บทบาทและกระบวนการทำงาน ของภาคีเครือข่าย ทุกภาคส่วนในระดับตำบล


บทบาทและกระบวนการทำงาน

การจัดการความรู้ :  บทบาทและกระบวนการทำงาน ของภาคีเครือข่าย ทุกภาคส่วนในระดับตำบล (เช่น เทศบาล/อบต./ ภาครัฐ อื่นๆ เช่น ครู,  อสม.,  สมาชิกชมรมสายใยรักแห่งครอบครัว, สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ)     

งานตามยุทธศาสตร์ :  พัฒนาอนามัยแม่และเด็ก

เป้าหมาย : ชุมชน / ตำบลต้นแบบ สามารถจัดทำแผนงาน/โครงการส่งเสริม และ พัฒนาการดำเนินงาน ด้านอนามัยแม่และเด็ก  เพื่อลดการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม , ป้องกันการเกิดทารกคลอดก่อนกำหนด  และส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว นาน 6 เดือน  

เหตุผลที่เลือกองค์ความรู้ : การพัฒนาตำบลเพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอนามัยแม่และเด็ก โดยใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์  เป็นเครื่องมือในการดำเนินงานเพื่อลดการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ป้องกันการเกิดทารกคลอดก่อนกำหนด  และส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างเดียว นาน 6 เดือน เป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจกับ เทศบาล/อบต./ รพ.สต. ภาครัฐ อื่นๆ เช่น ครู,  อสม.,  สมาชิกชมรมสายใยรักแห่งครอบครัว, สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ  เพื่อช่วยขับเคลื่อน  ให้ตำบลมีนโยบายหรือมาตรการทางสังคม ในการเตรียมพร้อมของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ในการมีบุตร  ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ และส่งเสริมแม่ที่ตั้งครรภ์ ให้สามารถดูแลทารกให้มีคุณภาพตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ จนถึงคลอด  และรณรงค์ ส่งเสริม สนับสนุน และสร้าง ความเข้าใจ เพื่อให้แม่ และผู้เลี้ยงดูเด็กสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน  และให้อาหารตามวัยแก่เด็ก โดยไม่ขาดธาตุเหล็กและไอโอดีน  รวมถึงการเลี้ยงดูเด็กอย่างมีคุณภาพ  ให้มีพัฒนาการสมวัย และต้องทำความเข้าใจกับผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ทุกคน ให้เข้าใจในเรื่องการดูแลตัวเอง ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์  คือระยะเตรียมมีบุตร  โดยรับการปรึกษาการมีบุตร ตรวจสุขภาพร่างกาย  ตรวจเลือด Thal/HIV  กินวิตามินธาตุเหล็ก โฟลิก  ไอโอดีน และเมื่อตั้งครรภ์ จะต้องเข้ารับบริการตรวจสุขภาพและตรวจครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์  ได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์  เช่น การฝากท้องครบตามเกณฑ์/ตามหมอนัด การไปฝากท้องพร้อมกันทั้งพ่อและแม่   และเข้าใจถึงวิธีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน  การให้ลูกกินอาหารตามวัยโดยไม่ขาดธาตุเหล็กและไอโอดีน  รวมถึงการเลี้ยงดูอย่างมีคุณภาพ  เพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเจริญเติบโตของเด็กในชุมชน ให้ได้เต็มตามศักยภาพและได้มาตรฐานสมวัย  ดังนั้นการเรียนรู้ ถึงบทบาทและกระบวนการทำงาน ของภาคีเครือข่าย ทุกภาคส่วนในระดับตำบล เช่น เทศบาล/อบต./ ภาครัฐ อื่นๆ เช่น ครู,  อสม.,  สมาชิกชมรมสายใยรักแห่งครอบครัว, สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ  นับว่าเป็นสิ่งสำคัญ  เพราะเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่จะช่วยให้แม่และผู้เลี้ยงดูเด็ก เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในทางที่ถูกต้องและเหมาะสม

รายชื่อสมาชิกกลุ่ม  : 1.ดุษณี แพสุวรรณ  2.รำไพ เกียรติอดิศร  3.วันเพ็ญ ประเสริฐศรี 4. นัยนา สำเภาเงิน 5.นักวิชาการ ผู้รับ-ผิดชอบงานแม่และเด็กและผู้สูงอายุ จาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด อำเภอ และ โรง-พยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

คำสำคัญ (Tags): #hpc8
หมายเลขบันทึก: 438936เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2011 13:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 12:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีจังเด็กไทยที่เกิดทาทุกคนจะได้มีสุขภาพดีกันทั้งประเทศ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท