สรุปงานวิจัยเรื่องการพัฒนาคอสแวร์ที่สอนบนเว็บ


ผลการศึกษาข้อมูลการพัฒนาคอสแวร์ที่สอนบนเว็บ

สามารถสรุปขั้นตอนและวิธีการในการจัดการบริหารการเรียนการสอนผ่านเว็บไซต์ได้ดังนี้

การออกแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บไซต์ ประกอบไปด้วยขั้นตอนต่างๆ 7 ขั้นดังนี้

ขั้นที่1 ขั้นการเตรียมตัว (Preparation Stage)

            ผู้สอนสามารถทำการออกแบบและสร้างสื่อการเรียนการสอนด้วยตัวเอง  ดังนั้นจึงควรจัดหาทีมงานใหม่ๆ เข้ามาหรือการพัฒนาตนเองหรือทีมงานด้วยการเข้าร่วมการประชุมทั้งการอบรมเชิงปฏิบัติการต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบการสอนสำหรับ             E-learning รวมทั้งทักษะเทคนิคต่างๆ เพื่อเตรียมการสำหรับการพัฒนาคอร์สแวร์  ในขั้นต่อๆ ไป

ขั้นที่2 ขั้นการเลือกเนื้อหา (Content Selection)

            การเลือกเนื้อหาวิชาต้องคำนึงถึงความเหมาะสม เช่น เนื้อหาวิชาที่เป็นรายวิชาเนื้อหาพื้นฐาน   และควรเลือกรายวิชาที่มีเนื้อหาที่เหมาะสม  นอกจากนี้ควรคำนึงถึงสิ่งสำคัญอีกประการในขั้นการเลือกเนื้อกานี้ คือ การวิเคราะห์ความ ต้องการในการใช้คอร์สแวร์  เพื่อปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอนในรายวิชานั้นๆ

ขั้นที่ 3 ขั้นการวิเคราะห์หลักสูตร (Curriculum Analysis Stage)

            ประกอบไปด้วยขั้นตอนต่างๆดังนี้

  • การตั้งเป้าหมาย  คือการกำหนดวัตถุประสงค์กว้างๆ หรือผลการเรียนโดยรวมที่

ผู้เรียนพึงได้รับหลังจากการเรียนในรายวิชานี้ ซึ่งบางที่ก็นิยมเรียกว่า วัตถุประสงค์ทั่วไป

  • การกำหนดคุณลักษณะของผู้เรียน  คือการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับผู้เรียน

ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย  หรือผู้ใช้ตัวจริงของคอร์สแวร์  ที่พัฒนาขึ้น เช่นพื้นฐานความรู้ในเนื้อหานั้น ความชอบ ระดับความกระตือรือร้น เป็นต้น เพื่อให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มผู้เรียน

  • การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการเรียน  จะต้องมีการพิจารณาถึง

สิ่งแวดล้อมทางการเรียนที่เกี่ยวข้อง  จากบริบทการเรียนรู้ที่ตกต่างกันส่งผลโดยตรงกับการออกแบบคอร์สแวร์ ผู้ออกแบบควรศึกษาทำความเข้าใจเพื่อให้การออกแบบมีความเหมาะสมสำหรับบริบทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนให้มากที่สุด

  • การวิเคราะห์ภาระงาน       การวิเคราะห์ภาระงานต้องทำการแตกเนื้อหาที่ซับซ้อน

ออกเป็นเนื้อหาย่อยๆ เพื่อที่จะหาลำดับการสอนที่มีประสิทธิภาพสูงสุด  ดังนั้นในการวิเคราะห์ภาระงาน จะต้องจัดประเภทการเรียนรู้ก่อน นอกจากนี้ยังมีการแบ่งทักษะย่อยในลักษณะเป็นขั้นตอน และลักษณะ ผสมผสาน โดยการนำเนื้อหามาวิเคราะห์และแบ่งออกเป็นขั้นตอนแล้วนำมาผสมผสานกัน

อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์ภาระงานนี้ จำเป็นที่จะต้องให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเนื้อหาเป็นผู้กระทำการวิเคราะห์

            ขั้นที่ 4 ขั้นการออกแบบหลักสูตร (Curriculum Design) มีขั้นตอนดังนี้

  • การกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม          ควรจะประสบความสำเร็จหลังจากที่

ได้เรียนรู้เนื้อหาในหน่วยการเรียนนั้นๆ แล้วผู้สอนจะต้องเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ชัดเจนและสามารถที่จะวัดผลได้ เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนออกแบบการสอนได้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ  และส่งผลให้ได้คอร์สแวร์ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

  • การวางแผนวิธีการวัดผล   ในขั้นนี้ผู้สอนสามารถว่างแผนล่วงหน้าอย่างคร่าวๆ ซึ่ง

วิธีการวัดผล ขึ้นอยู่กับชุดคำสั่งในการสร้างและนำเสนอข้อสอบตามที่แต่ละโปรแกรมได้จัดหาไว้เพื่อให้ผู้สอนใช้ในการวัดผลผู้เรียน

  • การทบทวนทรัพยากรสำหรับการออกแบบและส่งผ่านเนื้อหา  ในขั้นนี้ต้อง

มีการทบทวนเอกสาร (Materials) ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ผู้สอนหรือผู้ช่วยสอนควรจะจัดหาเอกสารที่เกี่ยวข้อง กับการออกแบบให้แก่ผู้พัฒนา ในกรณีที่เอกสารยังไม่สมบูรณ์ก็จำเป็นที่จะต้องจัดข้อมูล เอกสาร รวมทั้งสื่อต่างๆ เพิ่มเติมให้สมบูรณ์

  • การกำหนดกลยุทธ์การเรียนการสอน

            มีการตัดสินใน 5 ประเด็นด้วยกันได้แก่

        1. กิจกรรมก่อนการเรียนการสอน(Pre-instructional Activities)

            สิ่งที่จะต้องตัดสินใจประกอบด้วยวิธีการในการเร้าความสนใจผู้เรียน รวมทั้งการแนะนำวิธีการเรียนแก่ผู้เรียน รวมทั้งการนำเสนอวัตถุประสงค์แก่ผู้เรียน รวมทั้งมีวิธีการในการทำให้ผู้เรียนเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมของตน

        2. การนำเสนอเนื้อหา(Information Presentation)

            จะต้องกำหนอกลยุทธ์ในการจัดลำดับและโครงสร้างเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียน  นอกจากนี้ยังต้องมีการกำหนดปริมาณของเนื้อหา ให้เหมาะสมกับผู้เรียนด้วย

        3. การฝึกฝน(Practice)

            จะต้องจัดให้ผู้เรียนมีการฝึกฝนความเร็วเพื่อตรวจสอยความเข้าใจของตนเอง คือ จัดให้มีผลย้อนหลัง(Feed Back) เกี่ยวกับผลการเรียนของผู้เรียนซึ่งอาจอยู่ในรูปคะแนนหรือข้อความก็ได้

        4. การวัดผลการเรียนรู้ (Assessment of Leaning Outcomes)

            ควรมีการกำหนดคำถามสำหรับการทดสอบก่อนเรียน  ระหว่างเรียนและหลังเรียนและเกณฑ์ในการวัดผลการเรียน

        5. การติดตามผลและการซ่อมเสริม(Follow-up and Remediation)

            ผู้ออกแบบอาจจัดหากิจกรรมการเรียนเพิ่มเติมสำหรับผู้เรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของการซ่อมเสริมหรือการเรียนเสริมก็ได้

ขั้นที่5 ขั้นการพัฒนาการเรียนการสอน (Instructional Development Stage)

            ควรมีการเลือกสื่อที่ใช้ในการนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับเนื้อหาแต่และส่วน และ ผู้ออกแบบควรจะผลิตคู่มือการให้งานคอร์สแวร์ ควบคู่กันด้วยเพราะจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนสามารถขอคำแนะนำจากคู่มือได้ทุกเมื่อที่มีปัญหาเกี่ยวกับการใช้งาน

            ขั้นที่ 6 ขั้นการประเมินผล(Evaluation Stage)

            การประเมินผลสามารถระหว่างเรียนและหลังเรียน การประเมินผลระหว่างการเรียนเป็นกิจกรรมที่สอดแทรกไปกับการเรียนการสอน โดยผู้เรียนจะต้องทำข้อสอบเพื่อทดสอบว่าผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนที่กำหนดไว้หรือไม่และควรมีการประเมินหลังการเรียนด้วย เพื่อผู้สอนจะได้นำข้อมูลมาเปรียบเทียบกันในการประเมินนักศึกษาแต่ละคน

            ขั้นที่ 7ขั้นการบำรุงรักษา(Maintenance Stage)

            ผู้สอนควรมีการปรับปรุงเนื้อหาสารสนเทศใหม่ๆ เพื่อให้ทันสมัยอยู่ตลอกเวลา นอกจากนี้ควรมีการสร้างแฟ้มคำถามถามบ่อย (FAQs) เพื่อหลีกเลี่ยงการตอบคำถามที่ถามซ้ำกันด้วย

 

            ข้อได้เปรียบของการใช้ระบบบริหารจัดการรายวิชา

            1. ระบบบริหารจัดการรายวิชาช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ในการจัดการการสอนในลักษณะ e-learning โดยการจัดเครื่องมือต่างๆ ให้ ผู้สอนอย่างครบครัน โดยที่ไม่ต้องเรียนรู้การเขียนโปรแกรมเพิ่มเติม  ทำให้ผู้สอน ที่ไม่มีทักษะทางคอมพิวเตอร์มากนักก็สามารถเข้าถึงระบบ   e-learning ได้

            2. โครงสร้างของระบบบริหารจัดการรายวิชาที่ไม่สลับซับซ้อนทำให้ผู้สอน  และผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเสียเวลาในการเรียนรู้การใช้งานนาน และไม่ต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม ผู้ให้ต้องการเพียงเบราเซอร์ในการเปิดเข้าศึกษาเนื้อหา

            3. ศักยภาพในการบูรณาการการจัดการรับข้อมูลผู้เรียน สถิติการเข้าใช้ การตัดเกรดการจัดการสอบของระบบบริหารจัดการวิชาทำให้ผู้สอนสามารถที่จะจัดให้ผู้เรียนตรวจสอบความเข้าใจของตน และวัดระดับความสามารถของผู้เรียน รวมทั้งวัดคุณภาพของการเรียนการสอนโดยรวม

            4.การใช้ระบบเดียวกันทั้งสถาบันทำให้มีความคงที่ในด้านของส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (User interface) ทำให้ผู้ใช้โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนได้ประโยชน์จาการที่ไม่ต้องมัวเสียเวลาในการทำความคุ้นเคยกับการใช้งานหรือด้านเทคนิคและสามารถทุ่มเทความสนใจกับเนื้อหาการเรียนแต่เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ความคงที่ในด้านระบบยังช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคทำงานสะดวกและง่ายขึ้น     

 

 

            ข้อจำกัดของการใช้ระบบบริหารจัดการรายวิชา

            1.    หากเลือกใช้ระบบบริหารจัดการรายวิชาที่มีการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ไม่เหมาะสม ทั้งผู้เรียนและผู้สอนจะพบปัญหามากในการใช้งาน

            2.  บางระบบออกแบบไม่ยีดหยุ่น ทำให้จำกัดการใช้งานยึดติดอยู่กับเครื่องมือบางตัวเท่านั้น โดยไม่สามารถเลือกใช้ได้หลากหลายหรือเลือกพัฒนาเครื่องมือเพิ่มเติมได้เอง

            3. ราคาของระบบบริหารจัดการรายวิชายังแพงอยู่มาก  และบางครั้งการตัดใจเลือกซื้อกลับไปอยู่เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคแทนผู้ที่ได้ใช้งานจริงคือผู้สอน  และผู้เรียนดังนั้นการพิจารณาซื้อจึงให้น้ำหนักมากไปในด้านของความยาก-ง่ายในการลงโปรแกรมและดูแลรักษาแทนการใช้งานที่เหมาะสมสำหรับการเรียนในลักษณะ e-learning   

 

สรุปและข้อเสนอแนะ

            จากการศึกษาระบบจัดการการบริหารการเรียนรู้ผ่านเว็บไซต์ทำให้เราสามารถทราบถึงปัจจัยสำคัญของการพัฒนาการเรียนรู้นั้นคือ  ระบบจัดการบริหารจัดการรายวิชาและหลักการออกแบบคอร์สแวร์ที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งของ E-learning และทราบข้อดีข้อเสียของการจัดการนี้รวมถึงข้อได้เปรียบและข้อจำกัดของการใช้ ระบบจัดการการบริหารการเรียนรู้ผ่านเว็บไซต์นี้

 ซึ่งสามารถสรุปประโยชน์ที่ได้จากการนำระบบบริหารจัดการเรียนการสอนนี้มาใช้ได้ดังนี้

  • · มีการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบ สามารถค้นหาสื่อการสอน หรือบทเรียนที่เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็ว
  • · สามารถเข้าใช้งานได้จากทุกที่ ทุกเวลา
  • · มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
  • · มีการแบ่งกลุ่มการเข้าถึงข้อมูล ตามสิทธิ์ของผู้ใช้
  • · มีระบบติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface) ที่สอดคล้องกันทุกวิชาทำให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่ายและรวดเร็ว
  • · มีเครื่องมืออำนวยความสะดวก พร้อมอยู่ในระบบเดียว
  • · ใช้เทคโนโลยีใหม่ โดยผู้ใช้ไม่ต้องเรียนรู้ใหม่

           

            แนวทางสำหรับการประยุกต์ข้างต้นให้ประสบความสำเร็จนั้นอยู่ที่รับจะต้องให้ความสนใจทางด้านการฝึกอบรมครูอาจารย์ให้เข้าใจเทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นมากกว่านี้ ต้องมีความพร้อมในด้านต่างๆ มากกว่านี้ และควรใช้กลวิธีดำเนินการแบบค่อยๆโต จะดีกว่าการจัดเป็นโครงการใหญ่เลยและควรสนใจในเรื่องของการรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต โดยเจ้าของระบบ e-learning ต้องกำหนด ตรวจสอบความปลอดภัยของข้อมูล ฐานข้อมูลและบทเรียน เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีใครมาทำลายให้ข้อมูลเกิดความเสียหายได้ และต้องเข้าใจว่าระบบจัดการเรียนการสอน ไม่ได้เหมาะกับทุกวิชา โดยเฉพาะหลักสูตรที่ต้องการการเข้าห้องปฏิบัติการ เพื่อการทดลองหรือฝึกทักษะ เช่นวิชาวิศวกรรมศาสตร์บางจำพวก วิชาแพทยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิชาพลศึกษา วิชาจิตวิทยา เป็นต้นและควรคำนึงถึงหัวใจสำคัญของการเรียนรู้ซึ่งก็คือ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น อย่างเช่นที่ผู้สอนทำการถ่ายทอดให้ผู้เรียนในห้องเรียนปกติทั่วไป

            ดังนั้นผู้เรียนจึงควรมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันไม่ว่าจะเป็นระหว่างผู้เรียนเองหรือระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนเพื่อให้เกิดความเข้าใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้นและผู้เรียนควรมีความรับผิดชอบต่อตนเองในการเรียนระบบ e-learning นี้ด้วย

การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการศึกษาทำได้หลายวิธี มีทั้งการเรียนการใช้ในด้านการเรียนการสอน การศึกษาทางไกล การสื่อสารในระบบเครือข่าย การใช้ในงานห้องสมุด การใช้ในห้องปฏิบัติการ และการใช้ในการบริหารจัดการ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 441886เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2011 10:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท