บันทึกประสบการณ์การทำงานโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข มหาวิทยาลัยนเรศวร


สรุปการเรียนรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการทำงานโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข โดยคณะกรรมการระดับคณะ ทพ.สส. มน.

สรุปการเรียนรู้และประสบการณ์ที่ผู้ดำเนินงานได้รับ (ทีมงานเกิดความเข้าใจต่อแนวคิดและการทำงานสร้างเสริมสุขภาพอย่างไรบ้าง ประสบการณ์ การเรียนรู้ต่างๆ ที่ได้จากโครงการนี้)

1. วิธีการบริหารจัดการโครงการสร้างสุขภาพในคณะ

          คณะกรรมการโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุขระดับคณะ เริ่มต้นจากการแต่งตั้งโดยคณบดี (อ.ทญ.ดร.กันยารัตน์ คอวนิช เป็นประธาน) โดยที่คณะกรรมการรร. ทพ.สส. เป็นแกนนำขับเคลื่อนกิจกรรมระดับคณะทั้งคิด ทำ ติดตามประเมินผล

 

2. ปัจจัยที่เอื้อต่อทีมและการทำงานสร้างสุขภาพในคณะ

    ปัจจัยที่เอื้อต่อทีมและการทำงานสร้างสุขภาพในคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร คือ คณบดีให้ความสำคัญกับการสร้างเสริมสุขภาพทำให้ได้รับการสนับสนุนในด้านต่างๆ เป็นอย่างดี นอกจากนี้ทีมงานที่มาจากทั้งการแต่งตั้งและชักชวนมีความกระตือรือร้น ตั้งใจทำงาน มีแนวคิดที่อยากจะทำให้เกิดโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุขเช่นเดียวกัน จึงมีพลังที่จะทำงานต่างๆ ด้วยกัน

 

3. ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานสร้างเสริมสุขภาพภายในคณะ

          คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีอุปสรรคในการทำงานสร้างเสริมสุขภาพ คือบางครั้งอาจารย์ บุคลากรและนิสิตมีงานประจำที่มากจึงไม่สามารถทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพเต็มที่

 

4. ผลงานเด่นหรือสิ่งที่ประทับใจในทีมและการทำงานสร้างสุขภาพภายในคณะ

          ผลงานเด่นในการทำงานสร้างเสริมสุขภาพของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพที่บูรณาการเข้ากับการเรียนการสอน เช่น โครงการสุขโข ด้วยโยคะ โครงการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ สู่อนาคตทันตแพทย์  โครงการสร้างเสริมสุขนิสัย ใส่ใจรักษ์สะอาด โครงการสร้างเสริมสุขนิสัย ใส่ใจรักษ์สะอาด โครงการการรณรงค์การรับประทานอาหารเช้า  โครงการ“Sick study Syndrome (3S) รู้ทัน ป้องกันได้” โครงการพิลาทิส (Pilates) ฟิตกายสบายใจ โครงการSmell for smile โครงการ “SMART TALK พูดได้ พูดดี” โครงการ  สื่อสร้างสรรค์ สื่อสร้างสัมพันธ์

          นอกจากนี้ยังมีโครงการที่สร้างเสริมการเรียนรู้ที่เป็นสุข โครงการเสริมสร้างศักยภาพนิสิตทันตแพทย์ก่อนการปฏิบัติงานในคลินิก และโครงการเสริมสร้างศักยภาพนิสิตสู่การเรียนวิชาชีพทันตแพทย์ และยังมีโครงการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนรู้จักการเสริมสร้างสุขภาพองค์รวม

   5. สิ่งที่ได้เรียนรู้ในฐานะกรรมการสร้างเสริมสุขภาพระดับคณะ

-            มีความรู้ความเข้าใจในการสร้างเสริมสุขภาพมากยิ่งขึ้น

-            ได้เห็นความร่วมมือร่วมใจของหลายๆ ฝ่ายในการทำงานร่วมกัน 

 

หมายเลขบันทึก: 441911เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2011 11:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 19:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท