เมื่อ "ทรัพยากร" พร้อม "สิ่งแวดล้อม" ก็ดีเอง


การมุ่งเน้นการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยมองข้ามระบบทรัพยากรระดับต่างๆ ย่อมนำมาซึ่งความล้มเหลวและผิดพลาดในการดำเนินงาน

ตั้งแต่มีการเริ่มตระหนักว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมน่าจะเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ ทำให้มีการผลักดันให้ตั้งสำนักงานสิ่งแวดล้อม ประมาณเกือบ ๔๐ ปีมาแล้ว จนพัฒนามาเป็นการก่อตั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ผมก็เริ่มมีความหวังจะเห็นประเทศไทย

มีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดี

ทั้งดิน ที่ดิน น้ำ แหล่งน้ำ อากาศ ต้นไม้ ป่าไม้ และสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ

มี การพัฒนาและฟื้นฟูให้ดี "ดังเดิม"

แต่หลังจากนั้น จนถึงปัจจุบัน

  • สถานการณ์ทุกด้านดูเหมือนจะ "เสื่อม" และ "โทรม" ลงไปเรื่อยๆ
  • อย่างไม่มีทีท่าว่าอัตราความเสื่อมโทรมจะชลอตัวลง หรือ หยุดลง
  • จึงไม่ต้องไปคาดหวังว่า ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม จะย้อนกลับไปสู่สภาพที่ดี แบบเดิมๆ ที่เราเคยมี

ไม่ว่าจะเป็น

ดิน และที่ดิน

  • เสื่อมโทรมลงแบบอัตราเพิ่มขึ้น
  • จากการใช้สารเคมีทางการเกษตร การพัฒนาเกษตรเพื่อการค้า ใครตายไม่ว่า ขอให้ได้ขาย 
  • ใช้เครื่องจักรกลขนาดใหญ่ทำลายดิน
  • และยังมีการเปลี่ยนการใช้ที่ดินที่ควรอนุรักษ์ไว้เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ไปเพื่อการผลิตแบบทำลายระบบนิเวศ
  • แหล่งอาหารธรรมชาติถูกทำลาย
  • สารพิษปนเปื้อนในอาหาร ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม
  • ภูมิทัศน์เสียหาย
  • ความหลากหลายของธรรมชาติลดลง

ทรัพยากรน้ำ และแหล่งน้ำ

  • ถูกทำลาย อย่างต่อเนื่อง 
  • ปนเปื้อนสารพิษ ทั้งที่เกิดจากชุมชน หัตถกรรม อุตสาหกรรม
  • เป็นที่ทิ้งหรือที่รวมของสิ่งปฏิกูล
  • สัตว์น้ำลดลง บางชนิดสูญพันธุ์
  • มีน้ำใช้ได้น้อยลง
  • มีการถมทางน้ำ ทำถนนขวางการไหลของน้ำ จนเกิดปัญหาน้ำแช่ขัง
  • น้ำเค็ม ดินเค็มแพร่กระจายมากขึ้น
  • นอกเหนือจากปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม
    • ที่ถือเป็นเหตุการณ์ "ปกติ" ประจำปี และยังไม่มีใครคิดจะแก้ไขอย่างจริงจัง
    • อย่างมากก็ทำแบบเฉพาะกิจระยะสั้นๆเท่านั้น

ต้นไม้ ป่าไม้

  • ถูกแผ้วถาง เผา และบุกรุก 
  • ความหลากหลายของป่าลดลง
  • อาหารธรรมชาติจากป่าลดลง
  • ระบบการทำการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ สมุนไพร และกิจกรรมของชุมชนพึ่งพาป่าไม้ได้น้อยลง
  • พื้นที่ป่าไม้สาธารณะ ที่เหลืออยู่บ้างรอบๆชุมชนกลายเป็นที่ทิ้งขยะ และสารพิษจากชุมชนต่างๆ แบบอยากใช้ของทีสร้างขยะ แต่ไม่อยากได้ขยะ 
  • ส่วนที่มีเอกสารสิทธิ์แบบต่างๆ ก็มักมีการทำลายมากกว่าการอนุรักษ์

อากาศ

  • ก็มีมลพิษแบบหลากหลาย ควัน ฝุ่น กลิ่น
  • ทั้งจากชุมชนและอุตสาหกรรม แบบแทบไม่มีแผนป้องกันแก้ไข แผนที่มีอยู่บ้างก็มักไม่ทันกับปัญหาที่เพิ่มขึ้น

ที่เป็นเช่นนั้น ดูเหมือนจะเกิดมาจาก

การมุ่งเน้นการจัดการสิ่งแวดล้อมแบบปลายเหตุ โดยมองข้ามระบบทรัพยากร และการจัดการในระดับต่างๆ ที่ย่อมนำมาของความล้มเหลวและผิดพลาดในการดำเนินงาน

แต่ถ้าเราหันกลับมาใช้ชื่อกระทรวงอย่างครบถ้วน

ทั้ง "ทรัพยากรธรรมชาติ" และ "สิ่งแวดล้อม" แบบคู่ขนานและผสมผสาน

โดยการวิเคราะห์ระบบทรัพยากร ที่ไป ที่มา ให้ครบวงจรแบบ "บูรณาการ" ที่ทั้งครบถ้วน สมบูรณ์

  • เข้าใจพื้นฐาน ที่เกิด ที่ไป ที่มา
  • ตั้งแต่ต้นคิด การดำเนินงาน กระบวนการ ผล และผลกระทบด้านต่างๆ
  • มีการประเมินผลกระทบแบบ "จริงๆ"
  • ไม่ใช่แบบที่ทำกันในปัจจุบัน
  • แบบ ที่ว่า "ประเมินอย่างไรก็ได้ ขอให้ผ่านก็แล้วกัน"

ก็น่าจะทำให้เราทำงานได้ตามเป้าหมายที่วางไว้

ทั้งนี้เพราะ

เมื่อเราสามารถดูแล และจัดการ "ทรัพยากรธรรมชาติ" อย่างพร้อมสรรพแล้ว "สิ่งแวดล้อม" ก็เป็นเรื่องที่จัดการแบบต่อเนื่องได้ไม่ยาก

นี่คือสิ่งที่ผมเข้าใจ และอาจเป็นต้นแนวคิดของวิธีการจัดการ "สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน"

การทำงานแบบ "รักษาอาการ" วิ่งตามกระแส แม้จะหนักหนาสาหัสและจริงจังขนาดไหน ก็ยากที่จะยั่งยืน

น่าจะลองมาแก้ไขปัญหา

  • แก้ที่ต้นเหตุ น่าจะ ยั่งยืนกว่า
  • ไม่ต้องไปขอให้ให้ใครทำ
  • ทุกท่านที่เกี่ยวข้อง "เริ่มที่ตนเองก่อน" แล้วทุกอย่างจะดีขึ้นมาโดยลำดับ

ผมเห็นมาอย่างนี้ คิดอย่างนี้ และพยายามทำในส่วนที่ผมทำได้ไปแล้ว

หวังว่าจะมีคนเห็นด้วยและทำจริงๆสักสองสามคน ก็พอใจแล้วครับ

 สวัสดีครับ

หมายเลขบันทึก: 443253เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2011 08:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

เรียนท่านอาจารย์ครับ

ดูเหมือนจะวิกฤติลงเรื่อยๆใช่เเล้วครับ...

สิ่งหนึ่งที่ผมมองก็คือ นอกจากเราจะมีกระทรวงที่ทำหน้าที่ดังกล่าวเเล้ว การสร้าง An effective citizen ก็สำคัญยิ่งกว่า ตรงนี้เองครับที่อาจารย์บอกว่า "เริ่มที่ตนเอง"

ตอนนี้อาการเรียนรู้ตนเองของสังคมเราก็ไม่ค่อยมี หากจะรื้อกระบวนการเรียนรู้ขึ้นมาทั้งหมด ก็เกี่ยวข้องกันไปหมด ส่วนกระทรวงทรัพยากรฯ ก็คงทำได้เท่าที่ทำได้...อย่างที่เห็นในปัจจุบัน

An effective citizen

น่าสนใจทั้งคำและแนวคิดครับ ได้มาจากไหนครับ

น่าจะลองนำไปขยายผลดูนะครับ

ผมเคยได้ยินแค่ "การเกิดของผู้รู้ นำความสุขมาให้สังคม"

ก็มีอะไรคาบเกี่ยวกันพอสมควรนะครับ

ขอบคุณครับ

สิ่งที่อาจารย์ทำ เเละ ทุกท่านทำก็ให้ความรู้เพื่อพัฒนาคนครับ

วันก่อนที่ไป บรรยาย+WS ที่ ม.ขอนแก่น

ก็มีการใช้คำนี้ เพื่อเป็นผลลัพธ์สุดท้ายในการทำรายวิชาการศึกษาทั่วไป

Sci. of learning ครับ

Yes, we do have to do --for oneself-- --by oneself-- and

yes, we do have to do --for ourselves-- --by ourselves-- and (these days)

we also have to stop some bastards (money mongers) from destroying what we are doing.

We spend years to grow things and make them better. Our work can be destroyed in minutes!

We have to be active in protection too. ;-)

ผมเห็นด้วยกับอาจารย์และขอสนับสนุนความคิดของอาจารย์ ครับ

ผมเรียนจบ วิทย์-สิ่งแวดล้อม มข. ปัจจุบัน ทำงานเกี่ยวกับการศึกษา ร่วมกับ หลากหลายสถาบัน

เคยคิดว่า การรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องใกล้ตัว แต่พอมาอยู่ในสังคมที่ไม่ได้อยู่ในวงการอนุรักษ์

ทุกอย่าง เป็นเรื่องไกลตัวมากครับ เพราะ ถ้าไม่เกี่ยวกับปากท้องตนเองแล้ว การอนุรักษ์ ถือว่าเป็นเรื่องยากครับ

ต้วมเตี้ยม....แมนส์

นั่นคือ ความจริงเสมือนของคนที่ความรู้ไม่พอใช้ครับ

เพราะเขาจะไม่เข้าใจ มองอะไรไกลกว่าหัวแม่เท้าตัวเองไม่เป็น

พอต้องมองให้ไกลกว่านั้น เขาก็จะบอกว่ามองไม่ได้ เพราะกลัวเท้าจะเหยียบหนาม หรือตกหลุม ต้องมองและระวังหัวแม่เท้าไว้ก่อน

ที่ไม่ผิดครับ

แต่ถ้าทำอย่างนั้น เขาจะข้ามถนนโดยปลอดภัยได้ไหม

  • คนที่ความรู้ไม่พอใช้จะคิดแบบนั้น และทำแบบนั้น
  • คนที่มีความรู้พอใช้ก็จะมองไกลกว่า และทำแตกต่างออกไป ที่สามารถพัฒนาตัวเองให้อยู่ได้ดีกว่าเดิม
  • คนที่มองแคบๆ ใกล้ๆ และกำลังทำลายตัวเองโดยไม่รู้ตัวครับ

ปล่อยเขาไปก่อน เราที่มีความรู้มากกว่า

  • ต้องทำตัวให้รอดเป็นตัวอย่างให้เขาเห็น
  • วันนี้เขามองไม่เห็น ไม่เชื่อ หรือทำไม่ได้ ก็ปล่อยเขาไปก่อน
  • วันหนึ่งเขาอาจจะมีบุญ วาสนาพอที่จะเห็น
  • วันนั้นเขาจะขอบคุณเราเอง
  • หรือ ไม่งั้น ยังไงก็ยังมองไม่เห็น ไม่เข้าใจ ก็เป็นกรรมของเขาเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ของแต่ละคน

  • เขามีกรรมของเขา
  • ปล่อยเขาไปครับ
  • เราช่วยเขาแล้ว และได้แค่นี้

เราจะได้ไม่ทุกข์ครับ

คงพอจะมองเห็นแนวทางนะครับ

ขอบคุณครับที่มาแสดงข้อคิดเห็นจากบางมุม (ที่ความรู้ไม่พอใช้)ของสังคมไทย ที่น่าสงสาร

นี่คือเป้าหมายสำคัญของการเขียนเรื่องนี้ครับ

ขอบคุณครับ

ผมเห็นวิดีโอใน Youtube ว่าใช้แกลบปลูกข้าวได้ มีรายละเอียดทำอย่างไร พอจะบอกเป็นวิทยาทาน ได้หรือเปล่าครับ

ขอบคุณครับ

http://www.youtube.com/watch?v=A1ECkugz4-Y

ถ้าไม่สะดวก บอกต้องนี้แจ้ง mail ไ้ด้ครับ

ลองเลยครับ

จากเครื่องสีข้าวกล้องนะครับ

แล้วจะรู้ว่าได้จริงๆ

อ่านในช่วงต้นเรื่องนั้นผมรู้สึกเหมือนกำลังอยู่ในห้วงความฝันว่ากำลังอ่านประวัติศาสตร์สภาพแวดล้อมไทยที่เกิดขึ้นหลายสิบหลายร้อยปีมาแล้ว แต่มันไม่ใช่ความฝัน มันคือความจริงที่เห็นได้ชัดทั่วไปและการทำลายล้างกำลังดำเนินอยู่และแผ่ขยายในอัตรารวดเร็วขึ้นทุกวัน

ผมเป็นอีกคนหนึ่งที่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับแนวคิดของอาจารย์และมั่นใจว่าได้ทำจริงมาแล้วและจะทำจริงต่อไปครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท