบัติการอ่าน การเขียน และคิดคำนวณ ส่วนระดับป.6 นั้น ประเมินผลคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และประเมินภาคปฏิบัติการอ่านคล่อง การ เขียนคล่อง และคิดโจทย์แก้ปัญหา ทั้งนี้ภาพรวมพบว่าผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนทั้ง 2 ระดับมีแนวโน้มสูงขึ้นกว่าปี 2552

             สำหรับผลการประเมิน ปีการศึกษา 2553 ระดับป.3 วิชาภาษาไทย คะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 50.95 ซึ่งสูงกว่าปีการศึกษา 2552 คะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 45.61 วิชาคณิตศาสตร์ คะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 52.74 สูงกว่าปีการศึกษา 2552 คะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 47.73 และวิชาวิทยาศาสตร์ คะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 49.22 สูงกว่าปีการศึกษา 2552 คะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 38.96 ส่วนการประเมินการอ่าน การเขียน และการคิด นวณ พบว่า ผลการประเมินการอ่าน คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 84.35 ซึ่งสูงกว่าปีการ ศึกษา 2552 ที่คะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 84.23 เล็กน้อย ด้านการเขียน คะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 62.06 สูงกว่าปีการศึกษา 2552 คะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 57.94 และด้านการ คิดคำนวณ คะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 61.61 สูงกว่าปีการศึกษา 2552 คะแนนเฉลี่ย ร้อย ละ 53.36

             ส่วนในระดับป.6 การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านวินัย คะแนนสูงสุดร้อยละ 89.00 รองลงมาคือด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ร้อยละ 85.55 ด้านซื่อสัตย์สุจริต ร้อยละ 83.54 รักความเป็นไทย ร้อยละ 80.33 ใฝ่รู้ ร้อยละ 76.95 มีจิตสาธารณะ ร้อยละ 76.38 มุ่งมั่นในการทำงาน ร้อยละ 75.04 และอยู่อย่างพอเพียง ร้อยละ 68.72 ส่วนการประเมินการอ่านคล่อง คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 81.14 สูงกว่าปี การศึกษา 2552 ร้อยละ 76.48 ด้านการเขียนคล่อง คะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 66.74 สูง กว่าปี 2552 ร้อยละ 61.77 และการประเมินด้านการแก้โจทย์ปัญหา คะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 53.27 สูงกว่าปีการศึกษา 2552 ร้อยละ 21.56 

            นอกจากนี้ สพฐ.ยังทำการวิเคราะห์ผลประเมินโดยจำแนกตามขนาดของ โรงเรียน ดังนี้ โรงเรียนขนาดเล็ก นักเรียนต่ำกว่า 150 คนลง ขนาดกลาง 151-500 ขนาดใหญ่ 501-1500 และขนาดใหญ่พิเศษ 1,501 คนขึ้นไป พบว่า ทั้ง 3 กลุ่มสาระ วิชานั้น โรงเรียนขนาดเล็กและขนาดใหญ่พิเศษมีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ามาตรฐานที่ สพฐ.กำหนด ขณะที่ โรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่า มาตรฐาน ทั้งนี้ เมื่อจำแนกเป็นรายเขตพื้นที่การศึกษา พบว่าปีนี้หลายเขตพื้นที่ฯ มี กลยุทธ์ขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาชัดเจน และยังพบว่าปีนี้เขตพื้นที่ทางภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือมีการพัฒนาจนติดอันดับต้น ๆ ของเขตพื้นที่ซึ่งทำคะแนนได้ดีในทั้ง 3 กลุ่มสาระวิชา เช่น ร้อยเอ็ด เขต 2 อุดรธานี เขต 4 มหาสารคาม เขต 1,2 เป็นต้น ส่วนเขตพื้นที่ฯ ที่ประสบปัญหาคะแนนยังต่ำส่วนมากอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาค ใต้ และอยู่ตามแนวชายแดน

                      “สาเหตุที่ทำให้โรงเรียนขนาดเล็กและขนาดใหญ่ พิเศษทำคะแนนดีขึ้นมากคาดว่ามีปัจจัยที่ส่งเสริมและสนับสนุน เช่น โรงเรียนขนาด เล็กเมื่อมีจำนวนเด็กน้อยครูจึงสามารถดูแลเด็กได้ทั่วถึง ขณะที่โรงเรียนขนาดใหญ่ พิเศษก็มีศักยภาพและทรัพยากรเอื้อต่อการพัฒนาประกอบกับในปี 2553 ได้รับงบ ประมาณโครงการไทยเข้มแข็ง ระยะที่ 2 หรือ SP2 จัดสรรเพิ่มเติมด้วย อย่างไร ก็ตาม จะเห็นว่าภาพรวมการพัฒนาคะแนนกระเตื้องขึ้นมาก ตามที่สพฐ.ตั้งเป้าว่าจะ ต้องให้เด็กอ่านออกเขียนได้ ซึ่งจากนี้ สพฐ.จะทำการคัดเลือกเขตพื้นที่ฯ 10 อันดับที่ พัฒนาได้ดีเพื่อเป็นแบบอย่างการพัฒนาต่อไป” และท่านชินภัทร ระบุว่า นอกจากนั้นที่ประชุมยังหารือเรื่องการนำคะแนน การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ตไปใช้ ในการคัดเลือกนัก เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ ม.4 เบื้องต้นคาดว่าจะใช้กับโรงเรียนที่มีการแข่งขัน สูงก่อน และจะเริ่มใช้ในสัดส่วนที่น้อยประมาณ 10% แต่สัดส่วนดังกล่าวยังไม่ใช่ข้อ สรุปโดย สพฐ.จะหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในเดือนกรกฎาคมและคาดว่าจะ เสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) พิจารณาได้ในเดือนส.ค.นี้

            สำหรับจังหวัดยะลา โดยเฉพาะสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1  มีระดับคะแนนที่สูงกว่าระดับประเทศในวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ การงานและเทคโนโลยี และไม่ต่ำมากกว่ามาตรฐานระดับชาติ ถือว่าสามารถก้าวกระโดดกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งสามารถดูได้ดังนี้) อยากจะให้มีการนำไปวิเคราะห์รายโรง รายชั้นและรายบุคคล จึงจะสามารถแก้ไขและพัฒนาไปในทิศทางที่ถูกต้อง

 

ที่มาบางส่วนจาก ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 มิถุนายน 2554

คำสำคัญ (Tags): #nt
หมายเลขบันทึก: 445400เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2011 20:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท