"หมายซิ่น" กับความเชื่อของชาวลับแล


เมื่อครั้งที่ได้ทำงานวิจัยเรื่องของการเชื่อมโยงเครือข่ายผ้าทอของจังหวัดอุตรดิตถ์และเครือข่ายผ้าทอของภาคเหนือตอนล่าง

ผมได้ทราบเรื่องความเชื่อของชาวลับแลเกี่ยวกับ

"หมายซิ่น"

 

 

คุณจงจรูญ (คุณโจ) ได้เล่าให้ผมฟังว่า

เมื่อก่อนที่ "ตีนซิ่น" ของผู้หญิงชาวลับแลสมัยก่อนจะมี "หมายซิ่น" ไว้ทุกผืน มีไว้เพื่อป้องกัน "คุณไสย" หรือ "มนต์ดำ" ต่าง ๆ ที่ผู้ชายมาจีบนั้นจะทำใส่ ครับ 

เมืองลับแล (เมืองคีรี หรือเมืองศรีพนมมาศ)
เมืองลับแลหาใช่เมืองนิยายที่ตกแต่งกันขึ้นตามจินตนาการ แต่ทว่าเมืองลับแลนั้นมีจริง เป็นดินแดนไทยส่วนหนึ่งที่อุดมยิ่งด้วยผลไม้หวาน สายธารใส ธารน้ำใจคนลับแลดี
 สาวชาวลับแลแสนงาม จนมีคำพูดที่กล่าวขวัญกันทั่วไปว่า     
 สาวลับแลยามตื่นนอนสวยกว่าสาวพระนครยามแต่งหน้า
 

แม้บรรดาคนทั่วไปในถิ่นบ้านสถานอื่น มีความเข้าใจว่าเมืองลับแลเป็นเมืองลี้ลับที่เต็มไปด้วยภัยร้ายนานาชนิดบ้าง เมืองกินคนบ้าง เมืองแม่หม้ายบ้าง หรือเมืองใต้พิภพ สุดแต่ความพึงพอใจของใครต่อใครที่จะว่ากันไป

แต่ทว่าความจริงแล้วเมืองลับแลใหญ่พอเป็นระดับเทศบาลเมืองได้ ถ้าหากต้อนผู้คนมาทั้งอำเภอ แต่ทว่าเป็นความจริงอีกนั่นแหละที่ลับแลมีฐานการปกครองเป็นอำเภอหนึ่งใน 9 อำเภอของจังหวัดอุตรดิตถ์

มีพุทธศาสนิกชนที่มีใจรักในการบำเพ็ญบุญสุนทร์ทาน ชาวเมืองรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีแบบอย่างไทยแท้อย่างภาคภูมิใจยิ่ง ไม่รักการใช้สีสันแต่งแต้มให้ผิดแปลกธรรมชาติจนเกินไป

ดำรงชีวิตความเป็นอยู่อย่างง่าย อุทิศความรักในมิตรกับความเป็นมิตรต่อคนอื่นอย่างดียิ่ง และที่สำคัญอันเป็นสิ่งที่ชาวลับแลรักที่จะประพฤติตลอดไป คือ         

 ภราดรภาพและเสรีภาพ

จากนั้นผมเองก็ได้ทราบ อ.อุทัย อีกครับว่า

แถวอีสานก็มีความเชื่อที่คล้ายคลึงกับชาวลับแลเช่นกัน

อ.อุทัยเล่าให้ฟังว่า ชาวอีสาน เวลาออกรบจะนำ "ตีนซิ่น" ของแม่ติดตัวไปด้วยทุกครั้ง

เพราะจะทำให้แคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวง

แต่ที่แตกต่างกันก็คือ ทางภาคอีสาน "ตีนซิ่น" จะอยู่ในลักษณะแนวนอน ช่วงล่างของผ้าซิ่น

แต่ของทางภาคเหนือ จะเป็นลักษณะแนวตั้งครับ

ภาพที่เป็นเป็นผ้าจกพื้นเมืองของชาวลับแลครับ

ถ้าได้ภาพผ้าซิ่นของชาวอีสานมาแล้วอย่างไร จะนำมาเผยแพร่ในคราวถัดไปครับ


ขอขอบพระคุณคุณจงจรูญ มะโนคำ

เอื้อเฟื้อภาพครอบครัวและภาพผ้าทอ

ผ้าจกย้อมสีธรรมชาติ ของชาวลับแล อุตรดิตถ์ครับ

 

หมายเลขบันทึก: 44323เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2006 14:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
เห็นซิ่นแล้ว อยากทราบว่า ซิ่นที่เห็นในภาพนี้ ราคาเท่าไหร่ครับ
  • ราคาขายอยู่ที่ประมาณ 10,000-15,000 บาทต่อผืนครับ นายบอน
  • เป็นซิ่นตีนจกย้อมสีธรรมชาติครับ
  • มีส่วนประกอบหลายส่วนมากครับ ตอนนี้ผมเองกำลังจัดทำบันทึกนำเสนอข้อมูล "กว่าจะมาเป็นซิ่นตีนจกเมืองลับแล" ครับ

 

Resize+of+dsc05748

  • หยิบภาพมาให้ดูก่อนล่วงหน้าครับ
  • ผ้าซิ่นตีนจกของลับแล อุตรดิตถ์
ทำไมภาพที่เอามาให้ดูก่อนล่วงหน้า ขี้เหนียวขนาดของภาพจังเลย เล็กจัง หรือจะรอให้ชมในบันทึกกว่าจะเป็นซิ่นตีนจก...
  • ต้องขออภัยเป็นอย่างยิ่งเลยครับ
  • อันนี้ต้องขอคำแนะนำจากนายบอนครับ ในเรื่องของการแทรกภาพในความคิดเห็นน่ะครับ
  • เผอิญแทรกมาแล้วได้แค่นั้นน่ะครับ
  • นายบอนมีเทคนิคแนะนำบ้างไหมครับ

หารูปผ้าซิ่นชาวอีสานไม่เจอคะ

ว่าจะเอามาร่วมแลกเปลี่ยนซะหน่อย

ภาคเหนือก็มีความเชื่อที่คล้ายคลึงกับภาคอีสานเช่นเดียวกัน

ชาวเหนือมีความเชื่อว่าหากเก็บตีนซิ่นของแม่ไว้กับตัวก็จะแคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ

ยิ่งเป็นซิ่นผืนที่แม่นุ่งแล้วคลอดเราด้วยแล้วยิ่งขลังมาก

เท่าที่ผมอ่านหนังสือมา พบเรื่องราวเกี่ยวกับผ้าซิ่นของแม่นี้

ก็มีปรากฏอยู่ในหนังสือ "แก้วลอดฟ้า" ตอนซิ่นอีแม่ ของมาลา คำจันทร์ครับ

ส่วนหมายซิ่นนั้นผมไม่แน่ใจว่าได้อ่านมาจากหนังสือเล่มใด แต่มีใจความที่จำได้คือ

หมายซิ่นนั้นเปรียบเสมือนลายเซ็นของผู้ทอ ที่เมื่อเห็นแล้วก็สามารถบอกได้ว่า ซิ่นผืนนี้ใครเป็นผู้ทอ

ผ้าตีนจกลับแลนั้น ถ้าเป็นไหมทั้งผืน ราคาจะอยู่ที่ประมาณหมื่นกว่าบาทไปจนถึงสองหมื่น

แต่หากเป็นซิ่นตีนจกไหมสอดดิ้นเงินดิ้นทอง ราคาจะอยู่ที่สี่หมื่นบาทขึ้นไป

แต่หากไหมดิบขึ้นราคา ดิ้นเงินดิ้นทองขึ้นราคา ซิ่นตีนจกลับแลก็จะมีค่ายิ่งขึ้น

หากใครมีไว้ครอบครอง ก็เก็บรักษาไว้ดีๆนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท