คนจนซื้อของแพง [EN]


สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง 'Minorities see bottled water as safer, buy more' = "คนกลุ่มน้อยเชื่อน้ำ (บรรจุ) ขวดปลอดภัยกว่า, (ยอด) ซื้อเพิ่ม", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ 
  • [ minority ] > [ ไม - น้อ' - รี - ถี่ ] > http://www.thefreedictionary.com/minority > noun = กลุ่มน้อย ชนกลุ่มน้อย มักใช้ในรูปพหูพจน์ (minorities) เนื่องจากชนกลุ่มน้อยมักจะมีหลายกลุ่ม
  • [ minor ] > [ ไม้' - เหน่อ ] > http://www.thefreedictionary.com/minor > adjective = น้อย น้อยกว่า เป็นรอง; verb = เรียนวิชารอง / สาขาย่อย (ไม่ใช่วิชาเอก สาขาหลัก)

___

  • [ majority ] > [ มา - จ๊อ' - หรี่ - ถี่ ] > http://www.thefreedictionary.com/majority > noun = กลุ่มใหญ่ ชนกลุ่มใหญ่
  • [ major ] > [ เม้' - เจ่อ ] > http://www.thefreedictionary.com/major > adjective = (ซึ่ง) ใหญ่ ใหญ่กว่า เป็นใหญ่; verb = เรียนวิชาเอก; noun = วิชาเอก พันโท / นาวาโท (ย่อ = Maj.)
___
อาจารย์กวาง ไกด์พม่ากล่าวว่า "ธรรมชาติของประเทศยากจน คือ เงินถูก-ของแพง", เงินถูก คือ ไปไหนต้องพกเงินเป็นหมื่นเป็นแสน (ประเทศอะไรขอให้เดากันเอง), แต่พอซื้อของจริงกลับได้แต่ของแพง (ไม่มีของถูก)
.
ตัวอย่างเช่น ค่าไฟ (ค่าขอใช้ไฟในพม่าไม่รวมค่าเสา = 50,000 บาท / ค่าซิมมือถือในพม่า = 80,000 บาทหรือมากกว่านั้น)-น้ำมัน-น้ำตาลในไทยราคาถูกกว่าเพื่อนบ้าน
.
ข้อควรระวัง คือ สินค้าไทยไม่ได้กินใช้เฉพาะในไทย ประเทศเพื่อนบ้านก็ใช้ของไทยเช่นกัน
.
ถ้าเราใช้ภาษีอุดหนุนสินค้าให้ราคาต่ำกว่ากลไกตลาด (ต้นทุนที่แท้จริง) = คนไทยจ่ายภาษีให้คนในประเทศเพื่อนบ้านใช้ของถูกลง
.
ธรรมชาติของโลกสมัยใหม่อย่างหนึ่งได้แก่ "คนจนซื้อของแพง" เช่น คนจนมีแนวโน้มจะสูบบุหรี่มากกว่าคนที่มีฐานะปานกลางขึ้นไป ทำให้กลิ่นบุหรี่แพงๆ เป็น "กลิ่นแห่งความยากจน-ล้าหลัง" มากขึ้นเรื่อยๆ
.
การศึกษาหนึ่งทำนายอายุหมออังกฤษ (UK) ไว้ประมาณ 25 ปีก่อนว่า หมออังกฤษ (คงจะไม่ใช่คนจน) จะมีอายุยืนกว่าประชากรทั่วไปด้วยเหตุผลหลัก คือ หมอสมัยใหม่ไม่นิยมสูบบุหรี่ (อีกต่อไป)
.
การสำรวจทำในกลุ่มตัวอย่างคุณแม่คุณพ่อ 632 รายที่นำคุณลูกไปรักษาที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลที่มิลวอคี สหรัฐฯ
.
ผลการศึกษา (ตีพิมพ์ใน Archives of Pediatrics & Adolescent Medicine) พบว่า คนอเมริกันกลุ่มน้อยซื้อน้ำประปาดื่มมากเป็น 3 เท่าของคนผิวขาว (white = ผิวขาว ชาวตะวันตก)
.
คนกลุ่มน้อยในการสำรวจนี้ได้แก่ อาฟริกัน-อเมริกัน (black), และฮิสแปนิค (hispanic มาจากภาษาสเปน แปลว่า สเปน; = คนที่อพยพมาจากอเมริกากลาง-ใต้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอดีตเมืองขึ้นสเปน ยกเว้นบราซิลเป็นอดีตเมืองขึ้นโปรตุเกส) 
.
น้ำประปา (tap water) ในประเทศพัฒนาแล้วใช้ดื่มได้ ทำให้ประหยัด ไม่ต้องซื้อน้ำขวด และอาจใช้วัดระดับการพัฒนาประเทศได้
.
นั่นคือ น้ำประปาประเทศใดสะอาด และท่อประปารั่วไหลน้อย, แสดงถึงระดับการพัฒนาที่สูง (เคยมีการสำรวจน้ำประปากรุงเทพฯ ว่า มีท่อรั่วมากถึง 40%)
.
คนอาฟริกัน-อเมริกัน (ถ้าไปเรียก 'black' ในสหรัฐฯ อาจทำให้โกรธกันได้) และฮิสแปนิคให้เด็กๆ ดื่มน้ำขวดอย่างเดียวมากถึง 1/4 (ประมาณ 25%), มากกว่าคนผิวขาว (8%)
.
คนกลุ่มน้อยเชื่อว่า น้ำขวดสะอาดกว่า ปลอดภัยกว่า และสะดวกกว่าน้ำประปา
.
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า น้ำประปาสหรัฐฯ มีสารอาหาร (nutrients) มากกว่าน้ำขวด โดยเฉพาะมีการเติมฟลูออไรด์ ทำให้ฟันแข็งแรง ลดเสี่ยงฟันผุ
.
การผลิต บรรจุขวด และขนส่งน้ำขวด 37,000 ล้านลิตร/ปี ในสหรัฐฯ มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม, น้ำเหล่านี้ราคาตั้งแต่ 60-90 บาท/แกลลอน ไปจนถึงมากกว่า 600 บาท/แกลลอน
.
คนกลุ่มน้อยใช้เงินซื้อน้ำขวดเฉลี่ย 600 บาท/เดือน มากกว่าคนผิวขาว (360 บาท/เดือน)
.
คนอเมริกันกลุ่มน้อยส่วนใหญ่ (ฮิสแปนิค ผิวดำ อินเดียนแดง) มีฐานะแย่กว่าคนอเมริกัน
.
คนกลุ่มน้อยที่มีฐานะดีหน่อย คือ คนกลุ่มน้อยที่อพยพมาจากเอเชีย ซึ่งกลไกที่เป็นไปได้ คือ คนเอเชียจำนวนมาก โดยเฉพาะที่อพยพจากเอเชียตะวันออก (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม) ทำตามคำสอนของขงจื่อ
.
ขงจื่อสอนให้ "ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ กตัญญู เคารพบรรพบุรุษ" สอดคล้องกับหลักมงคลธรรม หรือเหตุแห่งความเจริญ ทำให้ภูมิภาคตะวันออกไกลมีความเจริญมานับพันๆ ปี
.
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า หลักการพื้นฐานสำหรับการก้าวไปให้พ้นจากความยากจน คือ ขยันหมั่นเพียร ลงทุนเพื่อการศึกษา และ "อุดรูรั่ว" ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
.
ถ้าอยู่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว... ให้ดื่มน้ำประปาแทนน้ำขวด, ถ้าอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา... ให้ใช้ยา "ทำใจ" ต่อไป
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.
> [ Twitter ]
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 8 มิถุนายน 2554.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
  • ยินดีให้ท่านนำบทความทั้งหมดไปใช้ได้ > CC: BY-NC-ND.
หมายเลขบันทึก: 442961เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2011 07:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2012 10:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท