ชีวิตที่พอเพียง : ๑๒๔๖. ระเบียบวิธีประเมินผลแนวใหม่


 
          วันที่ ๑๘ เม.ย. ๕๔ ผมได้เรียนรู้เรื่องการประเมินผลจากการไปร่วมงานที่ ๒ หน่วยงาน   คือช่วงเช้า ที่ สสส. ไปเป็นกรรมการสรรหากรรมการติดตามและประเมินผล   ซึ่งผมได้เสนอว่า กิจกรรมประเมินผลในสังคมไทย ตกอยู่ใต้กระบวนทัศน์และระเบียบวิธืของการประเมินการศึกษา มากไป ขาดกระบวนทัศน์และระเบียบวิธีด้านอื่นๆ  เช่นด้านเศรษฐศาตร์  และด้านประเมิน ผลกระทบที่ผู้ได้รับประโยชน์
 
          ศ. ดร. สมชัย ฤชุพันธุ์ ประธานในที่ประชุม ได้เสนอความเห็นว่า ท่านชอบวิธีคิดและ กระบวนวิธีทำงานของ สรส. (สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล) ที่ไม่ประเมินได้ตก ประเมินแล้วประกาศเมื่อผ่านเท่านั้น  ไม่ประกาศผลตก   คือเป็นการประเมินเชิงบวก เพื่อการพัฒนา
 
          ที่ประชุมมีมติว่า ให้หากรรมการที่มีมุมมองการประเมินผล จากหลากหลายมุมมอง
 
          ตกบ่าย ไปประชุมคณะกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข  มีวาระ รายงานผลเบื้องต้น ของโครงการวิจัย "ความเต็มใจที่จะจ่ายเงินของประชาชน ต่อการดำเนินงานของ สสส." โดยทีม HITAP นำโดย นพ. ยศ. ตีระวัฒนานนท์ ที่ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบที่ใหม่สำหรับสังคมไทย คือเทคนิค Willingness to Pay ซึ่งเป็นระเบียบวิธีด้านเศรษฐศาสตร์ และเป็นวิธีที่ใช้ได้ผลในวัฒนธรรมฝรั่ง ที่ไม่มีการเกรงใจกัน   เพื่อตรวจสอบมุมมองของประชาชนต่อคุณค่าการทำงานของ สสส.    อ. หมอ ประเวศ บอกว่าประโยชน์ของงานวิจัยชิ้นนี้เกิดมากที่สุดที่นักวิจัย ที่ออกไปสัมผัสชาวบ้าน ทำให้เกิด การเรียนรู้และเปลี่ยนวิธีคิดของทีมวิจัย  และควรมองการวิจัยชิ้นนี้เป็นขั้นตอนที่จะนำไปสู่ผลประโยชน์ ของการพัฒนาระบบการสร้างเสริมสุขภาพต่อไป    
 
          ผมมองว่า ทีมวิจัยน่าจะได้อาศัยโครงการวิจัยนี้ “ลับเครื่องมือ” willingness to pay approach ให้เหมาะสมต่อสังคมไทย   สำหรับเอาไว้ใช้ในโอกาสอื่นต่อไป
 
 
 
วิจารณ์ พานิช
๑๘ เม.ย. ๕๔
 
                           
        
หมายเลขบันทึก: 439683เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2011 12:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท