นวัตกรรมโรคปวดข้อกระดูก กล้ามเนื้อ


นวัตกรรม โรคปวดข้อกระดูก กล้ามเนื้อ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินซ้อน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

Email [email protected]    036 – 722313

(นายอานนท์ ภาคมาลี นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ)

ปัญหา/สาเหตุ

       โรคปวดข้อกระดูก กล้ามเนื้อ  ที่เกิดจากภาวะกรดยูริคในเลือดมีปริมาณที่สูงเกินกว่าในรูปของสารละลายในเลือดได้ จึงเกิดอาการตกผลึกสะสมอยู่ในข้อหรือเนื้อเยื่อรอบๆข้อ โดยเฉพาะในส่วนที่สัมผัสอากาศเย็น บริเวณอื่น เช่น ตามข้อ ทำให้ข้ออักเสบ หรือตามศอก นิ้ว ติ่งหู ตาตุ่ม หลังเท้า ทำให้เกิดเป็นปุ้มก้อนขึ้น

         อาการของโรคปวดข้อกระดูก กล้ามเนื้อ ที่สำคัญคือ ข้ออักเสบมักเกิดขึ้นที่บริเวณนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า เป็นต้น โดยข้อที่อักเสบ จะบวมแดง ร้อน และปวดมากชัดเจน (ถ้าข้อที่ปวดไม่บวมแดง ร้อน หรืออาการไม่ชัดเจน ให้คิดไว้ก่อนว่าไม่ใช่โรคปวดข้อกระดูก กล้ามเนื้อ) โดยมากมักเป็นข้อเดียวและมีอาการอักเสบอยู่ประมาณ 5 – 7 วัน อาการจะค่อยๆทุเลาไปเองจนหายสนิท ระหว่างที่ไม่มีอาการ จะไม่มีความผิดปกติใดๆให้เห็น แล้วเมื่อข้ออักเสบขึ้นใหม่ จะมีอาการเช่นเดิมอีก อาการจะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งอาการข้ออักเสบจะเป็นมากขึ้น หลายข้อมากขึ้นเป็นนานและรุนแรงขึ้น รวมทั้งเกิดปุ่มก้อนของยูริค สะสมมากขึ้น ผู้ป่วยระยะนี้มักมีไตวายร่วมด้วยถ้าเป็นโรคปวดข้อกระดูก กล้ามเนื้อนานๆจะทำให้ข้อบิดเบี้ยวได้

 

สาเหตุของโรคปวดข้อกระดูก กล้ามเนื้อ

  1. เกิดจากประสิทธิภาพของไต ในการขับกรดยูริคออกจากร่างกายไม่ดี ร่างกายจึงมีการสะสมของกรดยูริค เป็นเวลานาน โดยเฉลี่ยมากกว่า 20 ปีขึ้นไป
  2. เกิดจากอ้วน อายุมากขึ้น ทำให้ร่างกายต้องรับน้ำหนักมากและนานจะพบคนในอายุ 40 ปีขึ้นไป การรักษา ลดน้ำหนัก แช่น้ำเย็นสลับน้ำอุ่นเพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต อีกสาเหตุหนึ่งเกิดจาก ความผิดปกติของฮอร์โมน และภูมิต้านทาน เช่นโรคกระดูกพรุน ข้ออักเสบจากการติดเชื้อ เกาต์ รูมาตอยด์
  3. อาการปวดคอ ที่พบบ่อย เวลาก้ม เงย ตะแคงหรือเอี้ยว จะปวดเพิ่มขึ้น ปวดประสาท อาการคอแข็ง เจ็บเป็นพักๆ ครั้งละ 2 – 3 นาที เนื้อเยื่อพังผืดอักเสบ คอแข็งเวลาเอี้ยวศรีษะ มักจะหายใน 1 – 2 วัน (บางคนเรียกคอตกหมอน)กระดูกต้นคอเสื่อม หมอนรองกระดูกจะบางลง หรือมีกระดูกงอกออกมา มักปวดตอนเช้า ร้าวตั้งแต่ต้นคอไปบริเวณไหล่ หรือสะบัก แต่พอสายๆจะทุเลาลง หมอนรองกระดูก อาการจะปวดอาการจะปวดเหมือนไฟซ็อตจากต้นแขน ไปยังปลายแขนร่วมกับอาการชา ต่อไปจะอ่อนแรงถึงอัมพาต(โรคนี้การรักษาผ่าตัด ไม่ควรนวดเพราะอาจไปกดทับเส้นประสาท ทำให้พิการได้) ยังมีอาการท่อไขสันหลังตีบ และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

   4. อาการชาตามมือตามเท้า แขนขาอ่อนแรง

-เกิดจากโรคเบาหวาน กล้ามเนื้อจะไม่มีแรง ชาปลายมือ ปลายเท้า เจ็บปวด

-เกิดจากไทรอยด์บกพร่อง มักมีอาการกล้ามเนื้อกระตุก หดเกร็ง ปวดกล้ามเนื้อ เป็นเหน็บ ชาที่มือ

-เกิดจากไทรอยด์เป็นพิษ กระดูกจะพรุน หักง่าย กระดูกโก่ง ปวดและกล้ามเนื้ออ่อนแรง

-เกิดจากไขมัน และ คลอเรสเตอรอลสูง มักมีอาการตามัว มือเท้าชา กำมือ หรือเหยียดนิ้วไม่ออก เหงื่อไหล เย็นชืด ซึ่งเป็นลักษณะอาการทั่วไปของอัมพฤกษ์ระยะเริ่มต้น(ควรไปพบแพทย์เพื่อควบคุมไขมัน และรับประทานยา เพื่อฟื้นฟูสุขภาพ 1 – 2 สัปดาห์ อาการจะดีขึ้น)

-เกิดจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท จะมีอาการปวดเอวลงมาถึงปลายเท้าข้างเดียว และมีอาการชา ถ้าเป็นมากจะเสียวสันหลังเวลา ไอ จาม จะเจ็บร้าวไปทั้งตัว(การรักษา จะให้ยาคลายกล้ามเนื้อ และลดปวด ขยายหลอดเลือด ห้ามนวดเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดการอักเสบและกดทับมากขึ้น

5.อัมพฤกษ์ และ อัมพาต เป็นโรคที่ป้องกันได้ และสามารถรักษาในระยะเริ่มต้นได้ ถ้าคุณมีความเสี่ยงด้วยเหตุผลต่อไปนี้

-สูบบุหรี่ทุกวันๆลหลายมวน

-ไขมันในเส้นเลือดสูงมาก เส้นเลือดอุดตัน

-รับประทานยาลดความดันทุกวัน รับประทานยาลดไขมันตลอด คุณกำลังเสี่ยงเส้นเลือดเปราะ แตกง่าย

-ความดันสูงต่อเนื่องนานๆ    

สาเหตุ อื่นๆ โรคปวดข้อกระดูก กล้ามเนื้อ

  1. จากการประกอบอาชีพ การทำไร่ ทำนา ทำสวน เกษตรกรรม และการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ต้องยืน ต้องเดิน ก้มๆ เงยๆ ทั้งวันหรือเป็นเวลานานๆ หรืออยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิที่เย็นจัด หรือร้อนจัด หรือที่ที่มีออกซิเจนน้อยหรืออากาศไม่บริสุทธิ์ การเร่งรีบหารายได้หรือการเข้าทำงานเป็นกะ(เช้า บ่าย ดึก)มีเวลาพักผ่อนน้อยไม่มีเวลาออกกำลังกาย ทำให้เกิดความเครียด ความอ่อนล้าของสภาพร่างกายและจิตใจ เพราะบางท่านทำงานมาคนละหลายๆปีติดต่อกันและตำแหน่งหน้าที่ในการทำงานที่แตกต่างกันไปบางคนทำงานหนักเบาไม่เหมือนกัน รวมทั้งสวัสดิการรายจ่าย –รายรับ ตามความรู้ความสามารถ
  2. การรับประทานอาหารแบบมีคุณต่ำ ไม่มีคุณภาพและการเร่งรีบหารายได้ไม่คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ และผลเสียจากการรับประทานอาหารที่ตามมา ขอให้อิ่มไปมื้อๆหนึ่งเพื่อให้มีแรงทำงาน
  3. งดการรับประทานอาหาร จำพวกของดองทุกชนิด เช่นผักกาดดอง หน่อไม้ดอง หอม กระเทียมดอง ผักเสี้ยนดอง ผลไม้ดองทุกชนิด เพราะของดองมีกรดยูริค
  4. งดของขมทุกชนิด เช่น สะเดา ฝักเพกา(ลิ้นฟ้า) ขี้เหล็ก และกระถิน ชะอม ผักกระเฉด
  5. งดของที่มีส่วนผสมของเชื้อรา เช่นเบียร์ ข้าวหมาก เหล้าน้ำขาว(สาโท)ขนมปังทุกชนิด
  6. งดเครื่องในสัตว์ทุกชนิด หมู เนื้อ เป็ด ไก่ นกทุกชนิดโดยเฉพาะนกเขา(ควรรับประทานอาหารประเภทปลาน้ำจืด)
  7. งดดื่มน้ำมะพร้าวอ่อน เพราะน้ำมะพร้าวอ่อนมีกรดยูริคสูง

(ข้อ 3 – ข้อ7 ผู้เขียนได้ทดลองมาหมดทุกอย่าง เป็นทุกข้อที่เขียน โดยเฉพาะน้ำมะพร้าวอ่อน ผู้เขียน ได้แนะนำการปฏิบัติตัวของประชาชนที่มาปรึกษา ทุกคนบอกว่าลดการเจ็บปวดข้อเท้ากระดูกกล้ามเนื้อได้ผลดี หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับหลายๆท่านไม่มากก็น้อย)

ข้อคิดเห็น

  1. บางคนทำงานยืนทั้งวัน วันละไม่ต่ำกว่า 8 ชั่วโมง ยังไม่รวมการทำงานล่วงเวลา ไม่พักข้อเท้าหรือร่างกาย ทำให้น้ำหนักลงไปรวมที่ข้อเท้า ทำให้ข้อเท้าอักเสบ ประกอบกับใส่รองเท้าหุ้มสนนานๆ ทำให้กล้ามเนื้อด้าน เนื้อบางส่วนสึก
  2. อย่างน้อยใน 1 ชั่วการทำงานน่าจะได้พักผ่อน หรือผ่อนคลายข้อเท้าโดยการนั่งพัก ประมาณ 10 นาที/ชั่วโมง ไม่รวมพักกลางวัน
  3. บางคนที่พักอยู่ไกลสถานที่ทำงานต้องมาก่อนเวลาหลายๆชั่วโมง ต้องมานอนพักและกินอาหารบนรถรับส่ง ทำให้สภาพร่างกายไม่ได้สัดส่วน เสียรูปทรง
  4. บางคนถูกเลิกจ้างงานเพราะมีอาการเจ็บป่วยปวดข้อกระดูก กล้ามเนื้อไม่มีแรง อ่อนเพลีย ความดันโลหิตสูง นอนไม่หลับ โรคเบาหวาน

 

   

 

หมายเลขบันทึก: 444622เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2011 17:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท