อาชีพที่ชาวพุทธต้องเรียนรู้คืออะไร..?


วิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางภาคใต้ของไทยในอาชีพดังกล่าวนี้คือ...

 

ในความมืดมิดของราตรีกาลยังคงมีแสงสว่างตรงกลางใจอยู่บ้าง  ในบ้านพักยังคงมีแสงไฟฟ้าสาดส่องมาให้ทำงาน เราคงไม่ต่างกันเท่าใดในหมู่คนทำงาน

เมื่อวานหลังเที่ยงวันไปแล้วผมเองต้องเดินทางไปร่วมงานของชมรมพุทธ ม. ทักษิณ ซึ่งจัดงานที่ใต้ตึกคณะศึกษาศาสตร์ห้องแหล่งเรียนรู้

ป้าศรีและยูมิในนามที่ปรึกษาชมรมพุทธ ม. ทักษิณ กำลังประชุมกับนิสิตชมรมพุทธ...

พอถึงเวลาประธานชมรมพุทธกล่าวเชิญยูมิเป็นประธานเปิดงานต่อด้วยการเชิญวิทยากรที่เชิญมา...วิทยากรเริ่มพูดตอนบ่ายโมงครึ่งและใช้เวลาบรรยายเกือบบ่ายสี่โมงเย็น

ท่านกล่าวทำนองว่า...เกิดเป็นเด็กน้อยแถวบ้านท่าข้าม อ. หาดใหญ่ จ. สงขลา เรียนจบระดับประถมแล้ว บิดามารดานำท่านไปบวชเป็นสามเณรอยู่ไกลบ้านจะได้กลับบ้านไม่ถูก เลยเป็นนักบิณฑ์ เรียนสายพระจบนักธรรมเอก ประโยค 4 แล้วจบ ป. ตรี ที่ มจร. วัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพ ฯ เป็นรุ่นเดียวกันกับองค์อธิการบดี ม. มจร. รูปปัจจุบัน ซึ่งจบ ป. ตรีมี 5 รูป แล้วท่านไปเรียนต่อปริญญาโทที่เมืองมัธราช อยู่ทางตอนใต้ของอินเดียอยู่ใกล้ศรีลังกา  พอจบโทกลับมา ผ้าเหลืองร้อนจะลาสิกขาไปเป็นอาจารย์สอนหนังสือเหมือนอาจารย์ ดร. อุทัย เอกสะพัง ( คนไหนหนอ )แต่ชีวิตให้เดินเข้าไปเป็นอนุศาสนาจารย์กองทัพบกภาคที่ 4และออกมาแล้วได้ 2 ปีตอนนี้อายุ 62 ปี

อาชีพรึนี่ไงมีอุปกรณ์คือ เชิงเทียน  สำลี  ยาหม่อง หรือน้ำมันนวดวัดแหลมทรายเมืองสงขลา เวลาชาวพุทธมีงานอะไรเขาก็เชิญไป  พอไปถึงต้องไปดูการตั้งโต๊ะหมู่บูชาว่าเรียบร้อยไหม  ถ้าสกปรกมีขี้ธูปเยอะก็ทำให้สะอาด บางทีพอจัดทำเสร็จพระมาพอดีเลยไม่ได้กินข้าวที่บ้านงานจัดให้พอเลิกงานก็ไปหากินเอาที่บ้าน

หน้าที่ก็กล่าวนำบูชาพระรัตนตรัย  จุดเทียนชนวนยื่นให้ประธานในพิธี อาราธนาศีล  อาราธนาธรรม ทุกอย่างจนถึงคำอำลาพระสงฆ์ที่มาสวดพุทธมนต์นั้นแล

แล้ววิทยากรก็สาธิตขั้นตอนต่าง ๆ ฝึกให้พกอาวุธคือไม้ขีดไฟ เทียนไขไส้ใหญ่  สำลี  และน้ำมันเพื่อใส่สำลีที่พันธูปเตรียมการ 

ล่วงหน้าให้พร้อมสรรพ...

ยามเย็นเกิดเสียงฝนตกฟ้าร้องเปรี้ยงปร้างได้เวลาเลิกอบรม..ยูมิถูกเชิญไปมอบของที่ระลึกแด่วิทยากรแล้วอำลา...

ท่าน พ.อ. อุรณ กับยูมิ

วิทยากรผู้เชี่ยวชาญในอาชีพดังกล่าวนี้คือ ท่านพันเอก อรุณ  นิลสุวรรณ  อดีตอนุศาสนาจารย์กองทัพภาคที่ 4 ท่านเป็นศิษย์มหาจุฬา ฯรุ่นพี่ของยูมิเองละ ตั้งแต่สึกมาท่านอาจารย์ยึดอาชีพพิธีกรสงฆ์มาโดยตลอด และเป็นอาชีพที่เราชาวพุทธต้องเรียนรู้ไงละ...

หมายเลขบันทึก: 443222เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2011 21:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ชอบ ประทับใจยังไง บอกไม่ถูกครับ อ.ยูมิ

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์ยูมิ

ผมเคยเห็นท่าน พ.อ. อุรณ มาบรรยายให้สามเณรภาคฤดูร้อนฟัง ที่วัดคลองเปล หาดใหญ่ฯ ปีไหนจำไม่ได้่แล้วครับ (น่าจะประมาณ ๒๕๓๘-๒๕๓๙) น่าประทับใจครับ (ผมมองท่านอย่างเดียวไม่ได้เข้าไปคุยด้วยครับ)

ท่านอาจารย์อยู่ ม.ทักษิณ อยากทราบว่า หอสมุด/ห้องสมุด/สำนักวิทยบริการฯลฯ มีหนังสือปรัชญาเยอะไหมครับ เมื่อเทียบกับ มอ.

ขอให้ท่านอาจารย์มีความสุขกับการทำงานครับ ตอนนี้ผมมาแอบสถิตย์อยู่แถวหาดใหญ่ กำลังหาหัวข้อทางปรัชญาอยู่ครับ

ขอบคุณครับ

อาชีพปิดทองหลังพระค่ะอาจารย์ยูมิ

สวัสดีครับ นาย เพชร พรหมสูตร์

อาชีพนี้อยู่ใกล้พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา

พอจับไมล์ พูดคำบูชาพระ อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์, แล้วละก็ คนที่คุยกันอยู่ต้องเงียบเสียงสนิท เพราะเป็นคำกล่าวศักดิ์สิทธิ์ ทุกคนต้องสงบเคารพพระธรรมกันละ...

พิธีกรสงฆ์เลยขลังไปด้วย กล่าวนำด้วยน้ำเสียงขึงขังเอาจริงเอาจังกันเลยทีเดียว...

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ คุณnmintra

ที่ ม. ทักษิณมีหนังสือปรัชญาพอประมาณครับ ผมเห็นหนังสือสายครูมีมากเพราะเดิมที่นี่ดังทางอาชีพครูครับ

สังเกตุว่า ม. ไหนจะมีหนังสืออะไรดูภาควิชาที่เปิดสอนนะครับ มอ. มีสายปรัชญาในการเรียนการสอนจึงมีหนังสือด้านนี้เยอะกล่าวผมว่านะ

อยู่หาดใหญ่คงสวนกันไปมาอยู่นะนี่...อิ อิ อิ

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ ท่าน ดร. จันทวรรณ ปิยะวัฒน์

เป็นอาชีพที่สงบใจ ร่มเย็นอยู่ในร่มธรรมทางพระพุทธศาสนานะครับผม

บางครั้งผมเองก็สวมบทบาทนี้อยู่เหมือนกัน ด้วยอาศัยว่าเคยเป็นนักบิณฑ์ (เคยบวชเป็นเณร เป็นพระ ) มาก่อนนั้นละ

หมู่นี้ไม่ค่อยเห็นท่านอาจารย์ไปจ่ายตลาดแถว มอ. นะครับผม...

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท