ประชันความไพเราะของเพลงร้องทำนองไทย ค่ายสมาน vs. ค่ายสุนทราภรณ์ ตอนที่ ๑๗ ทำนอง “ห่วงอาลัย” ระหว่างเพลง “เดียวดาย” กับ “ห่วงรัก”


 

เพลงห่วงอาลัย

เพลงห่วงอาลัย เดิมชื่อแขกปัตตานี  แขกในคำไทยเป็นคำเรียกรวมๆ หมายถึงคนที่นับถือศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ซิกข์ หรืออิสลาม ก็ได้  แต่เมื่อระบุแขกปัตตานี จึงมีความหมายเจาะจงหมายถึงแขกมลายูหรือแขกชวาที่มีศิลปะด้านดนตรีนาฏศิลป์ อันเป็นรากฐานของศิลปะการแสดงของไทยหลายชนิด เช่น ลิเก ลำตัด หนังตะลุง เพลงนี้มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก เช่น ห่วงหาอาลัย หรือ อิเหนาครวญ แต่ชื่อ ห่วงอาลัย หรือแขกปัตตานี เป็นที่รู้จักมากที่สุด

 

เพลงห่วงอาลัย เป็นเพลงอัตราจังหวะสองชั้น ท่อนเดียว ทำนองเก่า ใช้บรรเลงประกอบการแสดงละคร สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงนำมาให้ร้องในละครดึกดำบรรพ์ เรื่อง "อิเหนา" ในตอนไหว้พระ  ภิญโญ วัฒนายากร นักดนตรีอาวุโสของจังหวัดสงขลา ได้นำทำนองสองชั้นของเก่ามาแต่งขยายและแต่งตัด พร้อมทั้งแต่งเที่ยวกลับเป็นทางครบเป็นเพลงเถา เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๓๒ โดยมีวัตถุประสงค์จะให้เป็นอนุสรณ์แก่จังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นสถานที่เกิดของผู้แต่ง

 

โน้ตเพลงและผังการร้องเพลงห่วงอาลัย ๒ ชั้น คำร้องของเพลงนี้เป็นบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี บทพระราชนิพนธ์บทนี้เดิมพระราชทานชื่อว่า "แลจันทร์" พระราชนิพนธ์เมื่อครั้งที่ทรงศึกษาอยู่ในโรงเรียนจิตรลดา พ.ศ. ๒๕๑๐

 

ครั้นสิ้นแสงสุริยันจันทร์กระจ่าง                แสนอ้างว้างจิตใจเฝ้าใฝ่หา
น้ำค้างพรมลมพัดกระพือมา                    เหมือนน้ำตาที่ไหลลงในทรวง
โอ้อกข้ายามนี้ฤดีเศร้า                           นวลน้องเจ้าผ่องผุดเรียมสุดหวง
เหมือนพระจันทร์วันเพ็ญเด่นเต็มดวง        กระต่ายห่วงชะแง้แลดูเดือน

 

---ร

---ด

รดรท

-ด-ร

----

---ร

-รรร

-ร-ล

(๑)ครั้นสิ้น

แสง

สุ-

ริยัน

 

 

(เออ

----

(๒)น้ำค้าง

พรม

ลม

พัด

(๓)โอ้อก

ข้า

ยาม

นี้

(๔)เหมือน

พระจันทร์

วัน

เพ็ญ

-รดล

-ซ-ฟ

-ล-ซ

-ฟซล

----

---ด

รมรด

-ท-ล

---

เอย)

(๑)จันทร์

กระจ่าง

(เออ

----

----

เอย)

(๒)กระพือ

มา

(๓)ฤดี

เศร้า

(๔)เด่นเต็ม

ดวง

-รดล

-ซ-ล

-รดล

-ซ-ฟ

-ลซฟ

-ม-ร

--ดร

----

(๑)แสนอ้าง

ว้าง

จิต

ใจ

(เออ

----

เออ)

 

(๒)เหมือน

น้ำตา

ที่

ไหล

(๓)นวลน้อง

เจ้า

ผ่อง

ผุด

(๔)กระต่าย

ห่วง

----

ชะแง้

-ล-ร

-ม-ฟ

มรมฟ

-ซ-ล

---ด

-ท-ด

รมรด

-ท-ล

(เออ

เอย)

(๑)เฝ้าใฝ่

หา

(เออ

----

----

เอย)

(๒)ลง

ในทรวง

(๓)เรียมสุด

หวง

(๔)แลดู

เดือน

----

---ล

-ลลล

-ล-ล

 

 

 

ยังมีอีกเนื้อร้องหนึ่งซึ่งเอามาจากบทละครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ตอนอิเหนาลานางจินตะหรา เพื่อไปช่วยท้าวดาหาต่อสู้กับท้าวกะหมังกุหนิง ทำให้นางจินตะหราตัดพ้อต่อว่าด้วยเกรงว่าอิเหนาจากไปแล้วจะทอดทิ้งนาง

 

โอ้ว่าอนิจจาความรัก           พึ่งประจักษ์ดั่งสายน้ำไหล
ตั้งแต่จะเชี่ยวเป็นเกลียวไป   ไหนเลยจะไหลคืนมา
สตรีใดในพิภพจบแดน         ไม่มีใครได้แค้นเหมือนตัวข้า
ด้วยใฝ่รักให้เกินพักตรา       จึงมีแต่เวทนาเป็นเนืองนิตย์

 

 

เพลงเดียวดาย 

 

เพลงเดียวดาย คำร้อง ไสล ไกรเลิศ ทำนอง สมาน กาญจนะผลิน ดัดแปลงทำนองเพลงห่วงอาลัย ๒ ชั้น


“ขวัญเอ๋ย เคยภิรมย์ชิดชื่นสุขสันต์ หลงเพ้อฝันรักมั่น มิทันจะเนิ่นเธอเมินหมาง โอ้อ้างว้างอาวรณ์ฤดี เหมือนโนรีจากคอน หลงรังนอนลืมที่ เหมือนชีวีเดียวดายเอ้กา โอ้ดึกเดือนคล้อย เดือนเจ้าจะลอยจากตา มองนภา ยังเห็นดาราเรียงราย


เหลียวหา จนทิวาโฉมเจ้าแลหาย หรือรักแล้วแหนงหน่าย รักเอ๋ยลืมง่ายไยเมินเฉย โอ้ใจเอ๋ย ใจเลยแรมรอน ฉันยังจำติดตา ทุกทิวาคืนก่อน เหลืออาวรณ์ใจเอยค่ำลง โอ้ใจสะท้อนจะหลับจะนอนพะวง ลืมไม่ลงมันเหมือนมีมนต์ดลใจ”

 

  

เพลงห่วงรัก

 

เพลงห่วงรัก ค่ายสนทราภรณ์ คำร้อง แก้ว อัจฉริยะกุล ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน ดัดแปลงทำนองเพลงห่วงอาลัย ๒ ชั้น      

 

เธอหรือจะมาตาม หรือความรักยังคงอยู่ดูสงสัย ไฉนเธอถึงได้กลับใจ ฉันใดถึงได้มีจิตติดตามมา เปรียบดังน้ำธารหลั่งไป ฉันใดธารา สายชลไหลวนกลับบ่า ไหลทวนขึ้นมาฝ่าแรงลม

ไฉนเธอหรือจะมาตาม หญิงงามนั้นมีอยู่ดื่นชวนชื่นชม ดื่นตามาลีที่ยวนชวนดม เธอจะชมพันธุ์ไม้ริมทางทำไม

เธอหรือจะมาปอง คุ้มครองฉันไว้เป็นคู่ดูสงสัย ไฉนเธอถึงได้กลับใจ ฉันใดน้ำใจเป็นอื่นกลับคืนคง โอ้ลมหนอลมโบกโบยพัดโชยไม่ตรง เดี๋ยวเดียวสายลมบนส่งพัดเวียนเป็นวงกลับวนมา

ไฉนเธอหรือจะมาชม ลิ้นลมของเธอช่างพร่ำหวานคำสัญญา ดื่นตามาลีหน้านวลยวนตา ไยจะมาพะเน้าพะนอคลอเคลีย”

 

 

วิพล นาคพันธ์

๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔

หมายเลขบันทึก: 440281เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2011 13:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2012 15:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท