Hyperventilation Syndrome


หลายครั้งที่เจอผู้ป่วยวัยรุ่นมาที่ER ด้วยอาการหายใจเหนื่อยหอบใจสั่น 
บางรายแน่นหน้าอก  บางรายเกร็งมือจีบร่วมด้วยที่หนักกว่านั้นบางรายจะดิ้นกรีดร้องร่ำไห้เสียงดัง ทำให้ERตอนนั้นดูเล็กและคับแคบไปถนัดตา

สิ่งแรกที่ต้องทำคือแยกผู้ป่วยออกจากผู้ป่วยอื่นอย่างแรกเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยหนักรายอื่นไม่ให้ดูวุ่นวายจากเสียงกรีดร้อง

อย่างที่สองเพื่อให้ผู้ป่วยที่มีภาวะเครียดได้อยู่ในมุมที่เงียบและเป็นสัดส่วนไม่มีเสียงอื่นๆมากระตุ้นให้เกิดความเครียดเพิ่มขึ้น สิ่งสำคัญคือท่าทีที่ผ่อนคลายเป็นมิตรการสร้างสัมพันธภาพและความไว้วางใจของตัวเรา
ผู้ที่จะให้การดูแลจะทำให้เขารู้สึกว่ามีคนที่พร้อมช่วยเหลือและรับฟังความทุกข์หรือสิ่งที่อัดอั้นอยู่ในใจของเขา
การสอนให้หายใจอย่างช้าๆจะช่วยลดอาการหายใจเร็วถี่นั้นได้ดีและดึงความสนใจมาอยู่ที่การหายใจเข้า-หายใจออกของตัวเขาเอง ส่วนอาการเกร็งและมือจีบก็จะค่อยๆทุเลาลงตามมา

จากประสบการณ์การทำงานของตัวฉันพบว่าเด็กผู้หญิง วัยรุ่นมักมีอาการ Hyperventilation  Syndrome มากกว่าผู้ชายและเกินครึ่งเป็นความเครียดและกดดันเรื่องแฟนและก็มีปัญหาทะเลาะกับเพื่อน   น้อยรายจะเกิดจากปัญหาครอบครัว สภาพสังคมกับชีวิต ความเป็นอยู่ในปัจจุบันอาจทำให้พ่อแม่ต้องทำมาหากินไม่มีเวลาพูดคุยหรือให้คำปรึกษากับลูกที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นหรือวัยหัวเลี้ยวหัวต่อมากนัก เด็กๆส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเพื่อนหรือแฟนมากกว่าพ่อแม่  

  ที่แน่ๆฉันผ่านชีวิตการเป็นวัยรุ่นมาก่อนและฉันก็มีลูกๆวัยรุ่น 2 คนประสบการณ์ทำให้ฉันมีโอกาสรับรู้และเข้าใจปัญหาของพวกเขาเหล่านั้นแม้จะไม่ใช่ทั้งหมดก็ตาม   

ทำอย่างไรที่จะให้เข้าถึงจิตใจเราคงต้องฝึกฝนและเรียนรู้ด้วยตัวเราเองเมื่อเขาได้พูดเปิดใจระบายความรู้สึกออกมาเราก็จะเป็นเพียงคนรับฟัง แม้ว่าจะใช้เวลาไม่มากหรือว่าสุดท้ายจะไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอะไรมากไปกว่าการให้สติและใช้เทคนิคการให้คำปรึกษาเบื้องต้น
บางทีอาจเป็นหนทางที่ดีให้เด็กเหล่านั้นเลือกเดินหรือเลือกเผชิญกับปัญหาของตนเองในทางที่ถูกที่ควร

เมื่อครั้งที่ไปwork  shop อาจารย์สอนไว้ว่า “การช่วยคนไม่ใช่การไปเปลี่ยนตัวตนของเขาต้องให้เขาเปลี่ยนวิธีคิดด้วยตัวของเขาเองหน้าที่ของเราคือการทำให้เรื่องราวที่เขาเห็นมันเด่นชัดขึ้นไม่จำเป็นต้องรู้มากกว่าเขาศรัทธาอยู่ที่มุมมองของเขาดึงจิตวิญญาณ ตัวตนของคนคนนั้นขึ้นมาให้รู้ว่าเขาทำได้” และทุกครั้งที่ได้มีโอกาสได้ช่วยเท่ากับฉันได้เรียนรู้การคิดเชิงบวกไปด้วยเช่นกัน

คำสำคัญ (Tags): #sha#รพ.พิจิตร
หมายเลขบันทึก: 439076เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2011 15:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ใครสักคนที่เป็นมิตร เท่านี้แหละ สำหรับคนที่กำลังแย่

ชีวิตคนเราก็มี"กายกับจิต" ......จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว.......ทำอย่างไรจะทำให้"จิต"ที่หลงไปนั้น กลับมาอยู่ในสภาพปกติ บุคลากรสุขภาพมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยมี "สติ" สำหรับการดึง"จิต" ที่หลงไปนั้นกลับมา.... ถือว่าเป็นกุศลนะ ขอเป็นกำลังใจให้ทำต่อนะ เรื่องดีๆแบบนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท