ชาวนาวันหยุด ตอนที่ 5.3 เส้นทางที่เลือกวิ่ง มีผลต่อการเรียนรู้


เป็นประสบการณ์ ที่มากกว่าการขับรถ เส้นทางหลัก VS เส้นทางรอง

ผมใช้ชีวิต กับการเดินทางโดยรถยนต์ในต่างจังหวัด เป็นส่วนใหญ่ของชีวิต

จากที่ขับรถไม่ได้ ขับรถไม่เป็น

ขับรถโดยไม่มีเเผนที่ ไม่มี GPS ถามว่าทำไม ???

ชีวิตผมไม่ได้รีบมากครับ

 

จุดหมายต้องไปให้ถึง แต่ก็ต้องเก็บรายละเอียดระหว่างทางขึ้นรถไปด้วย และเเวะเติมรอยยิ้มระหว่างทาง

 

"เเผนที่ของผมอยู่ที่ปาก"

การแวะถาม "ชาวบ้าน" ร้านค้าในหมู่บ้าน ดูจะเป็นเสน่ห์ของ "นักเดินทาง คนเเปลกหน้า ในครั้งแรก" 

ถามคนขี่จักรยาน รถอีแตก สวนทางมา ก็สนุกไปอีกแบบ 

ถามผู้หญิง ที่เป็นแม่บ้าน ดูจะกระตือรือร้น ช่วยสร้างสีสันให้ชีวิต

 

 

"พ่อมึง เค้าจะไป... มาบอกทาง เค้าหน่อยเร็ว .."

เห็นน้ำใจ เลย แม่บ้านไม่รู้ทาง แต่ยังช่วยเรียก พ่อบ้านมาตอบให้ ...

บางคนออกท่าทาง อย่างมีชีวิตชีวา ออกท่าทางอย่างมืออาชีพ

 

"พี่ขับตรง ไป เลี้ยวซ้ายหน้านะ ผ่านศาลากลางบ้าน เลี้ยวขวาแรก ตรงไปอีกหน่อย ข้ามคลองน้ำไป ผ่านบ้านหลังคาสีเเดง รั้วสังกะสี หลังนั้นยังไม่ใช่ ต้องตรงไปอีก เจอคนแถวนั้น ถามเค้าอีกที ว่าบ้านตา...นั่นไปทางไหน... ต่อ "

การเดินทางเเบบนี้ ทำให้ผมรู้จักคนเกือบหมดหมู่บ้าน ...มีการบอกใบ้ให้ไปถามต่อข้างหน้าด้วย ....

รู้อย่างหยาบๆ ว่าความสัมพันธ์ภายในหมู่บ้านเป็นอย่างไร

 

 

"ผมไม่ชอบวิ่งเส้นทางหลัก ทางสี่เลน แม้ว่ามันจะทำความเร็วได้มาก "

ผมไม่ค่อยชอบ พวกรถมีไซเรน มีตราโล่ ชอบดักโบกรถตาม u-turn กับเส้นทาง ที่เลนซ้าย รถบรรทุก เหยียบย่ำ จนรถธรรมดาวิ่งไม่ได้ ผมไม่รู้ว่า รถบรรทุกเกินพิกัด หรือ ถนนไม่ได้สเปก เนื่องจากคนรับเหมาซูเอี๋ยกับคนชงเรื่อง กินหิน ทราย ยางมะตอย เป็นอาหารหลักแทนข้าว จริงๆทางหลวงกับโยธา มันน่าจะไปคุยกันก่อนมาเจรจาความกับผม หรือคนอื่นๆที่สัญจรไปมา

"พี่ขับเลนขวา ทำไมไม่ชิดเลยซ้าย ขับเร็วนะเนี่ย จะรีบไปไหน ไหนเอาใบขับขี่มาดูซิ" แล้วคนในเครื่องแบบ ก็ชูนิ้วชี้ บางทีก็ โชว์สองนิ้ว วันนี้หิวมาก

 

ผมเลยถามกลับไป "ที่บ้านพี่ทำนา หรือป่าว ชวนคุยไปเรื่องอื่น เรื่องเพลี้ย เรื่องข้าวดีด ข้าวเด้งบ้าง เรื่องน้ำท่วมบ้าง เรื่องราคาบ้าง  แล้วก็ถามเรื่อง"ห้องน้ำที่ใกล้ที่สุด  ผมไม่ไหวแล้ว"... จะให้ราดตรงนี้เลยหรือไง ... 

 

ผมไม่ได้มีปัญหากับเค้า ผมรู้ว่าเค้าทำตามหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายมา ตามคำสั่ง (มิชอบหรือป่าว ก็ลองสังเกตุดู)

ไม่รู้ว่า ทำไมเจอ ด่าน เป็นประจำ ก่อน และหลัง วันออกหวย ใครรู้ช่วยตอบด้วย???

ผมไม่ได้คิดว่าผมเจอคนเดียว แน่นอน.

 

เจอแบบนี้ก็น่าเบื่อ ครับ ไม่ช่วยจรรโลงโลกแล้ว ทำให้ค่าครองชีพเพิ่มขี้นด้วย เอาภาษีข้างถนน ไปเจือจุนคนในเครื่องแบบ หรือป่าว ครับ

 

"ผมชอบวิ่งเส้นทางรอง ทางระหว่างอำเภอ มีโค้งหักศอก มีชีวิตผู้คน ฝูงวัว เส้นในมากกว่า "

จะรู้เลยว่าถนนทางลูกรัง หรือทางราดยางสองเลน เส้นในเป็น ชีวิต สโลว์ไลฟ์ มันศิวิไล กว่าถนนสี่เลน เหยียบ ร้อย แล้วโดนโบก แน่นอน... มันทำให้รู้ว่า ความเอื้ออาทร ให้วัวข้ามถนนก่อน  ให้ระวัง ไม่ประมาท กับโค้งหักศอกข้างหน้า (ไม่มีป้ายเตือน บอกล่วงหน้า)  คุณจะต้องมีสติ ตลอดเวลา

 

กลับมาที่เรื่องนาข้าว ข้างทาง

 จากการลองสังเกตุ สอบถาม ที่นา ที่ดิน สองข้างทาง ถนนสี่เลน ส่วนใหญ่ จะปล่อยทิ้งร้าง หรือถ้าเป็นนา ก็จะ เป็นนาข้าว แบบรก ๆ ไม่ค่อยมีจินตนาการ เข้าถึงความยั่งยืน ลองจอดรถแล้วลงไปถามคนทำดู เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ "เป็นนาเช่า"  1,000-1,500 บาท ต่อปี  เป็นนาของนายทุน พ่อค้า พาณิชย์ ที่รอโอกาสกำไร ขายต่อเป็นปั๋มน้ำมัน เป็นโรงสี เป็นอาคารพาณิชย์  

การวิ่ง ถนนเส้นรอง ทำให้เห็นวิถีชีวิตการทำนา เห็นทุ่งนา ที่กำลังเข้าถึง นาในจินตนาการ กับคำว่า ความยั่งยืนและความมั่นคง ทางอาหาร

 

"เเปลงนาที่เจ้าของนา เป็นคนทำนา เป็นชาวนามืออาชีพ มีการปรับตัว ร่วมกัน ลงมือ *ป้องกันปัญหา* มากกว่า ร่วมกันบ่น คนหมู่มาก ประท้วง เย้วๆ เพื่อแก้ปัญหา"

"ไม่ใช่ชาวนา เทวดา" รอรัฐบาล รอราคา รอฟ้า รอฝน รอคนมาช่วย"

"ไม่ใช่ผู้จัดการนา ยกหูกริ๊ง งานมา เงินไป " 


 

 

 

 

เส้นทางสายนี้ไม่ใครมาโบก แล้วชูสองนิ้ว  เพื่อ เป็น "Free Rider" ในชุมชน ในสังคม 

 

 

เส้นทางสายนี้ เป็นเส้นทางที่ เป็นแม่แบบของ กระบวนการ Collective Action

 

  

 

หมายเลขบันทึก: 444222เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2011 06:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีค่ะ

อยากจะให้ดอกไม้สัก ๑๐๐  ดอกนะคะ  แต่จนปัญญาเพราะคลิ๊กได้แค่ ๑ เอง

เอาเรี่ยวเอาแรงที่ไหน ??????  มาเขียนละน้องชาย

เห็นด้วยทั้งหมดที่ว่ามา 

ชอบมากกับคำว่าชาวนามี "อิสระ" และมองเห็นบรรยากาศ  GPS ติดตัว

แสดงว่า "ความสุขที่ท่านเรียก  ไม่ต้องฝาก้อความอีกแล้ว" นะคะ

Ico48 สวัสดีครับพี่คิม

ขอบคุณแรงบันดาลในการนำมาซึ่งบันทึกนี้ครับพี่คิม

เรื่องใกล้ตัว ข้างทาง นี่มันก็มีเสน่ห์ดีนะครับ

 

อันนี้เป็นบทความของนักวิชาการ กรมส่งเสริมการเกษตร ชื่อ อ.ศักดา ศรีนิเวศน์ คงเขียนนานแล้ว "ทำไมเกษตรกรเวียดนามจึงผลิตข้าวได้ผลผลิตที่สูง และมีต้นทุนต่ำกว่าเกษตรกรไทย เพราะว่าเกษตรกรเวียดนาม ใช้ยุทธศาสตร์ในการทำนาแบบใหม่ที่เรียกว่า นาระบบน้ำน้อย (Wet and Dry System) ซึ่งต้องทำในพื้นที่เขตชลประทานที่สามารถควบคุมระดับน้ำได้เท่านั้น และใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า “ลด 3 ประการ เพิ่ม 3 ประการ” (Three Reductions Three Gains) โดยหลักการของการส่งเสริมการลด 3 ประการ เพื่อให้เกิดผล 3 ประการ เป็นการส่งเสริมให้เกษตรกร ลดการใช้ปัจจัยการผลิต 3 ชนิด ที่เป็นปัญหาหลักในการผลิตข้าว ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยเคมี และสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช และเมื่อเกษตรกรดำเนินการลดปัจจัยทั้ง 3 ชนิด ก็จะก่อให้เกิดผลประโยชน์ 3 ประการ คือ การเพิ่มปริมาณผลผลิต เพิ่มคุณภาพของผลผลิต และเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร "  คำถามมีอยู่ว่า เราจะเน้นช่วยเหลือแต่ชาวนาในพื้นที่ควบคุมน้ำได้เท่านั้นหรือ แล้วชาวนาส่วนอื่นจะทำอย่างไรหรือเพราะว่าหากจะช่วยต้องใช้ทุนมหาศาล หรือเป็นเรื่องเกินสติปัญญาของนักวิชาการ ทุกวันนี้ดูเหมือนทางอีสานจะหันมาทำสวนยางเพิ่มขึ้นอย่างน่ากังวล

สวัสดีครับ คุณดังใจ

ยุทธศาสตร์ชาติ เกาหลีใต้(vsญี่ปุ่น) กับเวียดนาม(vsไทย) คล้ายๆกัน คือมีตัวเปรียบ ในภูมิภาค ที่ต้องการเอาชนะ

ตอนนี้เวียดนาม เหลือ เรื่องข้าว ที่ยังเป็นเบอร์สอง และกาเเฟที่ยังเป็นเบอร์สอง (อันดับหนึ่งบราซิล)

เทคโนโลยีทำนาประหยัดน้ำ หรือ AWD ของ IRRI ที่ผมเคยนำเสนอ และลงเเปลงปฏิบัติจริง ในเมืองไทย ในเเปลงนาแถวนครสวรรค์ แล้ว

ต้องขอบอกเลยว่า "ลด 3 เพิ่ม 3 ประการ อย่างที่ อ.ศักดา ศรีนิเวศน์ ได้นำของเวียดนามเสนอไว้ มันเป็นวิทยาศาสตร์ ที่พิสูจน์ได้ จะเป็นประโยชน์อย่างมาก ถ้าได้นำมาปฏิบัติ และสงเสริมอย่างกว้างขวาง ช่วยประหยัดน้ำ ชาวบ้านไม่ต้องแย่งน้ำกันทำนาด้วย

การจัดสรรน้ำก็น่่าจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่เน้นพื้นที่ชลประทาน(เมืองไทยประมาณ ร้อยละ 25 ของพื้นที่นา) เพราะว่า ต้องให้น้ำถูกที่ถูกเวลา ครับ

ส่วนนอกเขตชลประทานก็สามารถทำได้ โดยการมีบ่อน้ำในไร่นา ... อาจจะเป็นต้นทุนเกษตรกรเอง (ไปรอพวกใส่สูทในสภาอดตายพอดีครับ )

แต่ก็คุ้มสำหรับการสละที่นาเป็นบ่อน้ำ และคันดินรอบเเปลง ป้องกันน้ำท่วมได้ มีน้ำใช้ในหน้าแล้ง และมีอาหารโปรตีนจากปลา รับประทาน ริมบ่อก็ปลูก ป่า ไม้ให้ร่มเงาเพื่อลดการระเหยของน้ำ และทิ้งใบเป็นปุ๋ย เป็นอาหารปลา .... แนวทางต่างๆเหล่านี้ ตาม ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ครับ

โห... แล้ว... แล้ว...เราจะทำไงดีล่ะครับ ... ที่บ้านผม เขายังเน้นปุ๋ย เน้นยา กันอยู่เลย ... ทำอย่างไรดีครับ

ปล. แรกๆก็ตกใจแบบอารมณ์ชาตินิยม แต่พอนึกๆไป ผมว่า"ความรู้" ต่างหากที่ทำให้เวียดนามมาถึงจนวันนี้ได้ อันนี้ผมเปรียบเทียบกับเด็กต่างชาติที่เคยสอนเลยก็ยังได้ครับ เด็กจีนเรียนภาษาไทยแปดเดือน กับเด็กเวียดนามเรียนภาษาไทยสามเดือน.... ผลประเมินความรู้ที่ได้มากลับเท่ากัน... เวลาจึงไม่ใช่ปัจจัย แต่เป็น "คน" ต่างหากครับ ว่าแต่"คนของเรา"เถอะครับ จะอย่างไรต่อไปดี

Ico48 ลำปางมีตัวอย่างกลุ่มเกษตรกรที่เข้มเเข็งหลายกลุ่มครับ 

ถ้าอาจารย์ มีกลุ่มนักศึกษาที่ต้องการ "เป็นชาวนาวันหยุด"ไปฝึกงานเกษตรกรรม

กับชุมชนผมว่าก็จะเป็นประโยชน์แบบคู่ขนานไปด้วยครับ ไม่โตแบบเอาตัวรอดคนเดียว

แต่เอาความรู้ที่ได้ ไปบูรณาการกับชุมชน เข้มเเข็ง ครับ ...

สวัสดีครับคุณต้นกล้า

ที่ลำปาง ผมยังไม่เคยสำรวจเลยครับ ว่าที่ไหนบ้าง (ตอนมาทำงานใหม่ๆ เคยมีคนเล่าถึง"บ้านสามขา"แต่ผมยังไม่เคยเข้าไปเรียนรู้ครับว่าเป็นอย่างไร) เทอมนี้กลับไปคิดว่าจะพาเด็กๆไปลงชุมชนในรายวิชาคติชน พื้นที่เป้าหมายคือบ้านไตลื้อครับ แต่พอมาอ่านบล็อกคุณต้นกล้าแล้ว ก็อยากเปลี่ยนแผนเหมือนกันครับผม แต่คงต้องขอไปศึกษาเนื้อหารายวิชาก่อนนะครับ ระหว่างนี้ หากคุณต้นกล้าพอมีข้อมูลเรื่องพื้นที่ ก็รบกวนชี้เป้าให้ผมด้วยครับผม

ขอบคุณมากครับ

  • บันทึกนี้ขอแจมเรื่อง "การเดินทาง" แล้วกันนะคะ ส่วนเรื่อง "คุณภาพคน" ของคนเวียดนามเมื่อเทียบกับคนไทย ได้เขียนถึงใน Blog "Learntoknow" ที่เตรียมมาเป็นเดือนแต่ไม้ได้ฤกษ์เพิ่มบันทึกซักทีค่ะ
  • ในช่วงปิดภาคเรียน พ่อใหญ่สอชวนไปดูระบบน้ำสวนยางที่อำเภอน้ำยืน แบบของแกก็คือขับรถไปตระเวณหาโดยไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน เราจึงเข้าเน็ทค้นหาให้แต่ก็ไม่มีพบว่ามีสวนยางที่ไหนทำระบบน้ำ ก็เลยขับรถตระเวณดูจนเที่ยงก็ไม่มีที่ให้ดู ก็เลยไปทานข้าวเที่ยงก่อน สอบถามเจ้าของร้านเขาก็แนะนำว่าให้ย้อนกลับไปทางอำเภอเดชอุดม ออกไปประมาณ 5 กม. อยู่แถว.... ถามพ่อใหญ่สอว่าฟังแล้วเข้าใจไหม แกก็ว่าเข้าใจ นึกภาพออกว่าอยู่ตรงไหน เราเองก็วางใจ พอดีขับรถออกไปได้ซัก 2 กม. เพื่อนสมัยเรียนปริญญาตรีโทรฯ ชวนคุยยาว ทำให้เราไม่ได้ช่วยพ่อใหญ่สอดูทาง พอเพื่อนคุยจบดูหลักกม.บอกว่าอีก 18 กม.จะถึงเดชอุดม ก็เลยหันไปถามพ่อใหญ่สอว่าทำไมไม่แวะดูระบบน้ำ แกก็อารมณ์เสียตามสไตล์ว่า ไม่รู้อยู่ตรงไหน แทนที่จะช่วยดูก็มัวแต่คุยโทรศัพท์ (จริงๆ แล้วเราแทบจะไม่ได้คุย รับฟังซะ 95 %) แกบอกจะกลับฟาร์มแล้ว เราก็บอกว่าไหนๆ ก็มาแล้วไม่ควรเสียเที่ยว ควรจะไปหาที่อื่นดู แกก็ตกลงว่าจะไปอ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ ก่อนเข้าเดชฯ เห็นป้ายบอกทางไปกันทรลักษณ์แกก็เลี้ยวไปตามทางนั้น ขับมาได้พักหนึ่งก็เห็นป้ายแสดงว่าข้างหน้าจะมีสี่แยก ซึ่งถ้าเลี้ยวขวาจะไปกันทรลักษณ์ พอถึงสี่แยก (เล็กซึ่งไม่ใช่สี่แยกที่ป้ายบอก) แกก็เลี้ยวขวาทันที เราก็ว่ามันไม่น่าจะใช่เพราะเพิ่งออกมา ดูหลักกม. ทางซ้ายมือ มันก็บอกว่าอีก 8 กม.จะถึงเดชอุดม เลยบอกแกว่านี่เราจะวกกลับเดชแล้วนะ แกก็บอกให้ดูป้ายทางขวาที่บอกว่าจะไปกันทรลักษณ์ เราก็เถียงว่า มีป้ายที่ไหนจะให้คนหันหลังกลับมาอ่าน แกก็ไม่ฟัง สุดท้ายก็เข้าเดชฯ จริงๆ
  • เรื่องไม่ได้จบแค่นั้น แกบอกหมดแรงแล้วจะกลับฟาร์ม จะพาไปทางลัด เข้าทางอำเภอนาเยีย เราไม่ค่อยแน่ใจก็ถามแกว่า แน่ใจหรือว่าไปถูก แกก็โม้ว่ามาไม่รู้กี่ครั้งแล้ว ไม่พลาดแน่ พอถึงนาเยียแกก็เลี้ยวเข้า เสร็จแล้วก็ขับรถวนอยู่ในนั้นหลายรอบ บ่นงึมงำทำไมทางมันไม่เป็นอย่างที่เคยมา เราก็บอกให้จอดรถถาม แกก็บอกว่าไม่รู้จะถามใคร เราบอกให้ไปที่สถานีตำรวจแกก็บอกไม่รู้อยูที่ไหน ก็เลยบอกว่า งั้นจอดตรงไหนก็ได้ที่มีคนจะลงไปถามเอง แกก็ไม่ยอมจอด พอแกเห็นทางออกนอกเมืองแกก็ขับออกไป เราก็เห็นป้ายบอกว่าทางไปอ.พิบูลมังสาหาร เราก็บอกมันคนละทิศเลยกับที่ตั้งฟาร์ม แกก็บอกว่ามันคงมีทางแยกที่จะไปฟาร์มอยู่หรอกแต่ไปหลายกม.ก็ไม่มี แกก็เลยว่าจะไปพิบูลฯแล้วค่อยย้อนกลับไปฟาร์ม เราก็เลยบอกว่าถ้าแกทำเช่นนั้นจะไม่ไปด้วย ถ้าจะให้ไปด้วยต้องกลับไปนาเยียแล้วหลังจากนั้นเราจะแก้ปัญหาเอง สุดท้ายแกก็ยอมกลับนาเยียและยอมจอดรถให้เราลงถามคน ซึ่งเราก็เลือกถามผู้ชายที่อยู่ในวัยกลางคน ซึ่งก็โชคดีมาก ที่แกรู้จักบ้านหนองฝางที่ตั้งฟาร์ม หลังจากที่แกบอกทางใช้เวลาประมาณ 20 นาทีก็กลับถึงฟาร์ม ซึ่งถ้าใช้วิธีที่พ่อใหญ่สอเลือกต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง...เฮ้อ...คบสว.หัวรั้นมันก็เหนื่อยยังงี้แหละน้า     

  

Ico48 อ.หนานวัฒน์ 

ขอประสานกับทางทีมงานก่อนครับ ว่ามีพื้นที่เป้าหมาย และผู้ประสานงานตรงไหนบ้าง จะแจ้งไปทางเมลล์นะครับ และขอแผนกระชับพื้นที่คร่าวๆ จากอาจารย์ด้วยครับ 

Ico48 

เรื่องหลงทาง นี้ มองในแง่ดี คิดว่า เป็นโอกาสในการเรียนรู้ หลายๆอย่างครับ

ขอบคุณครับ ชักอยากเจอพ่อใหญ่สอ แล้วซิครับ 

 

 

กฤษณี อภิชาติวิสุทธ์ิ

ขออนุญาตนำชาวนาวันหยุดไปสอนให้แก่นักเรียนที่มาเข้าค่ายที่ศูนย์ฯแอนฟิลด์ฟาร์มนะคะเป็นประโยชน์หลายอย่างเปฺิดแนวคิดใหม่ ๆ นอกกรอบแก่นักเรียน ให้เห็นถึงความสุขอย่างพอเพียง... ... ...ความยั่งยืน......

สวัสดีครับ ครูโอ๋ แ่ห่ง แอนด์ฟิลด์ฟาร์ม

ด้วยความยินดีครับ ตอนนี้กำลังส่งเสริม กลุ่มที่เข้าร่วมโครงการ "ทำนาสวย ด้วยคนในชุมชน" ในพื้นที่กำเเำพงเพชร ครับ

ที่ขอนแก่นมีคนทำนาแนวคุณต้นกล้าบ้างไหม จะไปขอเป็นแนวร่วมเรียนรู้ของจริง นอกเหนือ ยูทูบและกูเกิ้ล

คงได้เจอตัวจริงเสียที ตามอ่านมานานแล้ว วันที่ 2 สิงหาที่โคราชค่ะ ใครอยากไปด้วยกันจากขอนแก่นแจ้งได้นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท