การขับเคลื่อนหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษาไทยรัฐวิทยาสู่ห้องเรียน: เพื่อก้าวสู่อัตลักษณ์


ลูกไทยรัฐวิทยา ๖๓ ต้องงามสง่า สื่อมวลชนศึกษา คือ หน้าตาที่สร้างเอกลักษณ์

 

 

การขับเคลื่อนหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา
ไทยรัฐวิทยาสู่ห้องเรียน
: เพื่อก้าวสู่อัตลักษณ์

 

                         การประเมินภายนอกรอบสาม เริ่มเข้มข้นที่โรงเรียนที่ถูกประเมินจะต้องเตรียมความพร้อม เกิดความตื่นตัวในการทำงานบางโรงเรียนแทบไม่เป็นอันปิดภาคเรียน ครูผู้บริหารดูเหมือนไม่อยากให้มีวันหยุด เพราะการรับรู้ในเวลาอันสั้นและมีการปรับรูปแบบวิธีการประเมินที่โรงเรียนต้องตีโจทย์ให้แตก การทำงานแข่งกับเวลาจึงเป็นเรื่องที่หลีกเลียงไม่ โรงเรียนไทยรัฐวิทยามีลักษณะพิเศษต่างจากโรงเรียนทั่วไปที่มีมูลนิธิไทยรัฐทำหน้าที่สนับสนุนช่วยเหลือเพื่อขับเคลื่อนคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา การมีวิสัยทัศน์ของผู้บริหารมูลนิธิไทยรัฐจึงได้กำหนดให้จัดการเรียนรู้หลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา เพื่อหวังที่จะสร้างเอกลักษณ์เฉพาะโดยขับเคลื่อนหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา(Mass Media Study)ในยุทธศาสตร์ไทยรัฐวิทยา ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑ – ๒๕๕๔) โดยเริ่มใช้ในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๑ ซึ่งหลักสูตรมีรายละเอียดดังนี้

                 

 

ความสำคัญและความเป็นมา

                         โรงเรียนไทยรัฐวิทยาทั่วประเทศ ได้จัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา ตั้งแต่ชั้นปฐมวัย – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ไทยรัฐวิทยา ฉบับที่ ๒ (พ.ศ.๒๕๕๑ - ๒๕๕๔) ที่มุ่งหวังสร้างเอกลักษณ์ไทยรัฐวิทยา ที่เน้นพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม เกิดจิตสำนึกและตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สืบสานความเป็นไทยและความเป็นไทยรัฐวิทยา โดยมีกลยุทธ์พัฒนาครู – นักเรียนให้สามารถใช้และผลิตสื่อมวลชนศึกษา

                         หลักสูตรสื่อมวลชนศึกษาที่ทางมูลนิธิไทยรัฐกำหนดนั้นนับว่าเป็นวิสัยทัศน์ของผู้จัดทำหลักสูตรที่มุ่งสนองการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ ที่ต้องการเห็นคนไทยเป็นเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ การจัดการเรียนรู้มุ่งพัฒนาผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ใฝ่รู้ใฝ่เรียน ทั้งยังรองรับการประเมินมาตรฐานจากภายนอกด้านมาตรฐานด้านผู้เรียน เพื่อตรวจสอบผู้เรียนว่ามีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีทักษะในการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้ มีเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพสุจริต

                         เยาวชนไทยในปัจจุบันอ่านหนังสือในชีวิตประจำวันน้อยมาก ไม่ติดตามข่าวสาร ไม่ว่าจะเป็นวิทยุ โทรทัศน์ แม้จะใช้อินเตอร์เน็ตก็จะใช้เพื่อการบันเทิงมากกว่า หนังสือพิมพ์เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ราคาถูก หาอ่านได้ง่ายและมีเนื้อหาสาระครอบคลุมอย่างกว้างขวาง ทั้งยังเป็นสื่อหลักที่ให้ข้อมูล ข่าวสารที่เป็นประโยชน์ ต่อสังคมไปอีกยาวนาน การปลูกฝังให้เยาวชนรักการอ่าน โดยเรียนรู้ตามหลักสูตรสื่อมวลศึกษา จะพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีคุณธรรมมีค่านิยมที่พึงประสงค์ เป็นเอกลักษณ์โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ได้เป็นอย่างดียิ่ง
                    

                         

วิสัยทัศน์ของหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา

                         สื่อมวลชนเป็นกลไกหนึ่งในองค์กรขับเคลื่อนทางสังคม มุ่งให้ผู้เรียนรักการอ่าน การเขียน การแสวงหาความรู้ จากข้อมูลข่าวสาร เป็นสื่อของความคิด เสริมสร้างความฉลาดให้ตนเอง ใช้สื่ออิเลคทรอนิกส์ในการรับรู้ข่าวสารอย่างมีสติ ใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง เกิดความซาบซึ้งและภูมิใจในภาษาไทย การอ่านจะทำให้ผู้เรียนได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ คิดกว้างขวาง คิดลึกซึ้ง ทำให้สามารถส่งข่าวสาร สามารถจัดทำหนังสือพิมพ์ไว้ใช้อ่านประจำชั้นเรียนและเผยแพร่สู่ชุมชนได้

พันธกิจ

                         ๑.สนับสนุนครูให้มีความรู้ความเข้าใจ ในการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา
                         ๒.จัดทำหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้
                         ๓.จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ชั้น ปฐมวัย – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
                         ๔.เสริมสร้างให้ผู้เรียน เป็นคนดี รักการอ่าน ใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีทักษะการทำงาน จัดทำหนังสือพิมพ์เผยแพร่ข่าวสารสู่สาธารชนได้

                 

เป้าหมายของหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา

                         ๑.คุณลักษณะอันพึงประสงค์ พัฒนาผู้เรียน ให้เข้าใจตนเอง ตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์ ขยัน ทำงานเป็นกลุ่ม สัมมาคารวะ รับผิดชอบ ประหยัด อดทน
                         ๒.ความสามรรถในการทำงานอย่างมีคุณภาพ ผู้เรียนมีความรู้ในกิจกรรม เข้าใจกระบวนการทำงาน เข้าใจบทบาทหน้าที่ที่ตนปฏิบัติ
                         ๓.คุณค่าต่อสังคม ผู้เรียนต้องตื่นตัวต่อปัญหา มีความกล้าหาญทางจริยธรรมที่ถูกต้อง มีปณิธานในการทำประโยชน์เพื่อสังคม
                         ๔.ลักษณะพื้นฐานของการมีทักษะการทำงาน คือ มีสัมพันธภาพและการสื่อสาร มีวิสัยทัศน์เพื่อพัฒนาตนเอง
                         ๕.ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน(อนุบาล – ป.๖) จัดทำหนังสือพิมพ์ขนาดเล็กเผยแพร่สู่สาธาณชนได้

โครงสร้างหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา

                         ระดับปฐมวัย สอดแทรกในกิจกรรมพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ๒๗ ชั่วโมง/ปี
                         ระดับประถมศึกษา(ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖) จัดในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ๑ ชั่วโมง/สัปดาห์ ๓๖ ชั่วโมง/ปี
                         ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จัดเป็นสาระเพิ่มในภาษาไทย ๒ ชั่วโมง/สัปดาห์ ๗๒ชั่วโมง/ปี

การนำหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษาสู่ห้องเรียน

                         ๑.จัดประชุมครูเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา
                         ๒.วิเคราะห์ผังมะโนทัศน์สาระการเรียนรู้เพื่อบูรณาการในการจัดการเรียนรู้
                         ๓.แต่งตั้งครูผู้สอนรายชั้น
                         ๔.จัดทำกำหนดการสอน
                         ๕.จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ตามที่หลักสูตรกำหนด
                         ๖.จัดการเรียนรู้สื่อมวลชนศึกษา
                         ๗.นิเทศติดตามผลการจัดการเรียนรู้
                         ๘.ประเมินการการจัดการเรียนรู้
                         ๙.สรุปผลรายงานผลการใช้หลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา

                         การประเมินภายนอกรอบสาม กำหนดให้มีการประเมินคุณภาพภายนอก ๔ มาตรฐาน คือ มาตรฐานว่าด้วยผลการจัดการจัดการศึกษา มาตรฐานด้านการบริหารจัดการศึกษา มาตรฐานว่าด้วยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและมาตรฐานว่าการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยกำหนดตัวบ่งชี้ในการประเมินภายนอกเป็น ๓ กลุ่ม คือ กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ กลุ่มตัวบ่งชี้มาตรฐานการส่งเสริม โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๖๓(ชุมชนบ้านคำแดง)ได้กำหนดอัตลักษณ์ “ผู้เรียนมีทักษะแสวงหาความรู้ ความจริง มีทักษะการสื่อสารแบบผู้สื่อข่าวที่ดีและรักษ์ความเป็นไทย” การรับรู้เรื่องสื่อมวลชนศึกษาจึงเป็นเรื่องที่ครูนัดเรียนต้องร่วมกันสร้างความตระหนักและก้าวเดินสู่ความเป็นไทยรัฐวิทยา เพื่อความสง่างามตามหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษาและเป็นอัตลักษณ์ที่จะสร้างเอกลักษณ์ในอนาคต จะได้เป็นที่ภาคภูมิใจของชาวไทยรัฐวิทยาร่วมกัน 

                     
 

คำสำคัญ (Tags): #สื่อมวลชนศึกษา
หมายเลขบันทึก: 440066เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2011 22:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดียามดึกค่ะ

ยังระลึกถึงนะคะ กระเป๋าใบนั้นยังใช้เก็บตังค่ะ ท่าน ผอ. สบายดีนะคะ

 

 

 

ขอบคุณครับคุณแดง เงินเต็มกระเป๋าหรือยังครับ จะส่งใบใหม่ไปให้แบบวัยรุ่นครับ

ค่ะดีใจที่ได้เจอคนรู้จัก ช่วงนี้กำลังทำวิชาการเลยไม่ได้เขียน

ขอบคุณมากนะคะ ผ่านมาทาง ขก. ก็มีกล้วยไม้ฝากนะคะ

ปีนี้รู้สึก ออกดอกเร็ว และ สวย

 

  • สวัสดีค่ะท่านผอ.พรชัย
  • มาศึกษาหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษาของ.ร.ร.ไทยรัฐวิทยา
  • จะเป็นประโยชน์ในการสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนได้ดีนะคะ
  •  โดยเฉพาะในเรื่องของการรักการอ่าน
  • ขอให้ผ่านการประเมินรอบสามค่ะ

สวัสดีค่ะท่าน ผอ.พรชัยIco48

หลักสูตรสื่อมวลชนศึกษาของ.ร.ร.ไทยรัฐวิทยา เป็นประโยชน์ในการสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนให้รักการอ่าน มีทักษะแสวงหาความรู้ มีทักษะการสื่อสารแบบผู้สื่อข่าวที่ดีและรักษ์ความเป็นไทย... เยี่ยมมากค่ะ

ขอร่วมเป็นกำลังใจในการประเมิน สมศ. รอบ 3 นะคะ

ด้วยความระลึกถึงค่ะ

 

สวัสดีค่ะ   

  • ชื่นชมท่านผอ. และทีมงานมากค่ะ
  • ละเอียด  ชัดเจน  มองเห็นแนวทาง  เป็นแบบอย่างให้ศึกษาได้เป็นอย่างดี
  • ขอบคุณมากค่ะ

Ico48  ขอบคุณเอื้องแซะ เราใช้หลักสูตรนี้มาตั้งแต่ ปี ๕๑ ครับ รักการอ่านจึงเป้นกิจกรรมที่เราจัดอย่างต่อเนื่องครับ

Ico48 ขอบคุณคุณครูใจดี กำลังใจยามเหนื่อยล้าเป็นยาที่ดีของใจครับ

Ico48 ขอบคุณครูอัมพร กทม.คงพร้อมกว่าในการรับการประเมินรอบสามนะครับ

สวัสดีค่ะ ท่าน ผอ.พรชัย

มาเยี่ยมคาระค่ะ ท่านผอ.สบายดีนะคะและมารับความรู้เรื่องหลักสูตร

ขอบคุณมากๆค่ะ

Ico48 ขอบคุณครูมีนา จะบอกว่าผมได้ดึงตัวท่านเบดูอินไปเป็นที่ปรึกษาเสียแล้วครับ ขออนุญาตตรงเลยนะครับ

          ขอแสดงความชื่นชมกับกิจกรรม "การขับเคลื่อนหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษาไทยรัฐวิทยาสู่ห้องเรียน: เพื่อก้าวสู่อัตลักษณ์" อย่างแข็งขันของโรงเรียน ภายใต้การนำของท่านผอ.พรชัยค่ะ

           การพัฒนาให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการเรียนรู้ มีพฤติกรรมใฝ่รู้ใฝ่เรียน เรียนรู้ในทุกที่ทุกเวลาจากแหล่งเรียนรู้หลากหลายรอบตัว และมีทักษะในการเรียนรู้ เป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อผู้เรียนทั้งในปัจจุบันและอนาคต ค่ะ อาจารย์เองก็ได้ทำวิจัยเพื่อพัฒนาสมรรถภาพดังกล่าวให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรีมาตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปัจจุบัน (บันทึกที่ 1 ใน Blog "Learntoknow") และสื่อสิ่งพิมพ์ก็เป็นแหล่งเรียนรู้แหล่งหนึ่งที่ได้นำไปใช้ในการพัฒนานิสัยรักการอ่าน และทักษะในการอ่านแบบวิเคราะห์-สังเคราะห์ และการอ่านอย่างมีวิจารณญาณให้กับนักศึกษา

           ขอเป็นกำลังใจให้งานของโรงเรียนของท่านผอ.พรชัยดำเนินไปอย่างราบรื่น บรรลุผลตามเป้าหมาย และผ่านการประเมินภายนอกรอบสามในระดับดีเยี่ยมนะคะ

  • สวัสดีค่ะ
  • ปลูกฝังความเป็นภูมิปัญญาพื้นถิ่น ด้วยหลักสตรท้องถิ่น
  • เป็นสิ่งที่ทุกโรงเรียนควรต้องทำ
  • ชื่นชมความชัดเจนของผอ.ค่ะ

นำมาฝากคุณครูและนักเรียนทดลองทำนะคะ ได้ประโยชน์มากมายค่ะ

 

http://gotoknow.org/blog/kanda02/440804  

มากราบสวัสดีอาจารย์ค่ะ

หนูไม่ได้เข้ามานาน ยังระลึกถึงกัลยาณมิตร และไมตรีจิตที่ได้รับจากอาจารย์ค่ะ

ขอให้อาจารย์สุขภาพแข็งแรงนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท