อาหารกลางวันสำหรับคนทำงาน ในโรงพยาบาลพิจิตร


1 มิย.2554 ได้มีโอกาสพูดคุยแบบไม่เป็นทางการกับ นายแพทย์ประจวบ มงคลศิริ ผอก.รพ.พิจิตร

เรื่องราวของการให้บริการที่ดี เรื่องของไอเดียน่ะ

ท่านบอกว่า ภารกิจของเรานั้นจะต้องให้บริการผู้ป่วยและญาติด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

 สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ คนให้บริการหรือทีมต้องได้รับการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ซะก่อน

โดยเราปรับประยุกต์ความรู้สึกแบบไทย เป็นเครือญาติ เคารพกันมาใช้ในทางบวก

 จุดนี้แหละที่สำคัญ ตัวทีมผู้ให้บริการจะต้องเปี่ยมด้วยสิ่งนี้ ต้องมีความสุขอยู่ภายใน

เรื่องสำคัญก็คือการดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของคนทำงาน โดยเฉพาะกลุ่มที่ทำงานระดับล่าง

 

โดยเลือกทำเรื่องแรกๆ เลยนั่นก็คือ การเลี้ยงอาหารกลางวัน

โดยจัดให้สัปดาห์ละ 2 วัน (อังคาร ,พฤหัส)

ซึ่งจะปรับเปลี่ยนไปเป็นทุกวันหรือเปล่าขึ้นอยู่กับความลงตัวเรื่องการจัดการนะ

ตรงนี้ท่านเชื่อว่าในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้น่ะ อาหารแต่ละมื้อนั้นแพงทีเดียว

 ยี่สิบ สามสิบต่อมื้อ การที่ได้ประหยัดไปบ้าง ก็ทำให้ได้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น

 

ยิ่งถ้าคิดว่า ทำในจำนวนคนที่เป็นกลุ่มลูกจ้างทั้งหมดด้วยแล้ว สมมุติว่า

จำนวน 300 คน ก็ได้จำนวนความสุข 300 ความสุข

ได้การดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ต่อกัน 300 ดวงใจ 

ด้วยสิ่งที่กล่าวข้างต้น เมื่อทีมผู้ให้บริการเข็มแข็ง มีความสุข ท่านมั่นใจว่า

ก็จะส่งต่อความสุข ความช่วยเหลือไปยังผู้อื่น ไปยังผู้ป่วยและญาติ

บริการของเราก็จะดีมากๆ ในแบบที่เป็นธรรมชาติ

นี่ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว

 เมื่อนึกถึงผลลัพธ์ที่จะได้ มั่นใจ ครับว่าบริการดีๆ ต้องถึงมือ ผู้ป่วยและญาติ อย่างแน่นอน

หมายเลขบันทึก: 441888เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2011 10:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เห็นล่วย ๆ ๆ ทุกวันนี้ใส่ใจแต่ความรู้สึกของผู้ป่วยและญาติ คนกันเองไม่สนใจ คนกันเองเลยไม่ได้เอาใจมาทำงานด้วยหนะสิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท