การบริการที่สอดคล้องกับวิถีอิสลาม 2


หลังจากเขียนบันทึก "การบริการที่สอดคล้องกับวิถีอิสลาม" ในระหว่างวันที่ 18-19 พฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมากองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา จัดโครงการอบรมผู้บริหารมหาวิทยาลัยอิสลามยะลาขึ้น ณ โรงแรมไดอิชิ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และผมก็ได้เข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้ด้วย

เมื่อไปถึงโรงแรมไดอิชิในค่ำของวันที่ 17 พฤษภาคม 2554 ที่เคาน์เตอร์ของโรงแรมผมพบหนังสือรับรองอาหารฮาลาลของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลาติดอยู่ที่ผนัง เป็นการยืนยันตามที่หัวหน้ากองการเจ้าหน้าที่แจ้งต่อทีมงานว่า อาหารที่นี่ (ตามรายการที่เขาแจ้ง) ฮาลาล

 ขณะที่กำลังรอรับกุญแจจากพนักงานโรงแรมก็มีบัณฑิตของมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา 2 คนเข้ามาทัก จากการพูดคุยทราบว่าบัณฑิตเหล่านั้นซึ่งปัจจุบันเป็นครูมารับการอบรมที่โรงแรมแห่งนี้เช่นเดียวกัน เธอบอกว่ามีเพื่อนๆบัณฑิต 10 กว่าคนที่มาอบรมเป็นศิษย์เก่าของ มอย. เมื่อผมเดินไปที่ลืฟท์ก็ได้พบกับศิษย์เก่า มอย.อีกคนหนึ่งก็เลยถามเขาว่ามาอบรมกับเขาด้วยหรือ เขาบอกว่า เขามาเป็นหนึ่งในทีมจัดอบรมครั้งนี้

ในเช้าของวันถัดมา 18 พฤษภาคม 2554 ก็ได้พบกับ จนท.จัดอบรมของ สบย. 12 หลายท่าน อาทิ แบรอฮีม แบยะ และแบแม จากการพูดคุยทราบว่าทาง สบย. 12 มีโครงการจัดอบรมที่โรงแรมไดอิชิมาเป็นสัปดาห์แล้ว กลุ่มเป้าหมายของผู้เข้าอบรมของ สบย. 12 ก็เป็นข้าราชการครู วิทยากรอิสลามศึกษา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมุสลิม 

และได้มีโอกาสคุยกับ CEO ของโรงแรมได้อิชิทราบว่าเธอเป็นมุสลิม เธอบอกว่า หลานซึ่งจบ ม.6 จากโรงเรียนอิสลามวิทยาลัย กทมฯ สนใจจะลงมาเรียนที่มหาวิทยาลัยอิสลามยะลาครับ 

ในส่วนของห้องน้ำก็ โอ.เค ครับ มีหัวฉีดน้ำ และที่เซอร์ไพรสพวกเรามากๆคือ ทางโรงแรมไดอิชิได้จัดห้องๆ หนึ่งของอาคารหน้าโรงแรมเป็น "ห้องมุศ็อลลา" สำหรับแขกที่มาพักโรงแรมได้ละหมาดร่วมกัน อันนี้เยี่ยมเลยครับ กล่าวได้ว่า ผู้บริหารโรงแรมไดอิชิ "เข้าใจ และเข้าถึง " มุสลิม

 

ในฐานะ "ผู้ให้บริการ" เพื่อสร้างความประทับใจต่อลูกค้า ผู้ประกอบการในภาคเอกชน มีความสามารถในการ "ปรับตัว" ได้ดีกว่า "ส่วนราชการ" ที่แม้ว่าจะมี "นโยบาย" แต่ก็ทำ "ได้ดีไม่เท่าเอกชน" ครับ ทั้งๆที่ "เอกชนหวังแค่ รายได้และกำไร" จากการให้บริการ

 

ในขณะที่ "ส่วนราชการ" หวังได้ "ใจ" ของประชาชน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหวังที่จะได้สิ่งเกี่ยวเนื่องใน"บริบทด้านความมั่นคง" ซึ่งหากทำได้จะดีหาน้อยไม่...

แต่จะว่าไปแล้ว สิ่งที่ทำให้ "ส่วนราชการ" ไม่ง้อประชาชน" ก็เพราะ "การดำรงอยู่" ของส่วนราชการนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจในบริการที่ให้กับลูกค้า หรือประชาชนโดยตรง เหมือนกับภาคธุรกิจเอกชนที่หากบริการไม่ดี ไม่มีลูกค้ามาใช้บริการ ก็จะอยู่ไม่ได้ 

Large_1404 

 ได้รับโทรศัพท์จากอัดนานแจ้งว่าหากจะไปร่วมละหมาดญานาซะฮฺให้กับซุลกิฟลี วาเลาะแตให้ไปละหมาดอัศรีที่ มอย. ก็ขอจบการบันทุกแค่นี้ก่อนนะครับ

หมายเลขบันทึก: 440013เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2011 15:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คอยช่วยเช็คเอกสาร

แบกรับงานอันหนักหนา

ยังจำได้ทุกครา

ที่เจอะหน้า...ซุลกิฟลี

เห็นเขานั่งในห้อง

ออฟฟิศของเจ้าหน้าที่

ชายผู้มารยาทดี

มีไมตรีกับทุกคน

รอยยิ้มที่ยิ้มให้

ความจริงใจอันเปี่ยมล้น

ชายผู้ที่อดทน

ไม่เคยบ่นแม้งานใด

วันนี้ไม่มีเขา

ที่พวกเราเคยชิดใกล้

สะเทือนถึงหัวใจ

แสนอาลัย...ซุลกิฟลี

[[ เพิ่งทราบข่าวการเสียชีวิตของแบซุลกิฟลี รู้สึกเสียใจมากจากการจากไป

ยังรู้สึกได้ถึงเมื่อวันวานกับรอยยิ้มที่จริงใจ กับความมุมานะในการทำงาน

และทุก ๆ อย่างที่แบซุลเคยช่วยเหลือเมื่อครั้งทำงานอยู่ที่ มอย.

แม้เวลาจะผ่านไปนานแล้ว ก็ขอแสดงความอาลัยไว้ ณ ที่นี้ ]]

... ลาฏีฟา ... (อดีตอาจารย์สอนภาษาไทย มอย.)

ขอบคุณมากครับ อ.ลาฏีฟา  หมายเหตุ เพิ่งได้เข้ามาใน gotoknow นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท