ตลาดนัดความรู้กรมอนามัย ... KM กับภาคีเครือข่าย (40) ตอนที่ 7 KM กับนานารูปแบบภาคีเครือข่าย


ประสบการณ์ในการที่ทำการจัดการความรู้ โดยใช้ success story เป็นประสบการณ์ที่ท่านรู้สึกซึมซาบลึก เชื่อมั่น และศรัทธา ในการนำ KM ไปใช้

 

คุณหมอนันทา ท่านที่ปรึกษา KM กรมอนามัย ที่มีประสบการณ์ เรื่อง การจัดการความรู้ แบบว่า เพียบ นะคะ ... ท่านร่วม ลปรร. เกี่ยวกับประสบการณ์การสร้างภาคีเครือข่าย มาเล่าให้ชาวกรมอนามัยในตลาดฟังในหลายๆ เรื่อง ...

ประสบการณ์ในการที่ทำการจัดการความรู้ โดยใช้ success story เป็นประสบการณ์ที่ท่านรู้สึกซึมซาบลึก เชื่อมั่น และศรัทธา ในการนำ KM ไปใช้

  • ประสบการณ์ที่ รพ.ธารินทร์ ได้มีโอกาสไปร่วมกิจกรรม กับคุณสร้อยทอง หัวปลาคือ การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน เป็นการเชิญ รพ. หลายๆ ระดับมาร่วม ลปรร. ทั้ง รพช. รพศ. รพท. ที่มีประวัติศาสตร์เรื่องการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน เข้าใจว่า ตรงนั้นยังไม่ได้เป็นเครือข่ายกัน อาจารย์จัดการความรู้ที่จะดึงตรงนี้ออกมา ทำตารางอิสรภาพ ... ก็ทำให้มองว่า เป็นการทำ KM ให้กับเครือข่าย เพราะว่าหลังจากนั้น จากประเด็นการแลกเปลี่ยนตรงนั้น รพช. ก็มีการไปให้ความรู้กับ รพ.เอกชน ก็ปรากฏว่า ทาง รพ.เอกชน ก็เรียนรู้การทำงานกับชุมชนด้วย และภายหลังทราบว่า ดร.วัลลา ซึ่งเป็นตัวตั้งตัวตี ก็ได้ไปเปิด blog เครือข่ายเบาหวาน และทราบว่า ก็เกิดการร่วมมือกัน เช่น รพ.เทพธารินทร์ ก็ไปช่วย รพ.ธาตุพนมในการดูแลเท้า และเกิดเครือข่าย นี่ก็เป็นการจัดการความรู้ และทำให้เกิดเครือข่าย
  • อีกตัวอย่างหนึ่ง รพ.สมุทรสงครามได้ขอให้ดิฉันไปช่วยอบรม Fa และ note taker ของจังหวัด ก็เกิดการจัดการความรู้ขึ้นจากการอบรม แต่ว่าภายหลังจัดการความรู้ให้เกิดรู้จักกันมากขึ้น ทั้งๆ ที่เขาอยู่จังหวัดเดียวกัน เขาอาจจะไม่รู้ว่า ที่จังหวัดเขา ปชส. อะไร ซึ่งจากตรงนี้ คือ การจัดการความรู้ก็ทำให้เกิดเครือข่ายในการที่ทำเรื่อง Food Safety ของจังหวัด ก็ต้องติดตามต่อว่าเครือข่ายนี้แน่นหนาแค่ไหน หรือว่าเพียงแต่เบาบาง เจอกันแต่วันนั้น และก็อาจจะมีการคุยกันบ้าง และทำอะไรแค่ไหน และทำจริงหรือเปล่า แต่เราก็ถือว่า การจัด KM ตรงนั้นก็เป็นจุดเริ่มต้น
  • อีกอันหนึ่งก็คือ การมีเครือข่ายอยู่แล้ว และเกิดมีการ ลปรร. ที่มีประสบการณ์ก็คือ ที่ศูนย์ 4 มีการสร้างภาคีเครือข่ายอยู่แล้ว คุณหมอพนัส และดิฉันก็อยากทำเรื่องนี้ให้มันก้าวหน้าขึ้น ก็ได้รับคำแนะนำจาก อ.วิจารณ์ และคุณหมอสมศักดิ์ให้ไปทำเรื่องให้เกิดการ ลปรร. กลุ่มนี้ที่เขาเป็นเครือข่าย และเจอกันมาหลายครั้งในรูปแบบอื่นๆ จึงเข้าไปทำ ก็เป็นลักษณะของการที่มีเครือข่ายแล้ว และให้ทำ Success story เพราะว่าทุกทีอาจไม่ได้มาคุยกันในเรื่อง Success story แต่มาคุยเรื่องปัญหาต่างๆ แต่ว่าคราวนี้ก็เอา Success story ซึ่งขณะที่เขาทำกลุ่ม Success story กัน ก็จะเห็นว่าเกิดการขอเบอร์โทรศัพท์ เรียนรู้อะไรตรงนั้น และเกิดการ ลปรร. ขึ้นจากการมีเครือข่าย และทำให้เกิดเครือข่ายใหม่ที่ชัดเจนขึ้นจากเครือข่ายย่อยๆ

    แต่ว่าก็มีบทเรียนที่จะบอกคนอื่นด้วยว่า ที่ได้ไปทำที่ ศูนย์ฯ 4 เรื่อง เทศบาล ที่อาจไม่ประสบผลสำเร็จในระยะแรกๆ สิ่งที่ได้เรียนรู้ก็คือ ตอนที่ได้ ลปรร. เขาสนุกสนาน ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน พอเรานำมาเพื่อสรุปปัจจัย หรือทำตารางอิสรภาพ จุดอ่อนที่เราเกิดขึ้นวันนั้นก็คือว่า เวลาไม่ทัน จึงไม่ค่อยให้เขานำเสนอในกลุ่ม ก็มีปัญหาความไม่เข้าใจที่มาที่ไป เพราะฉะนั้นสิ่งที่อยากจะฝากไว้ คือ ถ้าเราจะ ลปรร. และนำไปสู่ตารางอิสรภาพ สู่ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ควรใช้รูปแบบนำเสนอในที่ประชุมร่วมกันก่อน เพื่อให้เกิดความรับรู้ที่เท่ากัน ก่อนที่จะจัดระดับความสำเร็จ เพราะว่าจะสามารถตรวจสอบความครบถ้วน หรือความต้องการเพิ่มเติมเข้าไปได้ด้วย และเขาก็จะพึงพอใจ
  • หรือที่ไปทำเรื่องกระบวนการอาหารปลอดภัย ซึ่งเราพยายามให้ รพ.เป็นตัวกระตุ้นให้ภายนอก รพ. เอาวัตถุดิบมาปรุงอาหาร เป็นวัตถุที่ปลอดสารพิษ รพ. ก็เปิดประตูออกไปเยี่ยมชุมชน ไปกระตุ้นทางเกษตร ครั้งแรกเราเพียงแต่ไปบอกเขาว่า เขาน่าจะทำอันนี้ และเขาก็ไปสร้างเครือข่ายเอง และเมื่อเขาได้สร้างเครือข่ายเสร็จแล้ว เราก็ไปจัดการความรู้ตรงนั้น คือให้เครือข่ายที่มาทำงานร่วมกัน ลองมาเล่า success story ให้กันและกันฟัง ก็เป็นเครือข่าย และมา ลปรร. และเราก็รวบรวมข้อมูลเพื่อมาเผยแพร่ต่อ ซึ่งการเผยแพร่ต่อก็อาจไปสอดคล้องกับที่ ดร.พัชรินทร์ เล่าว่า คือ กลายเป็นงานที่เป็นเรื่องราวที่เรานำมารวบรวมเป็นเล่ม ในเรื่องเล่าจากการ ลปรร. และเราก็เพิ่มว่า สนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อท่านเจ้าของเรื่อง ก็จะเป็นการสร้างเครือข่ายอีกทางหนึ่ง ที่ต้องติดตามต่อว่า ได้ผลดีหรือเปล่า พอคนเขารู้ว่า เรื่องนี้สำเร็จ เขาก็อยากจะไปทำเรื่องนี้เหมือนกัน ก็จะเป็นวงจรของการ ลปรร.

    และตอนที่ รพ.เขาได้ไป ลปรร. ว่า คนที่ปลูกผักต้องทำอะไรบ้าง จากเรื่องกระบวนการที่ไม่เคย เช่น กระบวนการที่เขาทำสำเร็จนี่ เขาต้องผ่านกระบวนการ มีปัญหา และปลูกผักได้บางฤดูกาล และคุยกับทาง สิ่งที่เกิดขึ้นก็รู้สึกว่า ทำให้ รพ. เกิดเมนู แทนที่จะเป็นเมนูตามหลักวิชาการที่จะต้องบอกว่า เกิดคุณค่าอย่างนี้ อย่างนี้ ก็ปรากฏว่า ผักที่เขาปลูกตามฤดูกาลเป็นยังไง เขาก็ปรับเมนูที่สอดคล้องกับผักพื้นบ้าน หรือผักปลอดภัยที่มีอยู่ แต่คุมสภาพคุณค่าอาหาร สิ่งนี้ได้ขึ้นมา เพราะเกิดจากการได้ไปแลกเปลี่ยนกับคนข้างนอก
  • และจะเห็นว่า ในกรมอนามัยนั้น ระดับศูนย์ก็สร้างเครือข่าย ระดับส่วนกลางก็สร้างเครือข่ายพอสมควร และเนื่องจากดิฉันก็มีฉายา เจ๊ดันอยู่แล้ว ... ใครเชิญก็ชอบไปกระตุ้นว่า ถ้าจะทำเรื่อง KM ก็เอาที่มีเรื่องสำเร็จมาเล่า ก็มองเห็นว่า สุมาลีก็ทำเรื่องสร้างเครือข่าย จนพัฒนาหลักสูตรเรื่อง การ counseling ในเรื่องของอนามัยการเจริญพันธุ์ เข้าไปในราชภัฎได้นะ และคุณนงลักษณ์ก็ไปสร้างเครือข่ายกับแพทยสภา ผู้เกี่ยวข้อง หรือว่านักกฎหมาย คนนั้นคนนี้เยอะแยะ จนสามารถผลักดันให้เกิดระเบียบข้อบังคับของแพทยสภา ในเรื่องของการทำแท้ง นอกจากมาตรา 305 เดิมแล้ว ก็เพิ่มในเรื่อง สุขภาพจิตของแม่ สุขภาพของเด็ก ที่ชัดเจนขึ้น ลดปัญหาการทำแท้งที่ผิดกฎหมาย เราก็เห็นว่า ทำได้สำเร็จก็เพราะว่าคุณนงลักษณ์มีสุมาลีไปสร้างเครือข่าย และเขาสร้างยังไงที่ทำให้สนิทสนมกัน จนพูดเป็นเสียงเดียวกัน ช่วยเหลือกันจังเลย ก็ได้ไปขอให้เขาจัดการแลกเปลี่ยนกันในวันนั้น ก็เลยได้ 2 เรื่อง
  • อีกอันคือ เรื่อง Clean Food Good Taste ทั้งส่วนกลาง และศูนย์ก็พยายามสร้างเครือข่าย เราก็อาจไปจัดการความรู้ได้ โดยเอาพวกเรากันเองมาเล่าเรื่องความสำเร็จ ก็จะได้มี tacit knowledge นำมา ลปรร. กันต่อไปได้

และขอเสริมว่าระหว่างที่เรามีการสร้างเครือข่าย ก็มา AAR แบบที่คุณฉัตรลดาทำ ก็คือ คุยกันในกลุ่มที่ทำกันเอง ว่า เมื่อเราสร้างเครือข่ายแล้วเป็นยังไง ได้ตามคาดหรือเปล่า ทำอะไรต่อ ก็จะเป็นการใช้การจัดการความรู้ในการสร้างเครือข่ายด้วย

 

หมายเลขบันทึก: 43893เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2006 23:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท