IT กับ การจัดการความรู้ ฉบับศิษย์เก่า มมส : 1) Social Network


การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ร่วมกับงานการจัดการความรู้ บันทึกนี้ผมขอนำเอกสารที่ผมเขียนไว้ในสารศิษย์เก่ารั่วเหลืองเทา ซึ่งเป็นวารสารที่ออกโดยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อการสื่อสารและเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยฯ กับศิษย์เก่าฯ ....

------------------------------------------------

เครือข่ายศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหาสารคาม กับ การใช้เครือข่ายสังคม (Social Network)

เครือข่ายสังคม (Social Network) เป็นรูปแบบการให้บริการผ่านเว็บไซต์ ที่เชื่อมโยงระหว่างต่อบุคคลไปจนถึงบุคคลต่อกลุ่มบุคคล รวมทั้งการเชื่อมโยงบริการทางอินเทอร์เน็ตที่ผู้ใช้คุ้นเคยเข้าไว้ด้วยกัน จนกลายเป็นชุมชนที่ทำให้ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ตัวตน และทุกๆ สิ่งที่สนใจ จนกลายเป็นเครือข่ายในการสื่อสารในสังคมออนไลน์  อีกทั้ง พฤติกรรมการใช้ชีวิตในปัจจุบัน ที่มีแนวโน้มในการใช้อินเทอร์เน็ตที่มีรูปแบบเป็นเครือข่ายสังคม (Social Network) มากขึ้น อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับเทคโนโลยีที่สนับสนุนการใช้อินเทอร์เน็ต เช่น คอมพิวเตอร์ มือถือ ระบบอินเทอร์เนต ทำให้สามารถเข้าถึงบริการ Social Network  ที่มีอยู่มากมาย ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น สำหรับในบทความนี้ผู้เขียนขอกล่าวถึง เว็บไซต์ www.Facebook.com  เป็นหลัก

จากสถิติการใช้งาน Facebook  ทั่วโลก  ที่สำรวจโดยเว็บไซต์ Checkfacebook.com  เท่ากับ Global Audience: 624,682,160 user  โดยผู้ใช้งานที่มีจำนวนมากที่สุด 10 อันดับแรก เรียงตามลำดับ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย อังกฤษ ตุรกี ฟิลิปปินส์ อินเดีย แมกซิโก ฝรั่งเศส อิตาลี  และ ประเทศแคนาดา  ตามลำดับ  สำหรับประเทศไทย  จำนวนมีข้อมูลผู้ใช้กว่า  8 ล้าน user  (ข้อมูล ณ วันที่ 17 ก.พ. 2554) 

ประเภทเครือข่ายสังคม

            เว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม (Social Network) ที่เราคุ้นเคยการใช้งานกันทุกวันนี้ต่างก็มีฟังก์ชันการใช้งานแตกต่างกันไป  เรามาทำความรู้จักกับเว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม (Social Network) เนื่องจากมีเว็บเครือข่ายทางสังคมจำนวนมาก จึงเป็นการยากที่จะจำแนกหมวดหมู่ได้อย่างชัดเจน เมื่อพิจารณาตามการใช้งานอาจแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) เว็บสำเร็จรูป (Web  Application) เช่น Blogger.com, Bloggang.com , wordpress 2) การติดต่อสื่อสาร(Communication)  เช่น MSN, ICQ  3) เว็บชุมชน (Community) เช่น Facebook, Hi5, MySpace  และ 4)  เว็บแบ่งปันไฟล์ (File Sharing) เช่น Picasa, Multiply, Youtube

กรณีตัวอย่าง : การใช้ Facebook Group  “จามรี 5  มมส 1”

งานบริการศิษย์เก่า กองประชาสัมพันธ์และกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้นำเครือข่ายสังคม (Social Network) ยอดนิยมอย่าง Facebook  ซึ่งมีส่วนสำคัญในการติดต่อประสานงานกันระหว่างศิษย์เก่ากับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในการจัดงาน รวมพลคน มมส ครั้งที่ 2 ที่จังหวัดระยอง
ที่ผ่านมา 

ใช้ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ดังกิจกรรมหนึ่งที่เกิดขึ้น ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2554  นี้ที่จังหวัดระยอง ผ่านช่องทาง  Facebook Group  มมส 1 จามรี 5 ([email protected] )

Social Network จึงเป็นช่องทางหนึ่งที่องค์กรสามารถนำมาปรับใช้ในองค์กร เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการติดต่อสื่อสารกับบุคลากรภายในองค์กรและ ภายนอกองค์กรได้ เพราะมีต้นทุนต่ำ เป็นเครื่องมือการสื่อสารรูปแบบใหม่  แต่ก็มีข้อจำกัด หากข้อความหรือข้อมูลที่สื่อ เป็นไปในทางลบ ย่อมหมายถึงภาพลักษณ์ในด้านลบแก่องค์กรที่สื่อสารไปยังบุคคลต่างๆ อย่างรวดเร็ว เช่นกัน

ดังนั้น Social Network จึงเป็นช่องทางหนึ่ง ที่องค์กรสามารถศึกษาและหาช่องทางในการมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับองค์กรตนเองได้ในอนาคต เพื่อเป็นการสร้างโอกาสหนึ่งในการทาดำเนินงานขององค์กรต่อไป

หมายเลขบันทึก: 439671เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2011 10:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

...อีกประการ ที่ไม่กล่าวถึง คงไม่ได้ นั่นคือ Function Like ของ Gotoknow ที่ทำให้แบ่งปัน (Share) กันได้ระหว่าง Gotoknow กับ facebook

ขอบคุณที่มงาน Usable labs ไว้ ณ ที่นี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท