ประวัติผ้าไหมพุมเรียง


ผ้าไหมพุมเรียงเป็นศิลปะหัตถกรรมของภาคใต้
ประวัติการทอผ้าไหมพุมเรียง
การทอผ้าไหมพุมเรียง  เป็นศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านภาคใต้ของกลุ่มคนไทยมุสลิม  ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านหัวเลน หมู่ที่ 2 บริเวณคลองพุมเรียง ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ซึ่งได้สืบทอดกันหลายชั่วอายุคนจนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ผ้าไหมพุมเรียงเป็นผ้าไหมที่มีลวดลายสวยงามและมีลักษณะเด่นที่ต่างไปจากผ้าไหมอื่นๆ คือ การทอยกดอกด้วยไหมและดิ้น ผ้ายกดอกที่มีชื่อเสียงได้แก่  ผ้ายกชุดหน้านาง ผ้ายกดอกถมเกสร และผ้ายกดอกลายเชิง เป็นต้น
ชาวไทยมุสลิมตำบลพุมเรียงในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งสืบเชื้อสายมาจากแขกเมืองสงขลาเขาแดงซึ่งนับถือศาสนาอิสลามเป็นพวกมลายูที่อพยพมาจากหมู่เกาะอินโดนีเซีย บางส่วนอาจมีเชื้อสายแขกปัตตานีและไทรบุรี ที่อพยพเข้ามาที่ตำบลพุมเรียงในช่วงรัตนโกสินทร์ ซึ่งจากการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของพวกแขกเมืองสงขลาหัวเขาแดง เมืองปัตตานีและไทรบุรีทำให้เกิดการผสมผสาน ทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมกับชาวไทย แต่ส่วนใหญ่พวกแขกเหล่านั้นยังคงรักษาเอกลักษณ์ดังเดิมไว้ โดยเฉพาะการทอผ้าไหมยกดิ้นเงินดิ้นทองหรือยกไหม ซึ่งต่างไปจาการทอผ้าที่ทอโดยคนไทยสมัยนั้น และสิ่งเหล่านั้นได้สืบทอดมาสู่ทายาทที่เป็นชาวไทยสุสลิม
ลักษณะการถ่ายทอดวิชาความรู้เกี่ยวกับการทอผ้าไหมของชาวไทยพุทธและขาวไทยมุสลิม เป็นวิธีการเรียนรู้โดยธรรมชาติ ด้วยวิธีสังเกตและทดลองปฏิบัติจริง เด็กหญิงมักจะเริ่มหัดทอผ้าตั้งแต่อายุยังน้อย โดยสังเกตเวลาผู้ใหญ่ทอผ้า ผู้ใหญ่จะสอนวิธีการทอ  การย้อมสี  กรอไหม  ค้นไหม ม้วนเก็บ การเก็บตระกอและก่อเช่า ซึ่งเทคนิคขั้นตอนการทอผ้าไหมเหล่านี้ไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร แต่อาศัยความสามารถในการจดจำจากผู้ที่สอนที่มีความชำนาญ มีการปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างต่อเนื่อง จึงให้สามารถเก็บรักษาศิลปะการทอผ้าไว้จนถึงปัจจุบัน
เครื่องมือที่ใช้ในการทอผ้าทอตำบลพุมเรียงในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้แก่ หูก จึงเรียกการทอผ้าว่าการทอหูก ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของผู้หญิงชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมที่จะต้องเตรียมไว้ให้ครอบครัวโดยเฉพาะหญิงสาวที่จะออกเรือนจะต้องเตรียมผ้าที่จำเป็นทั้งของฝ่ายชายและของตนเอง ซึ่งมีทั้งผ้านุ่ง ผ้าห่มและเครื่องใช้ต่างๆ ดังนั้น การมีฝีมือในการทอผ้าจึงเป็นการแสดงความเป็นกุลสตรีอีกด้วย
ผ้าที่ทอกันในช่วงนั้นมีทั้งผ้าฝ้ายและผ้าไหม แบ่งออกเป็นผ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และผ้าที่ใช้ในงานและพิธีการต่างๆ ผ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันนั้นทอกันเป็นจำนวนมาก และส่วนใหญ่ ฝ้ายทอเพื่อความทนทาน โยทอเป็นผ้านุ่ง ผ้าห่ม ผ้าพื้น ผ้าตา ผ้าริ้ว และผ้าขาวม้า สำหรับที่ใช้ในงานและพิธีการต่างๆจะทอด้วยไหม หรือฝ้ายแถมไหม มัดลวดลายทอยกดอกสวยงาม ใช้นุ่งเข้าเฝ้า หรือนุ่งในงานักขัตฤกษ์ งานบุญ งานแต่งงาน ผ้าชนิดนี้ระยะแรกๆทำกันน้อย และจะทอเฉพาะเวลาที่มีผู้มาสั่งทำเท่านั้น ไม่มีขายในท้องตลาด เนื่องจากช่างสมัยแรก นั้นผ้าชนิดนี้นุ่งห่มได้เฉพาะเจ้านาย ขุนนาง หรือข้าราชการผู้ใหญ่เท่านั้น ถ้าเป็นคนธรรมดาจะไม่เหมาะสม แต่ในช่วงหลังๆ คนธรรมดาก็นำมาใช้นุ่งในพิธีแต่งงานหรือพิธีสำคัญอื่นๆทางศาสนา คนไทยนิยมนำไปใช้นาคนุ่งในงานบวชด้วย และการที่ผ้าชนิดดังกล่าวทอที่บ้านในระยะแรกๆ นั้น ที่บ้านผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ใหญ่นั้น อาจเป็นไปได้ว่าชาวเมืองปัตตานี และไทรบุรีซึ่งอพยพเข้ามาที่ตำบลพุมเรียง ในระยะแรกๆ นั่นต้องทำงานให้เข้ากับเจ้านายหรือกรรมการเมื่อผู้ใหญ่ ดังนั้น การทอผ้ายกดอกด้วยไหมจึงมีเฉพาะบ้านเจ้าเมือง และกรรมการเมืองเท่านั้น ซึ่งนอกจากเจ้าของบ้านจะใช้ของเองแล้วยังทอขายให้กับผู้สั่งทำโดยเฉพาะ ผ้าไหมยกดอกพุมเรียงจึงไม่แพร่หลายมาที่ควร แม้ว่าในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์น่าจะมีการทอผ้าชนิดต่างๆเป็นสินค้าออกด้วยก็ตาม
ในช่วงทศวรรษหลังจากปี พ.ศ. 2480 มีการนำเครื่องทอผ้าชนิดใหม่เข้ามาเผยแพร่ที่ตำบลพุมเรียง คือ กี่กระตุก  กล่าวคือ สมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามได้ส่งเสริมให้คนไทยใช้ของที่ผลิตที่ในประเทศโดยเฉพาะเครื่องแต่งกาย เน้นให้ใช้ผ้าที่ผลิตขึ้นเอง จึงได้มีการส่งเสริมอาชีพการทอผ้าขึ้นโดยรัฐบาลได้ส่งหน่วยฝึกฝนอาชีพเข้าไปในชนบทต่างๆทั่วประเทศโดยเฉพาะที่ตำบลพุงเรียงจึงทำให้มีการใช้กี่กระตุกทอผ้ามาจนถึงปัจจุบัน
การทอผ้าไหมในตำบลพุมเรียงเริ่มซบเซาลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่  2 เนื่องจากวัสดุที่ใช้ทอผ้า เช่น ด้ายไหม มีราคาแพงและหาซื้อยาก ประกอบกับระยะต่อมามีผ้าที่ทอด้วยเครื่องจักรส่งเข้ามาขายจำนวนมาก ราคาถูก สามารถหาซื้อได้ง่ายและสะดวกกว่าการทอผ้าใช้เอง ชาวพุทธส่วนมากจึงเลิกทอผ้ารายได้น้อย ขณะเดียวกันหญิงชาวไทยพุทธสามารถเลือกอาชีพอื่นๆได้ เช่น รับราชการ หรือค้าขาย จึงเลิกทอผ้าไหมไปในที่สุด
ส่วนชาวไทยมุสลิมยังคงประกอบอาชีพทอผ้าสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน หญิงชาวไทยมุสลิมอายุประมาณ 11-50 ปี ซึ่งส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ในตำบลพุมเรียงหรือมาจากต่างอำเภอ จะรับจ้างทอผ้าให้กับผู้ประกอบการทอผ้ารายใหญ่ ซึ่งพัฒนากิจการทอผ้าขึ้นเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนขนาดย่อมแต่ส่วนมากเป็นการทอผ้าแบบกี่กระตุก  ได้ค่าจ้างเป็นรายชิ้นบ้าง  รายเดือนบ้าง  ตามความสามารถของผู้ทอ  ผู้ประกอบการทอผ้ารายใหญ่บางรายอยู่ที่กรุงเทพมหานคร  จะส่งไหมและวัสดุที่ใช้ในการทอผ้าอื่นๆ มาให้ช่างทอผ้าพุมเรียง ทอเป็นลวดลายทอผ้ายกดอกแบบโบราณโดยให้ค่าจ้างเป็นรายชิ้น ราคาค่าจ้างทอประมาณ 500 – 1,000 บาท ขึ้นอยู่กับความยากง่ายกับลายผ้า
อนึ่ง การทอผ้ายกดอกด้วยหูกแบบโบราณในตำบลพุมเรียงปัจจุบันเหลืออยู่น้อยมาก ช่างทอผ้ารุ่นใหม่ไม่นิยมทอด้วยหูก แต่จะหัดทอผ้าด้วยที่กระตุกเป็นส่วนใหญ่ดังนั้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์การทอผ้ายกดอกด้วยเครื่องมือแบบโบราณของตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี ผู้เรียบเรียงนำเสนอเครื่องเฉพาะที่เรียกว่าหูก  และการทอผ้าไหมยกดอกแบบเก่าที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่เก่าแก่ที่ชาวไทยมุสลิมในตำบลพุมเรียงได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ เพื่อให้ช่างทอผ้ารุ่นใหม่และผู้สนใจได้เรียนรู้ถึงกรรมวิธีการผลิตผ้าไหมพุมเรียงเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญของผ้าพื้นเมืองเพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์และส่งเสริมให้แพร่หลายยิ่ง และเป็นการช่วยเพิ่มพูนรายได้ของประชาชนในท้องถิ่นภาคใต้อีกทางหนึ่งด้วย
 
 
 
อุปกรณ์และวิธีการ
อุปกรณ์และวิธีการ
วัสดุที่ใช้ในการทอผ้า
  1. เส้นไหมธรรมชาติ  เนื่องจากในตำบลพุมเรียงไม่มีการเลี้ยงไหม จึงจำเป็นต้องมีการสั่งผ้า
ไหมจากภายนอกเข้ามา เช่น สั่งไหมดิบจากอีสาน  โดยผ่านทางกรุงเทพมหานคร  ไหมจากอำเภอละแม  จังหวัดชุมพร และไหมจากต่างประเทศ เช่น จากญี่ปุ่น และสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่เรียกกันว่าไหมกวางเจา ไหมแต่ละชนิดนี้มีคุณสมบัติต่างกันโดยเฉพาะค่าความต่างของน้ำหนักไหมที่ต้มฟอกและย้อมสีแล้วตัวอย่าง เช่น ไหมดิบของไทย เมื่อจะนำไปต้มฟอกและย้อมสี น้ำหนัก 1.4 กก. เมื่อย้อมสีเสร็จแล้วจะได้ไหมลุกประมาณ 12 กก. หรือ 1 กก. น้ำหนักของเส้นไหมลุกที่ต่างกันนี้จะสัมพันธ์กับปริมาณของเส้นไหมและเนื้อผ้าที่ทอก็จะต่างกันด้วย นอกจากนี้เมื่อกรอเส้นไหม ไหมจีนจะเสีย 5% ส่วนใหญ่ไหมไทยจะเสีย 2.3% ในด้านราคา เส้นไหมต่างชนิดจะมีราคาต่างกัน เช่นไหมอีสาน กก. ละ 850 บาท ไหมละแม กก. 900 บาท ไหมญี่ปุ่น กก. ละ 1,200 บาทราคาจะขึ้นลงตามดอลล่าร์
เส้นไหมที่ใช้สำหรับทอผ้าไหมพุมเรียง  สามารถแบ่งออกตามลักษณะและคุณภาพของเส้นไหมได้ 3 ระดับคือ
ไหมหนึ่ง  หรือไหมน้อย เป็นไหมที่คุณภาพดีที่สุด ลักษณะของเส้นไหมเล็กละเอียด เป็นนวลสวยงาม ใช้เป็นเส้นไหมยีน  เวลาทอผ้า
ไหมสอง  หรือไหมกลาง เป็นไหมที่คุณภาพดีที่สุด ลักษณะของเส้นไหมหยาบเป็นปุ่มปมบ้างเล็กน้อย เส้นโตกว่าไหมหนึ่ง นิยมใช้เป็นเส้นพุ่ง ในการทอเนื้อละเอียด
ไหมสาม  หรือไหมใหญ่เป็นเส้นไหมที่มีคุณภาพต่ำ  ลักษณะของเส้นไหมหยาบและใหญ่กว่าไหมสอง  เส้นไหมชนิดนี้ใช้ทำเป็นเส้นพุ่ง  สำหรับเนื้อหนาและหยาบกว่าผ้าไหมชนิดอื่น เช่นผ้าไหมสี่เส้นเป็นต้น
  1. สีย้อมเส้นไหม  ไม่ปรากฏหลักฐานที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรว่าการย้อมสีไหมในตำบล
พุมเรียงก่อนที่จะมีการย้อมสีสังเคราะห์นั้นได้ใช้สีประเภทใด แต่จากการสอบถามช่างทอผ้าในท้องถิ่นทราบว่าช่วงระยะ 70 ปีที่แล้วมีการใช้ต้นครามย้อมฝ้ายให้เป็นสีน้ำเงิน ในช่วงระยะเวลาเดียวกันบริเวณค่างเคียง ที่เกาะสมุย ได้ใช้เปลือกต้นหงอนไก่ต้มย้อมฝ้ายเป็นสีแดง และจากการศึกษาเปรียบเทียบการย้อมสีไหมแบบโบราณในภาคเหนือและภาคอีสาน  โดยใช้วัสดุธรรมชาติ จึงอาจสันนิษฐานได้ว่าการย้อมสีไหมในพุมเรียงน่าจะมีการใช้สีจากธรรมชาติ ซึ่งได้จากพืชและสัตว์ที่มีในท้องถิ่นเช่นเดียวกันคือ
สีเหลือง         ได้จาก           ขมิ้น  แก่นขนุน
สีแดง            ได้จาก           ครั่ง  รากยอ
สีดำ              ได้จาก           ผลมะเกลือ
สีน้ำเงิน         ได้จาก           คราม
สีม่วง            ได้จาก           ลูกหว้า  เปลือกต้นชงโค
ต่อมาเมื่อมีสีย้อมผ้าประเภทสังเคราะห์จึงเลิกใช้สีจากวัสดุธรรมชาติไปในที่สุด  แต่สีสังเคราะห์ ที่ใช้กันในระยะแรกนั้นคุณภาพไม่ดี สีดำง่าย จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กิจการทอผ้าพุมเรียงซบเซาเพราะลูกค้าไม่นิยมใช้ ปัจจุบันในตำบลพุมเรียงมีแต่ร้านวรรณม๊ะ ไหมไทย เท่านั้นที่ยังคงดำเนินการย้อมสีผ้าบางสีของญี่ปุ่นอีกด้วย ส่วนผู้ประกอบการทอผ้าอื่นๆ ส่วนใหญ่จ้างย้อมสีไหมที่กรุงเทพมหานคร หรือซื้อไหมที่ย้อมเสร็จมาทอ
3 เครื่องมือทอผ้าไหม
          เครื่องมือสำหรับเตรียมเส้นไหม
1.ไน   เป็นเครื่องมือสำหรับกรอเส้นไหมเข้าหลอด ลักษณะเป็นวงล้อ ขนาด
เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 72 ซม. ทำด้วยไม่ไผ่หรือหวาย (ปัจจุบันใช้ล้อรถจักรยานยนต์ที่ถอดยางออกแทน)  ฐานดังแกนบางล้อและแกนหลอดทำด้วยไม้ กว้างประมาณ 18 ซม.ยาว 51 ซม. ระหว่างวงล้อและแกนหลอดมีเส้นเชือกผูกยูงโยงเมื่อหมุนวงล้อก็จะทำให้แกนหลอดหมุนไปด้วย
2. ระวิง วิงหรือดอกระวิง เป็นเครื่องปั่นไหมที่มีลักษณะเหมือนกังหัน 2 ดอก แต่
ละดอกมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 52 ซม. ทำด้วยไม้หรือไม้ไผ่เหลาแบนๆ ดอกละ 3 อันระหว่างกังหันทั้งสองมีแกนและเส้นด้ายหรือในลอนผูกโยงสำหรับรองรับเช็คไหม ฐานของระวิงทำด้วยไม้กว้างประมาณ 13 ซม. ยาว 43 ซม.
ระวิงใช้คู่กับไน เมื่อต้องการกรอเส้นไหมยีนหรือเส้นไหมพุ่งเข้าหลอด โดยจะสวม
หลอดคนหรือหลอดพุ่งที่แกนหลอดใน  แล้วนำเข็ดไหมที่ต้องการกรอสวมที่ระวิงและดึงเส้นไหมจากเข็ดนั้นผูกติดกับหลอดค้นหรือหลอดพุ่ง เมืองหมุนวงล้อของไน  แกนหลอดก็จะหมุนทำให้หลอดค้นหรือหลอดพุ่งที่สวมติดอยู่หมุนดึงเส้นไหมจากระวิงพันติดไปกับหลอดด้ายนั้น  โดยระวิงจะหมุนตาม ช่วยคลายเส้นไหมจากเข็ดไหม ทำให้เส้นไหมไม่พันกัน
  1.   หลอดค้น  หรือหลอดไหมยืน  คือหลอดด้ายหรือหลอดดิ้นที่ทำด้วยไม้หรือพลาสติก  ใช้
สำหรับพันเส้นไหมยืน  ยาวประมาณ 6 ซม. หรืออาจใช้ท่อพลาสติกเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 ซม.ยาวประมาณ 16 ซม. ก็ได้ ที่สำคัญคือ แกนของหลอดค้นจะต้องเป็นรูกลางเพื่อใช้สวมกับแกนหลอดของในหรือแกนของรางคันได้ เมื่อต้องการกรอไหมเข้าหลอดหรือค้นไหมยืน
  1. หลอดพุ่ง   หรือลูกเรียด คือหลอดไหมที่ใช้พันเส้นไหมพุ่ง  ดิ้น  หรือไหมที่ทอยกดอก เดิม
เป็นหลอดที่ทำด้วยสังกะสี  ยาวประมาณ 7 ซม. ปัจจุบันใช้ด้ามปากกาลูกลื่นตัด
  1. รางค้น  หรือรางสำหรับใส่หลอดค้น  เมื่อต้องการค้นไหมยืน ลักษณะเป็นกรอบ
สี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว 139 -255 ซม. กว้าง 25 – 28 ซม. ด้านยาวทั้งสองข้างของรางค้นต้องเจาะรูตรงกัน  เพื่อใช้หลอดแกนที่ทำด้วยเหล็ก หรือไม้ไผ่เหลาขนาดเล็ก ความยาว 28 – 30 ซม.  รูแต่ละช่องห่างกัน 16 ซม. จะใส่ได้หลอดเดียววางค้นแต่ละรางสามารถบรรจุหลอดค้นได้ 30 – 80 หลอด เมื่อจะใช้รางค้นต้องนำผูกไว้บนที่สูง เช่น รอดหรือตุงที่ใต้ถุนบ้าน
 
 
6. หลักคันหรือคราด คือ หลักที่ใช้คล้องไหมยืน ตอนที่คันไหมหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสาวไหมเพื่อจัดเส้นไหมให้เป็นระเบียบและใช้คล้องเส้นไหมที่เก็บขัดกันเสร็จแล้ว นอกจากนี้ ยังใช้คำนวณความยาวของเส้นไหมที่จะใช้ทอผ้า หลักคันทำด้วยไม้ลักษณะคล้ายคราด มีหลักซึ่งเรียกว่า “ลูกคราด” 2 แถว แถวละ  11  หลัก สูงหลักละประมาณ 12 ซม. ฐานของหลักคัน 2 แถว จะเยื้องเหลื่อมกัน เมื่อประกบจะเข้ากันสนิทพอดี ความยาวของฐานประมาณ 31 ซม. ความยาวของฐานคันสอบแถวที่ 1 ด้านบนประมาณ 7 ซม. ด้านล่างประมาณ 13 ซม. ระหว่างกลักคันแถวที่ 1 และหลักคันแถวที่ 25 สามารถปรับระยะได้ตามความต้องการว่าจะคันไหมยืนยาวเท่าใด โดยเลื่อนกลักต้นแถวที่ 2 ไปตามด้านหลักคัน หรือ “พานคราด” ซึ่งยาวประมาณ 635 ซม. หลักคันนี้ต้องใช้ควบคู่กับรางคัน โดยนำไปวางที่ได้รางคันเมื่อต้องการคันไหมยืน
          7. ไม้สอด คือ เครื่องมือที่ใช้เกี่ยวเส้นไหมยืนเข้าฟันฟืม ทำด้วยไม้ไผ่เหลาบาง ๆ และแบน ส่วนปลายทำเป็นตะขอหรือเงี่ยงสำหรับเกี่ยวเส้นไหม ขนาดยาว 21.5 ซม. กว้าง 1 ซม.
          8. ไม้นัดหวี ไม้นัดเล็กหรือไม้นัดด้าย เป็นไม้ 2 อันที่ใช้สอดในเส้นไหมยืนซึ่งขัดกัน เพื่อสะดวกในการสอดไหมยืนเข้าฟันฟืม และทราบตำแหน่งเส้นที่ขาดขณะทอผ้า ไม้นัดหวีทำด้วยไม้หลาวโอน หรือไม้ไผ่เหลาบาง ๆ ยาว ประมาณ 146  ซม. กว้าง 3-4 ซม. ส่วนปลายด้านที่ใช้สอดมีลักษณะมนแหลมเล็กน้อย
          9. ไม้ลูกพัน เป็นไม้ 2 อันที่ใช้สอดในเส้นไหมยืน เพื่อสะดวกในการม้วนเส้นไหมเข้ากระดานม้วนหูกเมื่อม้วนเก็บเสร็จแล้วไม้ลุกพันจะกระหน้าอยู่สองข้างของกระดานม้วนหูก ไม้ลุกพันทำด้วยไม้หลาวโอนเหลากลม ๆ ยาวประมาณ 136 ซม.
          10. ไม้ตระกอ หรือไม้จลกเขา คือ ไม้ที่ใช้ผูกเส้นเชือก ตระกอหรือเขาหูกทำด้วยไม้หลาวโอนหรือไม้อื่น ๆ เหลากลม ยาวประมาณ 127 ซม. ตระกอหรือเขาหูกตับหนึ่งใช้ไม้ลูกเขา 4 อัน
          11. ไม้ก่อตระกอ หรือไม้ก่อเขา คือ ไม้แบบที่ใช้ในการผูกเชือกตระกอ เพื่อใช้เส้นเชือกตระกอที่ร้อยควบไหมยืนแต่ละเส้นนั้นมีระยะเท่ากัน ไม้ก่อตระกอเขาของหูกจะไม่เหมือนกันไม้ก่อตระกอของที่กระตุก กล่าวคือ ผ้าไหมที่ทอยกดอกหูกจะมีไม้ก่อตระกอหรือไม้ก่อเขา 2 ชนิด
                   11.1 ไม้ก่อตระกอเนื้อหรือไม้ก่อเขาดอก ทำด้วยไม้ลักษณะแบน ๆ ขนาดยาวประมาณ 9 ซม. กว้าง 5.5 ซม. หนา 7 ซม.
                   11.2 ไม้ก่อตระกอดอก หรือไม้ก่อเขาดอกทำด้วยไม้ลักษณะแบนคล้ายกัน ขนาดยาวประมาณ 6 ซม. กว้าง 4.5 ซม. หนา 7 ซม. ส่วนผ้าไหมที่ทอยกดอกด้วยกี่กระตุก จะไม่มีไม้ก่อตระกอที่เรียกว่า “ไม้ก้ามปู” ซึ่งทำด้วยไม้มีลักษณะคล้ายก้ามปู คือมีก้ามถือ ปลายสองข้างแยกจากันขนาดความยาวตั้งแต่โคนด้ามถึงส่วนปลายประมาณ 120 ซม. ปลายสองข้างห่างกันประมาณ 13 ซม.
          12. ขนเม่น คือขนของเม่นซึ่งยาว 8.5 ซม. ใช้สำหรับนับเส้นไหมยืนเพื่อเก็บตระกอหรือก่อเขาลวดลายที่จะทอยกดอก
          13. หวี คือ เครื่องมือสำหรับหวีไหมยืนให้เส้นเรียบหลังจากลงแป้งแล้ว หวีทำจากกาบของต้นชกนำมาทุบเป็นเส้นฝอย ตัดเส้นยาว 8-12 ซม. ซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น แล้วนำไปเข้าด้ามไม้สำหรับถือ ซึ่งมีขนาดยาวประมาณ 13 ซม. กว้าง 5 ซม. หวีทำจากกาบมะพร้าวก็ได้ โดยตัดขวางกาบแล้วยีให้ส่วนที่ตัดเป็นฝอยแล้วนำมาใช้หวีเส้นไหมยืน
          14. เชือกตระกอ เป็นเชื่อที่ใช้สำหรับผูกตระกอหรือก่อเขา ทำด้วยเส้นด้ายสีขาวเบอร์ 6 หรือ ไนลอนเบอร์ 4 หรือเบอร์ 210/4  การทอผ้าไหมส่วนใหญ่นิยมใช้สอนเพราะไม่ทำให้เส้นไหมยืนเป็นขุย เชือกที่ผูกตระกอหรือก่อเขาหนึ่ง ๆ จะใช้ได้ 2-3 ครั้ง
          15. กี่เก็บตระกอ คือที่เก็บตระกอหรือก่อเขาสำหรับไหมที่ทอด้วยกี่กระตุก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผ้าไหมพื้นหรือลายร่องสลับสี ลักษณะของกี่เก็บตระกอคล้ายกรอบโครงของโต๊ะ ทำด้วยไม้ขนาดยาว 90-120 ซม. กว้าง 60-80 ซม. สูง 75 ซม.
3.3 ชนิดของเครื่องทอผ้า
          เครื่องทอผ้าที่ใช้ในตำบลพุมเรียง มี 2 ชนิด คือหูกและกี่กระตุก สำหรับหูกซึ่งปัจจุบันเรียกกันว่ากี่พื้นบ้านหรือกี่โบราณนั้นมีจำนวนน้อย ใช้สำหรับทอผ้าไหมยกดอก ส่วนกี่กระตุกมีจำนวนมากใช้ทอผ้าฝ้ายหรือผ้าไหมพื้น ผ้าซิ่นไหม ผ้าไหมลายร่องและผ้าไหมตามสก๊อต เป็นต้น ส่วนประกอบของเครื่องทอผ้าทั้งสองชนิดคล้ายกันจะต่างกันบ้างในรายละเอียดเล็กน้อย ส่วนประกอบที่สำคัญของหูกและกี่กระตุกได้แก่
          1. โครงหูก หรือโครงกี่ ประกอบด้วยเสา 4 อัน มีราวหูกหรือราวกี่กระหนาบทั้ง 4 ด้านทั้งด้านบนและด้านล่าง หูกบางอันอาจมีราวกระหนาบกลางโดยรอบ เพื่อทำให้หูกแข็งแรงยิ่งขึ้น สมัยก่อนเสาหูกฝังคิดไว้กับดิน เพราะเชื่อกันว่าการทอหูกหรือการทอผ้านั้นทอได้เฉพาะใต้ถุนบ้านเท่านั้น จะนำมาทอบนเรือนไม่ได้ แต่ปัจจุบันไม่นิยมฝังเสาหูกกี่ลงในดิน เพราะจะทำให้เคลื่อนย้ายไม่สะดวก โครงหูกและโครงกี่แต่ละโครงมีขนาดไม่แน่นอน โดยประมาณโครงหูกกว้าง 130-140 ซม. ยาว 254-290 ซม. สูง 117-125 ซม.
          2. ฟืมหรือฟันหวี เป็นเครื่องมือสำหรับทอผ้า มีฟันเป็นซี่ ๆ คล้ายหวี ใช้สำหรับสอดไหมยืน เพื่อจัดเส้นไหมให้อยู่ห่างกัน และใช้กระทบไหมพุ่งที่ลาดชันกับไหมยืนให้อัดแน่นเป็นเนื้อผ้า ฟืมทำด้วยลวดหรือไม้ไผ่เหลาซี่เล็ก ๆ ผูกเชือกติดกันและกระหนาบด้วยไม้จริง ขนาดของฟืมยาวประมาณ 117 ซม. กว้าง 6-8 ซม. หรือฟืมหนึ่ง ๆ อาจจะมี 35-40 หลบ แต่ละหลบมี 40 ฟัน (ช่องของหวี) ใช้สอดเส้นไหมยืน 2 เส้น ในการทอผ้าครั้งหนึ่ง ๆ ต้องใช้เส้นไหมยืน ประมาณ 2800-3200 เส้น
          3. เขาหูกหรือตระกอ คือเชือกที่ร้อยคล้องไหมยืน เพื่อแบ่งเส้นไหมเป็นหมวดตามที่ต้องการเมื่อยกเขาหูกหรือตระกอข้นก็จะดึงเส้นไหมเปิดเป็นช่องสามารถพุ่งกระสวยเข้าไปทำให้ไหมพุ่งลาดขัดกับไหมยืนได้ เขาหูกหรือตระกอมี 2 ชนิด คือ
          3.1 เขาเนื้อ ตระกอเนื้อ หรือตระกอขัดเป็นเขาหรือตระกอที่ใช้ทอเนื้อผ้าหรือผ้าพื้นธรรมดามี 2 ระดับ เขาเนื้อแต่ละระดับมีเส้นเชือกที่เรียกว่า “ไม้เยิ้งย่าง” ทั้ง 2 ข้าง และไม้เยิ้งย่างทั้ง 2 อันจะมีเส้นเชือกผูกแขวนไว้กับไม้ราวหูกอีกทีหนึ่ง
          3.2 เขาลาย หรือตระกอลาย เป็นเขาหรือตระกอที่ใช้ทอลวดลายยกดอก อาจมีตั้งแต่ 4-200 ระดับส่วนปลายทั้ง 2 ข้าง ของเขาลายแต่ละระดับจะแขวนไว้ที่ไม้ค้างตระกอทั้ง 2 ด้าน
          4. กระสวยหรือสาย คือ เครื่องมือที่ใช้บรรจุหลอดไหมพุ่ง สำหรับพุ่งสอดไประหว่างช่องของเส้นไหมยืน ทำให้เส้นไหม 2 ชนิดสานขัดกันจนเป็นเนื้อผ้าชิ้น กระสวยทำด้วยไม้หลาวโอนหรือไม้เนื้อแข็งอื่น ๆ ขนาดยาวประมาณ 25.30 ซม. กว้าง 2-3.5 ซม. ต้นและปลายเรียวตรงกลางมีช่องและแกนสำหรับบรรจุหลอดไหมพุ่ง นอกเหนือจากนี้กระสวยยังใช้บรรจุหลอดไหมหรือหลอดดิ้นซึ่งใช้ทอยกดอกกระสวยของกี่กระตุกจะต่างไปจากกระสวยหูก คือ กี่กระตุกมีรางให้กระสวยวิ่ง และก็กระสวยมีเชือกโยงสำหรับกระตุกดึงสายกระสวยพุ่งกลับไปกลับมาทำให้ได้ทอผ้าได้อย่างรวดเร็วและสะดวกยิ่งขึ้น
          5. ไม้หน้าหูก คือ ไม้ที่อยู่ส่วนหน้าสุดของหูก สำหรับผูกขึงลูกตุ้ม ทำด้วยไม้ใผ่ทั้งลำ ขนาดยาวประมาณ 152 ซม.
          6.ไม้ราวหูก คือไม้ที่พาดวางโครงหูกส่วนบนทำด้วยไม้ไผ่ทั้งลำ มี 3-4 ท่อน ยาวท่อนละ 196-170 ซม. ให้สำหรับผูกแขวนลูกตุ้ม ไม้ค้างเขา เขาหูกและฟืม
          7. กระดานม้วนหูก เป็นไม้กระดานที่ใช้ม้วนปลายด้านหนึ่งของเส้นไหมยืน ที่ม้วนเก็บและจัดเรียงเส้นเป็นระเบียบ นอกจากนี้ยังช่วยให้เส้นไหมในหูกขึงดึงโดยที่ปลายอีกด้านหนึ่งผูกติดหรือพันไว้กับไม้ม้วนผ้า ขนาดของกระดานม้วนหูกยาวประมาณ 142 ซม. กว้าง 15-18 ซม. ส่วนที่กระตุกมีแกนไม้สำหรับม้วนไหมยืน เรียกว่า “ระหัด” ขนาดยาวประมาณ 126 ซม.
          8. ลูกตุ้ง คือ ไม่ที่ใช้สอดค้างกระดานม้วนหูกมี 2 ลูก ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ยาว 56 ซม. หนาดานละ 4-5 ซม. เจาะเป็นช่องตามความยาวประมาณ 25 ซม. ส่วนหัวของลูกตุ้มเจาะรูสำหรับร้อยเชือกแขวนไว้กับราวหูก และต้องผูกยึดลูกตุ้งเพื่อให้ลูกตุ้งแกว่งให้กับไม้หน้าหูกเพื่อให้ลูกตุ้งแกว่งไปแกว่งมา แต่กี่กระตุกไม่มีลูกตุ้ง
          9. ไม้ก้างเขา หรือไม้ก้างตะกรอ เป็นไม้ 2 อันสำหรับแขวนเขาหูก หรือตระกอให้ทอลวดลายยกดอกทำด้วยไม้ขนาดยาว 30-35 ซม. ส่วนปลาย 2 ด้าน จะเจาะรูผูกเชือกแขวนไว้กับไม้ที่พาดขวางราวหูก
          10. ไม้นัดลาย คือ ไม้ที่ใช้สอดในระหว่างเส้นไหมยืน เมื่อยกตะกรอขึ้นเพื่อทำให้เกิดช่องว่างสำหรับพุ่งกระส่วยไหมหรือดิ้นที่ใช้ทอยกดอก ทำให้ลวดลายปรากฏบนเนื้อผ้า ไม้นัดลายทำด้วยไม้หลาวโอน ลักษณะแบน ๆ ปลายด้านหนึ่งมนแหลมเล็กน้อย มี 2 ขนาดคือ
                   10.1 ไม้นัดลายใหญ่ ใช้สำหรับการทดอผ้าไหมยกดอกตลอดผืน ขนาดยาวประมาณ 127 ซม.
                   10.2 ไม้นัดลายเล็ก หรือไม้นัดท่อน ใช้สำหรับการทอยกดอกเฉลพาะเชิงผ้า หรือการทอยกดอกที่ไม่มีลวดลายซับซ้อนนัก ขนาดยาวประมาณ 54 ซม. กว้าง 6 ซม.
          11. ตีนฟืม ตืนเหยียบ หรือคานเหยียบ คือ ไม้ 2 อันลักษณะกลมไม่ใหญ่นัก ยาวประมาณ 95 ซม. ผูกเชือกเชื่อมโยงกับเขาหูกซึ่งเป็นเขาเนื้อหรือตระกอขัด เพื่อใช้สำหรับเหยียบดึงเขาหูก 2 ตับ ให้รั้งไหมยืนขึ้นลงสลับกันและเปิดช่อง เมื่อพุ่งกระส่วยไหมเข้าในช่องเส้นไหมทั้งสองชนิด จะสานขัดกันเป็นเนื้อผ้าจำนวนและลักษณะการวางตีนฟืมของหูกและกี่กระตุกไม่เหมือนกัน คือ ตีนฟืมของหูกมี 2 คาน และวางขวางตามความกว้างของโครงหูก ส่วนตีนฟืมของกี่กระตุกมี 2-4 คาน จะวางทอดไปตามส่วนยาวของโครงกี่กระตุก
          12. ไม้ม้วน ไม้พันผ้า หรือพั้น คือ ไม้ที่ใช้ผูกปลายก้านหนึ่งของไหมยืน ซึ่งสอดผ่านฟันหวีแล้วหรือใช้ผ้าไหมที่ทอเป็นเนื้อผ้าแล้ว ทำด้วยไม้เหลี่ยมหนาด้านละ 4-5 ซม. ยาว 120-180 ซม. จะเป็นช่องเรียกว่านมพันหรือนมพั้น ยาว 110-125 ซม. ต้องตอกตะปูให้ปลายส่วนที่แหลมไผ่ออกมาเพื่อเกี่ยดึงเนื้อผ้าที่ทอแล้วให้ดึง นมพันหรือนมพั้นนี้ สมัยก่อนเชื่อกันว่าข้ามไม่ได้เพราะจะทำให้น่องเป็น “พั้น” คือน่องแข็งและตึง
          13. ปากี่ คือ ไม้ที่รองรับรับส่วนปลายสอบด้านของไม้ม้วน มี 2 หลัก สูงประมาณ 69 ซม. แต่ละหลักมีระยะห่างกันตามความกว้างของหูก
          14. ไม้นั่ง เป็นไม้กระดานที่ใช้สำหรับนั่งทอผ้า กว้าง 24-40 ซม. ความยาวของไม้นั่งเท่ากับความกว้างของโครงหูก
          15. ผัง เป็นไม้ที่ใช้ขึงไว้ตามความกว้างของริมผ้าที่ทอ เพื่อทำให้หน้าผ้าตึงพอดีกับฟืมและเพื่อให้ลายผ้าตรงไม่คดไปมาขระทอผ้า ส่วนปลายทั้งข้างผังจะผูกปลายเข็มไว้ใช้สอดริมผ้าทั้ง 2 ด้าม
 
การทอผ้าไหมพุมเรียง
5. การทอผ้าไหมพุงเรียง
        การทอผ้าไหมพุงเรียง คือ การสานขัดระหว่างไหมยืนและไหมพุ่งจำนวนมากจนเกิดเป็นเนื้อผ้าสำหรับการทอผ้าไหมยกดอกพุมเรียงนั้นอาจแบ่งวิธีการทอ ออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ
          5.1 การทอเนื้อผ้า มีขั้นตอนดังนี้
          ลับตระกอโดยใช้ส้นเท้าเหยียบคานที่ 1 รั้งตะกรอขัดที่ 1 ลงซึ่งจะดึงไหมยืนกลุ่มที่ 1 ลงมาด้วยตระกอขัดที่ 2 จะยกเส้นไหมยืนกลุ่มที่ 2 ขึ้น เกิดเป็นช่องว่างระหว่างเส้นไหมทั้งสองกลุ่ม พุ่งกระส่วยไหมพุ่งหรือไหมพื้นเข้าไปในช่องไหมยืน จากด้านขวาไปทางซ้าย ใน มือซ้ายรับกระส่วยทำให้เส้นไหมพุ่งหรือไหมพื้นสอดเข้าไปสานกับไหมยืน กระทบฟืมหรือฟันหวีเพื่ออัดเส้นไหมพุ่งให้ชิดกันเป็นเส้นตรง โดยใช้ฟืมกระแทกเส้นไหม 1-2 ครั้ง ลับตระกอโดยใช้ปลายเท้าเหยียบคานเหยียบที่ 2 ตระกอขัดที่ 2 จะรั้งเส้นไหมยืนกลุ่มที่ 2 ลง และตระกอขัดที่1 จะดึงเส้นไหมยืนกลุ่มที่ 1ขึ้น เปิดเป็นช่องระหว่างเส้นไหมทั้งสองกลุ่มอีกครั้ง แต่ตำแหน่งของเส้นไหมยืนจะสลับกัน คือ เส้นไหมยืนกลุ่มที่ 2 ซึ่งเดิมอยู่ข้างบนจะเปลี่ยนลงล่าง ส่วนไหมยืนกลุ่มที่ 1 ซึ่งอยู่ข้างล่างจะเปลี่ยนขึ้นบน พุ่งกระส่วยเข้าไปในช่องไหมยืนจากด้านซ้ายกลับมาทางด้านขวาให้มือขวารับกระส่วย เส้นไหมพุ่งหรือไหมพื้นที่จะสอดเข้ามาสานขัดกับเส้นไหมยืน กระทบฟืมหรือฟันหวีอันไหมพุ่งให้ชิดกันแน่นเป็นเส้นตรงอีกครั้ง
          5.2 การทอยกดอก มีขั้นตอนการทอดังนี้
          ยกไม้ลูกเขาดึงตระกอลายที่ 1 ซึกบนขึ้นและใช้เท้าเกี่ยวไม้ลูกเขารั้งตระกอลายที่ 1 ซีกล่างลง ทำให้ไหมยืนที่เป็นเส้นยกและเส้นข่มซึ่งร้อยด้วยห่วงของตระกอลายที่ 1 แยกเปิดเป็นช่องลอดไม้นัดเข้าไปในระหว่างช่องไหมยืนนั้น ปล่อยมือและเท้าที่ยกเกี่ยวตระกอลายที่ 1 ออก “ขัดนัด” ดังไหมยืนที่เป็นเส้นยกขึ้นปล่อยไม้นัดสอดค้างไว้ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างไหมยืนที่เป็นเส้นยกและเส้นข่ม ทำให้ไหมลายหรือดิ้นสอดเข้าไปในลานขัดไหมยืน แล้ว “ล้มนัด” ทำลายขัดพื้นผ้า 1 เส้น โดยเหยียบคานเหยีบหรือตีนฟืมเพื่อลับตระกอขัดสำหรับทอเนื้อฝ้าไหมยืนจะ “เบิก” (เปิด) เป็นช่องพุ่งกระส่วยไหมพุ่งหรือไหมพื้นไปอัดรวมกันเป็นเส้นตรงขัดนัด ดึงไหมยืนที่เป็นเส้นยกกลุ่มเดิมทำหเกิดช่องว่างระหว่างไหมยืนอีกครั้ง แล้วพุ่งกระส่วยไหมลายหรือิ้นกลับจากด้านซ้ายมาทางขวาแล้วล้มนัด ทำลายขัดพื้นผ้าอีกหนึ่งเส้น โดยเหยียบคานเหยียบหรือตีนฟืมเพื่อลัตระกอ ทำหไหมยืนเบิกเป็นช่อง พุ่งกระส่วยไหมพุ่งหรือไหมพื้นกลับจากด้านซ้ายทางด้านขวาแล้วกระทบฟืม 1-2 ครั้ง เพื่ออัดไหมลายหรือดิ้นไหมพุ่งหรือไหมพื้นให้รวมกันเป็นเส้นตรงอีกครั้งตระกอลายที่ 2 และตระกอลายต่อ ๆ ไป ก็ใช้วิธีเช่นเดียวกับตระกอลายที่ 1 เมื่อทอจะครบทุกตระกอลายก็จะได้ลวดลายเพียงครึ่งลายครึ่งดอกตามจำนวนลายที่เก็บตระกอไว้ ถ้าจะทอไหมครบเต็มดอกต้องใช้ตระกอลายเดิมโดยยกตระกอทวยกลับจากตระกอลายหลังสุดมายังตระกอลายหน้า
 
ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมพุงเรียง
          ผ้าไหมพุงเรียง มีทั้งผ้าไหมทอยกดอกด้วยหูกโบราณ ได้แก่ ผ้ายกชุดหน้านาง ผ้ายกชุดฝรั่ง ผ้ายกเฉพาะเชิง ผ้ายกดอกถมอย่างมีเกสร ผ้ายกเหล่านี้มีทั้งประเภทไหม 100% และไหม 90% ซึ่งยกด้วยดิ้นเงินดิ้นทองและไหมลายซ้อน ตั้งแต่ 2-5 สี และยังมีผ้าไหมที่ทอด้วยกี่กระตุก เป็นผ้าไหมพื้นสีต่าง ๆ ผ้าไหมซิ่นลายร่อง ผ้าไหมตาหมากรุกสลับสี และยังมีผ้าไหมพิมพ์ดอก ผ้าไสบ ฯลฯ ผ้าไหมเหล่านี้นอกจากจำนำไปตัดเป็นผ้าถุงสำเร็จรูป เสื้อและกระโปรงแล้ว ยังใช้ทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น กระเป๋าถือ กรอบรูป พวงกุญแจ ผ้าคลุมผม ดอกไม้ประดิษฐ์ ผ้าพันคอ เนคไท และแต่งบ้านเรือนต่าง ๆ เป็นต้น
          ส่วนการจำหน่ายมีทั้งขายปลีกและขายส่ง ช่วงระยะเวลาที่ขายดีอยู่ระหว่างเดือน มกราคม – มีนาคม และตุลาคม – ธันวาคม ซึ่งเป็นเทศกาลปีใหม่ และเป็นช่วงที่คนแต่งงานกันมาก สำหรับตลาดขายส่งที่สำคัญอยู่ที่กรุงเทพมหานครและหาดใหญ่ ตลาดในต่างประเทศได้แก่ สิงคโปร์ ส่วนใหญ่เจ้าของร้านจะเป็นผู้ติดต่อส่งขายเอง แต่บางที่ก็มีตัวแทนมารับซื้อถึงร้าน ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นมักจะพอดีกับการจำหน่ายมีเหลือไม่มากนัก เพราะโดยมากจะผลิตตามจำนวนที่มีผู้สั่งซื้อ แต่ผ้าไหมพุงเรียงก็เป็นสินค้าออกที่สำคัญอย่างหนึ่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี
 
 
 
หมายเลขบันทึก: 444146เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2011 16:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท