Academic Coordinator : ผู้เชื่อมโยงและถอดรหัสการเรียนรู้


การเรียนรู้ ความหมายมันลึกซึ้งกว่าที่คิด

จัดการประชุมยกระดับผลสัมฤทธิ์กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เสร๋จสิ้นไปแล้ว มีประเด็นที่น่าสนใจหลายประการ ดังนี้

๑. เดิม สพฐ. เราจัดการอบรมแบบหว่านโปรย คราวนี้เลยคิดเชิงกลยุทธ์ คือ ใช้คะแนน O-net ของเขตพื้นที่เป็นตัวตั้งต้น เลือกเชิญเขตที่มีคะแนนตำเกณฑ์มาตรฐานเพียงเล็กน้อยจำนวน ๔๐ เขต มาพัฒนาเพราะโจทย์แรกคือการยกระดับ แต่เบื้องหลังคือการพัฒนาการเรียนการสอน

๒. การพัฒนาที่ปีที่แล้วเน้นการบรรยายให้ความรู้สำคัญ ๕ สาระ ปีนี้พยายามเน้นแนว Pedagogical Content Knowledge ผนวกการสอนเข้าไปกับการเรียนเนื้อหาสาระ ซึ่งค่อนข้างยาก อาจารย์หลายท่านที่มาเป็นวิทยกรก็ใช่ว่าจะถนัดการอบรมแนวนี้ ต้องมีการช่วยออกแบบกิจกรรม คนที่ทำหน้าที่นี้เรียนว่า Facilitator หรือ วิทยากรกระบวนการ

๓. การประชุม ๔ วัน มีความรู้ที่เป็นส่วนเป็นชิ้นเยอะมาก ครูแต่ละคนก็ใช่ว่าจะเก็บประเด็นได้หมด ก็ต้องออกแบบให้มีการเขียนบันทึกการเรียนรู้ ที่เป็นการเรียนรู้จริง ๆ ที่เรียกว่า Reflective journal แรกทีเดียวครูก็เขียนแต่หัวข้อที่ได้เรียน ก็ไม่แน่ว่าเป็นการเรียนรู้จริง การประชุมจึงจัดช่วงเวลาให้มาทบทวนกันอย่างจริงจัง ครูจะได้เห็นแบบอย่างเวลานำไปประยุกต์ใช้ในห้องเรียนได้

      ทั้งหมดนี้ การจัดประชุมจึงไม่ใช่เพียงแต่เชิญวิทยากรขึ้นเวที แล้วจบกัน มีกระบวนการอีกมากที่จะเชื่อมร้อยให้ผู้เข้าประชุมเกิดการเรียนรู้ การจัดประชุมก็ต้องมีคนที่เรียกว่า Academic Coordinator

     ว่าไปแล้ว การประชุมนี่ก็มีศาสตร์ที่ต้องเรียนรู้และศึกษาอีกเยอะ    

หมายเลขบันทึก: 439967เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2011 09:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 19:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท