ทำไมต้องเล่าเรื่อง และเขียนเรื่องเล่า? (๒)


ในเช้าวันนั้นเกิดความเข้าใจในเรื่องนี้ขึ้นอย่างฉับพลัน  เข้าใจแล้วว่าเพราะอะไรเราจึงต้องทำให้เด็กเกิดความรู้ขึ้นจากการลงมือปฏิบัติด้วยตัวของเด็กเอง  ก็เพราะว่าปัญญามันต้องเกิดจากการลงมือปฏิบัติ  ไม่ใช่เพียงการคิดเอา  นึกเอา หรือเพียงฟังและจำมา  

 

แล้วความคิดจะมีประโยชน์ตอนไหน?  ก็ตอนที่ความรู้มันเกิดขึ้นแล้ว  กลับมานั่งใคร่ครวญ  ทบทวน จัดลำดับมันอีกครั้งอย่างไรล่ะ

 

ซึ่งนั่นก็คือตอนเขียนบันทึก  เพราะตอนนี้เราจะต้องลำดับเรื่องราว  รวมทั้งการใคร่ครวญไปในประเด็น what why และ how  เพื่อให้เกิดความกระจ่างอีกครั้งหนึ่ง 

 

และทำไมต้องเป็นเรื่องเล่า  เพราะเรื่องเล่ามีชีวิตชีวา  สร้างแรงบันดาลใจ  รวมทั้งเห็นบริบทของเรื่องราวได้ชัดเจนที่สุด

 

ในกรณีของเด็กนักเรียน  ขั้นตอนนี้ก็คือขั้นตอนการบันทึกความรู้ลงในสมุด  หรือการประมวลความรู้ ทั้งหมดเพื่อทำชิ้นงานสุดท้าย หรือการเขียน AAR เพื่อทบทวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับตัวเองว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และเมื่อไหร่นั่นเอง

 

และนี่คือความรู้ที่เกิดจากการได้ลงมือทดลองปฏิบัติกับตัวเองทั้ง ๓ เรื่องของดิฉัน  และท้ายที่สุด ความเข้าใจก็เกิดขึ้นผ่านการปฏิบัติ  หรืออาจเรียกได้ว่านี่คือ Active Learning อย่างดีที่เกิดขึ้นในชีวิตความเป็นครูเลยทีเดียว

 

หมายเลขบันทึก: 443316เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2011 15:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

การเขียน ทำให้เกิดการใคร่ครวญความคิด เกิดกระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้ แล้วประเมินค่าออกมา ... การเขียนมีพลังและมหัศจรรย์มากครับ ;)...

เรียน คุณครูใหม่

ปัญญามันต้องเกิดจากการลงมือปฏิบัติ ...เชื่อในหลักการนี้จริงๆ คะ

ด้วยส่วนตัว ถ้าได้อ่านอะไร จำได้สักพักก็ลืม แต่ถ้าอะไรที่ได้ทำ รู้สึกว่าทักษะเราเิกิดเร็วมาก

หรือว่าความจำเราเหมือนปลาทองหว่า (บ่นกับตัวเอง) ???

ขอบคุณสำหรับบันทึกดีๆ คะ

งานนี้ต้องขอบคุณคุณครูแคทเจ้าของประสบการณ์ดีๆ ค่ะ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท