ส่งต่อมาให้อ่าน


Every day is a joy. Every hour is a joy.

ติดต่อแต่ไม่ได้สื่อสาร  คนไทยส่วนมากได้แต่ส่งต่อ Forward อีแมล แต่ไม่ยอมที่จะเสียเวลาแม้แต่จะเขียนข้อความแม้แต่คำเดียว  คนรับอยากจะรู้เรื่องราวที่เกี่ยวขึ้นกับผู้ส่งมากกว่าข้อความในอีแมล  คุณว่าจริงหรือเปล่า

อนุทินข้างบนนี้เขียนไว้ตั้งแต่ปีที่แล้ว   

วันนี้ได้รับอีแมลจากเพื่อนร่วมทำงานซึ่งลาออกจากงานเมื่อเดือนเมษายน  เธอคนนี้เป็นคนที่แนะนำผมให้ซื้อกล้องดีๆมาใช้  เพราะเป็นนักถ่ายรูปด้วยกัน  ได้รับจดหมายแล้วดีใจ เพราะความคิดที่ผมเคยเขียนมา เป็นความจริงสำหรับผม  ถ้าเธอเพียงแต่ forward email มาให้ ผมก็คงจะรู้สึกเฉยๆ เพราะไม่รู้จะตอบกลับอย่างไร ข้างล่างเป็นข้อความของอีแมลเธอครับ

 

Hi,
 
Last night we were watching a travel show about Thailand.  It really made me miss you.  I realized that I didn't even know what part of Thailand you are from.
 
So how is everything with you?  How is work?
 
All is well here.  Every day is a joy.  Every hour is a joy.  We're in the middle of a huge home project now -- we're having painters paint almost all the interior walls of our house.  So there are tarps and paint pails and disruption everywhere.  But it's going to be beautiful when it's done.
 
We had a great time camping a couple weeks ago.  The temperature got down to 26 degrees the first night, which I think is the coldest night we have ever spent in a tent.  But we were cozy warm wrapped in all our sheepskins.
 
I miss my Company family, but I sure don't miss the work.  I'll stop by the office sometime this summer and I'll be sure to stop by your cube.  Until then... take good care of yourself.
 
Judy
คำสำคัญ (Tags): #ติดต่อสื่อสาร
หมายเลขบันทึก: 440592เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2011 09:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • สวัสดีค่ะ
  • ลำดวนเป็นหนึ่งที่ตอบตามน้ำ
  • แต่จะเพิ่มคำขอบคุณถ้าข้อความดีๆ
  • ต่อไปนี้ควรต้องแสดงความคิดเห็นหรือต่อยอดค่ะ
  • ขอบคุณที่อาจารย์แวะมาให้กำลังใจเสมอๆ
  •  ผมเคยส่งต่อจดหมายลูกโซ่เป็นประจำ 
  • แต่ตอนนี้เลิกส่งต่อแล้ว พอเลิกส่งต่อไปนานๆ ชาวบ้านเขาก็เลิกส่งให้  เพราะเราไม่ส่งตอบ 
  • แต่ตอนนี้เริ่มคิดถึงจดหมายส่งต่อ เพราะอย่างน้อย เราก็ยังรู้ว่าเขาคงอยู่ดี 
  • ไม่ใช่สูญหายตายจากกันไปเลย
  • อีกอย่างดูรายชื่อบุคคลต่างๆ ในจดหมายส่งต่อก็สนุกดี
  • มีบางคนรู้จักบ้าง แต่ส่วนใหญ่จะไม่รู้จัก
  • ทำให้เราพอจะรู้ว่า  เราเป็นเพื่อนระดับไหน
  • และเพื่อนเรานับเราเป็นลำดับที่เท่าไร
  • เพลินดีเหมือนกันครับ

       "ติดต่อแต่ไม่ได้สื่อสาร (Contact without Communication)" เป็นสำนวนที่ประทับใจ ตั้งแต่ที่ได้อ่านในบันทึกของคุณคนบ้านไกลครั้งก่อนๆ "I realized that I didn't even know what part of Thailand you are from."       ประโยคหนึ่งใน e-mail ของ Judy คนที่เคยเป็นเพื่อนร่วมงานส่งถึง "คนบ้านไกล" ทำให้นึกถึงความแตกต่างในการติดต่อสื่อสารของคนเมืองและคนชนบท และของชาวตะวันตกและชาวตะวันออก (The Westerners/Easterners) 

       ชาวชนบทในหมู่บ้านหนึ่งๆ จะรู้จักกันหมด ต่างจากชาวเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกทม.ที่คนพักอาศัยอยู่ในห้องติดกันแท้ๆ แต่ไม่เคยพูดจาทักทายกัน มี "นิทานก้อม (เรื่องเล่าตลกๆ)" ที่ศึกษานิเทศก์หนุ่มจากอ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ซึ่งไปเรียนปริญญาตรีที่ม.ศรีนครินทรวิโรฒ เล่าให้พี่และเพื่อนๆ ฟังในปี 2517 (ปีแรกที่พี่ไปเรียนปริญญาโท)  เรื่องมีอยู่ว่า...ทิดบุญมี ชาวเสลภูมิ (คำว่าทิดมาจากคำว่า "บัณฑิต" หมายถึงผู้ที่ผ่านการบวชเรียนมาแล้ว) เดินทางเข้าไปหางานทำที่กทม. เมื่อลงจากรถที่หมอชิตต้องการจะไปพบทิดจันทีที่เข้ากทม.มาทำงานก่อนหลายเดือนแล้ว ก็เลยไปเที่ยวเดินถามใครต่อใครว่า "รู้จักทิดจันทีบ่ฮึ...รู้จักทิดจันทีบ่ฮึ.......แปลว่ารู้จักทิดจันทีไหม" ซึ่งก็น่าเวทนาทิดบุญมีที่ทุกครั้งที่ไต่ถามจะได้รับการสื่อสารกลับมาเพียงแค่ "การส่ายหน้าโดยปราศจากวาจาใดๆ" การที่ทิดบุญมีเข้าไปไต่ถามก็ด้วยเข้าใจว่า ชาวกทม.จะเหมือนคนในหมู่บ้านหนองหมาว้อของตน ที่ทุกคนในวัยผู้ใหญ่จะรู้จักกันหมด คือ รู้จักหน้าตา ชื่อเสียงเรียงนาม และรู้ว่าเป็นลูกเต้าเหล่าใคร บ้านอยู่ที่ไหน

        และตอนที่พี่เดินทางไปพบ Dr. Leonard King ที่ ECU, Perth, Western Australia (ปี 2001) วันหนึ่งพี่ไปไม่ทันรถบัสที่วิ่งผ่านหน้า Campus ไม่อยากเสียเวลารอคันต่อไปที่จะมาถึงใน 30 นาทีต่อไป ก็เลยขึ้นรถคันที่วิ่งผ่านด้านหลัง Campus ซึ่งไม่ต้องรอเพราะมาถึงพอดี พี่เคยใช้บริการรถที่ผ่านด้านหลังโดยไปกับเพื่อนเพียงครั้งเดียว ก็เลยจำที่ลงผิดไปทำให้ลงผิดที่ และหนักเข้าไปอีกที่สอบถามคนที่ป้ายจอดรถได้ความว่า รถคันต่อไปจะมาถึงในอีกชั่วโมงข้างหน้า พี่ก็เลยเข้าไปถามคนที่กำลังทำงานซ่อมถนนว่ารู้จัก Campus ที่พี่จะไปไหม เขาบอกรู้จัก พี่ถามว่าไกลไหม เดินไปได้ไหม เขาบอกว่า ไม่ไกล เดินไปได้ พี่ถามว่าใช้เวลาเท่าไหร่ เขาอบว่า 15 นาที (แต่พี่คงขาสั้นและไม่คุ้นเส้นทางจึงใช้เวลาชั่วโมงเศษ) เวลาบอกเส้นทางในเอเชียก็จะมีเฉพาะคำอธิบายและใช้มือชี้บอกว่าไปทางโน้นทางนี้ แต่ชาวตะวันตกเขาจะใช้แผนเป็นอุกรณ์ประกอบการสื่อสาร อย่างที่พี่ถามเขาว่า Campus อยู่ทางไหน เดินไปยังไงเขาก็ไปหยิบแผนที่จากรถแล้วอธิบายให้ฟังว่า ขณะนี้ คุณอยู่ตรงนี้ Campus อยู่ตรงนี้ ให้คุณเดินไปตามถนนเส้นนี้พอถึง..ให้เลี้ยวซ้าย...ซึ่งทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้มากกว่า        

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท