วิทยาศาสตร์อิสลามกับท่านอนตะแคงขวา


การนอนตะแคงขวา ดีที่สุข

+ วิทยาศาสตร์อิสลามกับท่านอนตะแคงขวา

      ศาสนาอิสลามถูกประทานลงมาเพื่อเป็นแสงสว่างแห่งมนุษยชาติ เป็นความเมตตาจากอัลลอฮ. ผู้ทรงสร้างมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทุกสิ่งบนโลกนี้ เพื่อมอบความสงบและศานติสุขแก่มวลมนุษยชาติ วิถีแห่งอิสลามคือวิถีแห่งธรรมชาติของสรรพสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น เป็นแนวทางการดำเนินชีวิติที่ไม่ขัดกับระบบของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เพราะถูกออกแบบโดยพระผู้ทรงปรีชาญาณ

      วิทยาศาสตร์ คือ การหาคำตอบหรือการพยายามอธิบายปรากฏการต่างๆที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติที่ถูกสร้างขึ้น โดยใช้กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ มีการตั้งสมมุติฐาน มีการทดลองเพื่อทดสอบสมมุติฐานและหาข้อสรุปในแต่ละเรื่อง ซึ่งทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่ได้มานั้นอาจจะถูกหรือผิดก็ได้ ขึ้นอยู่กับความแม่นยำและความสามารถในการหาคำตอบของผู้ที่คิดแบบวิทยาศาสตร์  

      เนื่องจากอิสลามเป็นวิถีแห่งวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์เป็นการหาคำอธิบายธรรมชาติ ดังนั้น วิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องย่อมสอดคล้องกับหลักาารศาสนาอิสลาม ย่อมขัดแย้งกับธรรมชาติของมนุษย์เช่นเดียวกัน ในระบบชีวิตของมุสลิม อิสลามได้สอนวิธีการดำเนินชีวิต ตั้งแต่เรื่องหลักใหญ่ เช่น การปฏิบัติศาสนกิจ การรับประทานอาหาร ไปจนจนถึงเรื่องละเอียด เช่น วิธีการเข้าห้องน้ำก้าวเท้าซ้ายเข้าก่อน วิธีการทำความสะอาดร่างกาย และวิธีการนอนที่ถูกต้องให้นอนตะแคงขวา  

      ท่านศาสนฑูตมุฮัมมัด - ขอความสานติจงประสบแด่ท่าน - ได้กล่าวว่า "เมื่อท่านต้องการที่จะเข้านอนก็จลอาบน้ำละหมาดเพื่อละหมาด หลังจากนั้นก็จงนอนตะแคงขวา" (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์)

      ท่านอิบนุก็อยยิม (เสียชีวิตปี 751 ฮ.ศ.) ได้กล่าวในหนังสือ "ซาดุลมะอาด (แบบฉบับท่านศาสนฑูต)" (4/166) ว่า: "และท่านอนที่ให้ประโยชน์มากที่สุดคือ การนอนตะแคงขวา เพราะอาหารในกระเพาะจะอยู่ในท่านี้ได้ดี เพราะกระเพาะจะค่อนอยู่ทางซ้ายเล็กน้อย...การนอนตะแคงซ้ายบ่อยๆจะเป็นอันตรายต่อหัวใจ เพราะอวัยวะต่างๆจะโถมทับมัน..."

      ข้างต้นือหลักคำสอนของอิสลามที่ครอบลุมรายละเอียดในชีวิตประจำวันที่สำคัญของเรา คือ เรื่องการนอน และเมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการค้นพบทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับศาสตร์แห่งการนอนจากบุคลากรผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ดังที่ปรากฏตามเว็ปไซต์ต่างๆ ในประเทศไทย

      นพ.ชนินทร์ลีวานันท์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คระแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า การพักผ่อนที่ดีที่สุดคือ การนอนหลับ มนุษย์ใช้เวลานอนหลับถึง 1ใน 3 ของอายุขัย ขณะนอนหลับท่านอนเป็นสิ่งสำคัญที่จะส่งผลให้ผู้นอนหลับสนิทตลอดคืน และตื่นนอนด้วยความสดชื่น ไม่รู้สึกปวดเมื้อย ซึ่งปกติคนทั่วไปคนเรานิยมนอนหงาย เพราะเป็นท่านอนมาตรฐานการนอนหง่ายที่เหมาะสมนั้น ควรใช้หมอนต่ำและต้นคอควรอยู่ในแนวเดียวกันกับลำตัว เพื่อไม่ให้ปวดคอ อย่างไรก็ตาม ท่านอนหงายไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคปอดและโรคหัวใจ เพราะกล้ามเนื้อกระบังลมจะกดทับปอดทำให้หายใจไม่สะดวก ส่งผลทำให้การทำงานของหัวใจลำบากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้มีอาการปวดหลังการนอนหงายในท่าราบจะทำให้อาการปวดรุนแรงขึ้นด้วย

      นพ.ชนินทร์ลีวานันท์ กล่าวว่า สำหรับท่านอนที่ดีที่สุด เมื่อเที่ยบกับท่านอนอื่นๆ คือ ท่านอนตะแคงขวา เพราะจะช่วยให้หัวใจเต้นสะดวกและอาหารจากกระเพาะจะถูกบีบลงลำใส้เล็กได้ดีทั้งยังช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

      ส่วนท่านอนตะแคงซ้ายซึ่งจะช่วยลดอาการปวดหลังได้ แต่ควรกอดหมอนข้าง และพาดขาไว้เพื่อป้องกันอาการชาที่ขาซ้ายจากการนอนทับเป็นเวลานาน อย่างไรก็ตาม ม่านอนตะแคงซ้ายอาจทำให้เกิดลมจุกเสียดบริเวณลิ้นปี่ เนื่องจากอาหารที่ยังย่อยไม่หมดในช่วงก่อนเข้านอนคั่งค้างในกระเพาะอาหาร

      ส่วนท่านอนคว่ำเป็นท่าที่ทำให้หายใจติดขัดพร้อมทำให้ปวดต้นคอ เพราะต้องเงยหน้ามาทางด้านหลังหรือบิดหมุ่นไปข้างใดข้างหนึ่งเป็นเวลานาน ดังนั้น ถ้าจำเป็นต้องนอนคว่ำควรใช้หมอนรองใต้ทรวงอก เพื่อป้องกันอาการปวดเมื้อนต้นคอ

      นี่คือตัวอย่างหนึ่งของวิทยาศาสตร์ที่สอดคล้องกับธรรมชาติของคนเรา และสอดคล้องกับหลัการอิสลาม

แหล่งอ้างอิง

1. อาบิร. (http://abir.igetweb/index.php?mo=3&art=25268)                                                                                                                                                                                                                         2.ผู้จัดการออนไลน์                                                                                                                                                                                                                                          (http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9490000148545)                                                                                                                                                                                                                                                                                3.Ibm (http://gotoknow.org/blog/ibm401/17769)

คำสำคัญ (Tags): #การนอน
หมายเลขบันทึก: 442306เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2011 10:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท