โครงการอบรมเสริม ฯ ให้กับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ..
วันที่ 9 - 11 พฤษภาคม 2554
หลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
จัดโครงการอบรมเสริมทักษะทางด้านการประเมินคุณภาพอาหารทางประสาทสัมผัสให้กับนักศึกษา
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาสามารถเลือกใช้วิธีการประเมินคุณภาพอาหารโดยใช้ประสาทสัมผัสที่เหมาะสมสำหรับการเรียนการสอนและการศึกษาปัญหาพิเศษ
ประกอบด้วย
ความเป็นมาและความจำเป็นในการใช้ประสาทสัมผัสเพื่อประเมินคุณภาพอาหาร
วิธีการคัดเลือกและฝึกฝนผู้ทดสอบ
ฯ การออกแบบและการวางแผนการทดสอบ การออกแบบรายงานผลการทดสอบ
วิธีการทดสอบความชอบและการยอมรับ วิธีการทดสอบเชิงพรรณนา
รวมทั้งการใช้สถิติในการประเมินผลการทดสอบ



ชมภาพกิจกรรมทั้งหมดได้ที่
บันทึกเมื่อ 12 พฤษภาคม 2554
***************************************************
มาทำความรู้จักกับ.....
การประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส (sensory
evaluation)
คือ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้เพื่อวัด
วิเคราะห์และแปลความขณะที่รับความรู้สึกโดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าได้แก่
ตา หู จมูก ลิ้นและผิวหนังส่วนต่างๆ
ของร่างกาย ใช้วัดคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เช่น สี ขนาด
รูปร่าง กลิ่นรสและเนื้อสัมผัส เป็นต้น
วัตถุประสงค์ของการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส
เพื่อ
วิธีการทดสอบผู้บริโภค
-
การทดสอบความแตกต่าง (difference
tests) เป็นการทดสอบผลิตภัณฑ์ในภาพรวมทั้งหมด
หรืออาจจำแนกตามคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ เช่น
น้ำส้มสองตัวอย่างมีความแตกต่างกันหรือไม่
น้ำส้มตัวอย่างใดมีความหวานมากกว่า เป็นต้น
-
การทดสอบเชิงพรรณนา
(descriptive tests)
เป็นการทดสอบที่ใช้ผู้ทดสอบชิมที่ผ่านการฝึกฝนมาก่อนเพื่อ
อธิบายคุณลักษณะเชิงคุณภาพ &
คุณลักษณะเชิงปริมาณของตัวอย่างได้
-
การทดสอบความชอบ /
การยอมรับ (preference
test / acceptance tests) นิยมใช้ทดสอบผู้บริโภค
หลังจากได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นไปตามความต้องการแล้ว เช่น
บริษัทได้ปรับเปลี่ยนวัตถุดิบหลักในการผลิตน้ำส้มพร้อมดื่มแล้ว
นำตัวอย่างไปทดสอบกับผู้บริโภคเพื่อหาความชอบในตัวอย่างนั้น
บันทึกเพิ่มเติมเมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๔
๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑