เครือข่าย เคียงลำโขง


โครงการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาลด้วยระบบพี่เลี้ยง


สายฝนพรำๆ ท่ามกลางความมืดมิด มีเพียงแสงไฟหน้าของรถตู้คันหนึ่งที่กำลังมุ่งสู่จังหวัดน้องใหม่ล่าสุดของประเทศไทย จ.บึงกาฬ ที่มีอาณาเขตเลียบติดแม่น้ำโขง เราใช้เวลาไม่นานกว่าสี่ชั่วโมง ก็มาถึงที่พัก รร.เจบี บ้านแพง จ.นครพนม นับไปนับมารถตู้วิ่งผ่านมาสี่จังหวัดเห็นจะได้ คราวนี้กำไรเห็นๆ (อุดรธานี สกลนคร บึงกาฬ นครพนม)


กลยุทธ์ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพหนึ่งในหลายๆ กลยุทธ์คือการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพโดยอาศัยคนในพื้นที่ ที่มีใจรักในงานคุณภาพและมีองค์ความรู้ สามารถช่วยเหลือกันและกันทั้งในด้านมาตรฐานและองค์ความรู้ในด้านต่างๆ ทดแทนทีม สรพ.ที่อาจจะมีกำลังที่ไม่เพียงพอ ร่วมกับระยะทางก็ไกลอยู่ไม่น้อยที่เราจะเดินทางมา (ข้อแก้ตัวที่น่ารัก ???) นับเป็นการมองการณ์ไกลของสรพ. โดยอ.แม่ต้อย และท่าน ผอ.ที่ได้ริเริ่มโครงการที่ดีนี้ขึ้นมา (ดีจริงๆ ค่ะ ฟันธง..)


เครือข่าย บึงกาฬนี้มีแกนนำที่เข้มแข็งคือท่าน นพ.ปราโมทย์ ศรีแก้ว ผอ.รพ.บึงโขงหลง รพ.ที่สวย สงบสุข และนพ.เอนก หล้าเพชร อายุรแพทย์ รพ.บึงกาฬ ขวัญใจชาวหมอลำเพลิน ..และทีมพี่เลี้ยงทีมีความมุ่งมั่นจากรพ.เซกา รพ.ศรีวิไล บุ่งคล้า บึงกาฬ และบึงโขงหลง


ได้เรียนรู้อะไรบ้างในนามของสรพ.และทีมพี่เลี้ยง 

  1.  ข้อดีของพี่เลี้ยงในพื้นที่ จุดได้เปรียบของพี่เลี้ยงมีมากมาย ได้แก่ 
  • การที่พี่เลี้ยงคุ้นเคย คุ้นหน้าคุ้นตา รู้บริบทของกันและกันดี ทำให้การต่อยอดกระบวนการพัฒนาคุณภาพนั้นไปได้สวย และอาศัยสัมพันธภาพที่ดี ความสนิทสนมเป็นบันไดเชื่อมต่อสู่การพูดคุยในเรื่องมาตรฐานและคุณภาพได้อย่างมาก ความต่อเนื่องในการติดตามและช่วยเหลือกันจึงมีตามมาด้วย เพราะกว่าสรพ.จะมาต่อเนื่องก็..อีกนาน.... รักแท้แพ้ใกล้ชิด เห็นจะจริงค่ะ
  • เครือข่ายของท่านผอ.รพ.และแพทย์ในพื้นที่ที่มีความสนิทสนมและมีองค์ความรู้ สามารถช่วยเหลือกันและกันได้

 

  1. เรียนรู้เรื่องการกระบวนการคุณภาพ

 

  • การพัฒนาคุณภาพเป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ การใช้ด้านใดด้านหนึ่งแบบสุดโต่งอย่างไม่สมดุลอาจจะทำให้เกิดคุณภาพแบบหลงทางได้ ดังนั้นองค์ความรู้วิชาการที่ทันสมัยจะช่วยให้คุณภาพนั้นตรงประเด็นและเข้าถึงความปลอดภัยผู้ป่วยได้มากที่สุด เราจะเห็นว่ารพ.ส่วนใหญ่ทำกิจกรรมทบทวนทางคลินิกมากมายแต่ไม่สามารถเข้าไปหาสาเหตุที่แท้จริงได้ หากผู้ที่ทบทวนนั้นไม่มีองค์ความรู้ที่เพียงพอ โดยเฉพาะความรู้ด้านมาตรฐานวิชาชีพ ความรู้เฉพาะทาง ซึ่งแม้แต่แพทย์(ส่วนใหญ่จบใหม่) ยังไม่สามารถมองประเด็นที่เป็นความเสี่ยงได้ ตัวอย่างเช่น 

       กรณีผู้ป่วยตั้งครรภ์แฝดและมี sign ของการคลอดก่อนกำหนด หากไม่มีองค์ความรู้ทางด้านสูติกรรมที่เพียงพอ อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้ป่วยมากขึ้น เช่นการ PV เป็นต้น   

  • การป้องกันความเสี่ยงตั้งแต่เริ่มแรกของการดูแลทันทีที่ผู้ป่วยมารับบริการ จะทำให้ป้องกันความผิดพลาด ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นต่อกระบวนการดูแลรักษาได้ ซึ่งทั้งนี้ก็ต้องอาศัยองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญมาช่วย เช่นการประเมินความเสี่ยงได้ตั้งแต่ในระยะฝากครรภ์ ถ้าไม่สามารถประเมินได้โอกาสจะมาประเมินตอนใกล้คลอดนั้นยากมากๆค่ะ (เรามักจะคุ้นกับข้อเสนอแนะของผู้เยี่ยมในเรื่องของการค้นหา Clinical risk ซึ่งก็ค้นแล้ว ค้นอีกไม่เจอ เพราะเราไม่รู้นั่นเอง)
  • ความเพียงพอของอัตรากำลัง ร่วมกับการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร ควรมีการดำเนินอย่างต่อเนื่อง หากไม่สามารถดำเนินการได้ การบริหารจัดการที่เหมาะสม หรือการเร่งพัฒนาความรู้ความสามารถของผู้ปฏิบัติงานหน้างาน จากความเสี่ยงที่พบ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการความรู้ จึงเป็นเรื่องที่ควรดำเนินการอย่างเร่งด่วน 
  • การ approach แบบขั้นเทพ เป็นทักษะที่จำเป็นของพี่เลี้ยงในการช่วยเหลือ กระตุ้นการพัฒนา ขั้นเทพในที่นี้หมายถึง การเป็นเพื่อนกัน การชื่นชม ให้กำลังใจ หาหนทางช่วยเหลือในทุกๆ ด้าน ราวกับเป็นกัลยาณมิตรที่ดี ไม่เน้นการประเมิน ไม่จับผิด ไม่คาดคั้น สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นให้มากที่สุด จุดเริ่มต้นของคำถามแรก เป็นประตูสู่บรรยากาศการเรียนรู้.. สังเกตว่าถามหาผลลัพธ์ก่อน..เครียดทุกราย .. เราควรเริ่มเรื่องราวจากตัวเขา เรื่องจากที่เขาทำก่อนเพื่อให้เขามีพื้นที่ สร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นในตัวเขา แล้วค่อยๆ ขยายออกไปสู่เรื่องอื่นๆ ที่เราวางแผนไว้ในใจ เช่นเรื่องมาตรฐาน ค่านิยม บริบทที่เกี่ยวข้องเป็นต้น ความไวต่อสถานการณ์และความรู้สึกจึงเป็นทักษะหนึ่งที่ควรฝึกฝนให้มากขึ้น  
  • การถามวิธีการและการถามวิธีคิด สองอย่างนี้ใช้คำถามที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง และมีที่มาของการตั้งคำถามที่ต่างกันด้วย หากทีมพี่เลี้ยงลองพิจารณาคำถามของตนเองที่ผ่านมา จะได้เรียนรู้วิธีการตั้งคำถามของตนเองมากขึ้น เราลองมาชวนกันตั้งคำถามที่ถามวิธีคิดกันให้มากยิ่งขึ้น เพราะวิธีการทำนั้นรพ.จะหาวิธีการด้วยตัวรพ.เอง.. 
  • การวางแผน การศึกษาข้อมูล รพ.ล่วงหน้า และการเตรียมตัวที่ดี ทำให้เกิดความมั่นใจในการสร้างการเรียนรู้ระหว่างกันมากขึ้น
  • สร้างการเรียนรู้ที่เรียบง่ายและนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง มีหลายครั้งที่ทีมรู้สึกว่ามีสิ่งที่ต้องพัฒนามากมายและเป็นสิ่งที่รพ.ต้องทำเพิ่มเติมอีกมาก ทีมจะสร้างการเรียนรู้ที่เรียบง่ายและสร้างขวัญกำลังใจให้ทีมมองเห็นประโยชน์ เห็นโอกาสเหมือนที่เรามองเห็นได้อย่างไร สิ่งที่เราแนะนำนั้นสามารถนำสู่การปฏิบัติได้อย่างไร เป็นประเด็นสำคัญเร่งด่วนหรือไม่... หากเป็นเราทำทุกอย่างที่ทีมพี่เลี้ยง 10 คนเสนอแนะ เราจะไหวไหม..พี่น้อง...(เขาเรียกว่าคิดเชิงระบบอ่ะนะ)

 

หมายเลขบันทึก: 443756เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2011 21:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 20:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เล่าเรื่องการทำงานแล้วทึ่งเลย ภาพสวยมาก  รออ่านอีก ฝากบอกแม่ต้อยด้วยว่าคิดถึงมากๆๆ

ขอบคุณบันทึกดีๆค่ะ อ.พอลล่า

ภาพสวยมากค่ะ

สวัสดี พรทั้งหล้า

เรื่องเล่า เล่าเรื่อง เล่าภาพ ประทับใจอ่านแล้วเหมือนนั่งอยู่ในวง

ขอมอบดอกไม้สำหรับเรื่องเล่าดีๆมีคุณภาพ และภาพสงบงดงามค่ะ..

Ico48
ขอบคุณมากค่ะ พี่ชู บันทึกเรื่องอุบลรัตน์แล้ว นะคะ อิอิ 

สวัสดีค่ะ

อ่านแล้ว เอามาประยุกต์ใช้ในงานได้เลยนะคะ

การค้นหาความเสี่ยง...

ถ้าหลายๆรพ. มีการตื่นตัว...พัฒนาตนเอง มีพี่เลี้งเก่งๆอย่างนี้

คงเป็นความโชคดี ของคนที่ป่วยไข้

Ico48
เหมือนท่านผู้เฒ่ามาอยู่ในวงด้วยค่ะ แป่ววว
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท