ภาษากับระดับชั้นในสังคม (Language and Social Class)


การแบ่งชนชั้นในสังคมของสังคมอุตสาหกรรมในประเทศตะวันตก จะแบ่งระดับชั้นของสังคมตาม ความมีอำนาจ (power) ความร่ำรวย (wealth) และยศ ตำแหน่งหรือฐานะเดิม (status)

ภาษากับระดับชั้นในสังคม (Language and Social Class)

 

นอกจากภาษาจะทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการสื่อสารแล้วนั้น ภาษายังทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการบอกถึงเบื้องหลังหรือภูมิหลัง (clue bearing) ของผู้พูดได้อีกด้วย โดยจะสื่อออกมาในรูปแบบของความแตกต่างของ ไวยากรณ์ (grammar) หน่วยเสียง(phonetic) ระบบเสียง(phonological) และสำเนียง(accent) ของผู้พูด ยกตัวอย่างเช่น (Trudgill, 2000)

Speaker A                                                Speaker B

I done it yesterday.                              I did it yesterday.

He ain’t got it.                                      He hasn’t got it.

It was her what said it.                         It was her that said it.

จากตัวอย่างนี้ผู้ที่มีความรู้ทางภาษาสามารถคาดเดาได้ว่า Speaker B มีสถานะทางสังคม (social class) สูงกว่า Speaker A เนื่องจากสามารถใช้ภาษาได้ถูกต้องใกล้เคียงกับภาษามาตรฐานมากกว่า ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าภาษามีความหลากหลายและมีรูปแบบการใช้แปรไปตามระดับชั้นทางสังคม ที่เรียกว่า social-class dialect หรือ sociolect มีนักการศึกษาหลายคนได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้และได้สรุปผลการวิจัยเอาไว้ว่าคนที่อยู่ในสถานะทางสังคมที่แตกต่างกันนั้นก็จะมีรูปแบบการใช้ภาษาที่แตกต่างกันตามไปด้วย ดังตัวอย่างที่จะกล่าวถึงต่อไป

                ในกระบวนการพัฒนาของภาษานั้นมีทั้งตัวแปรด้านภูมิศาสตร์ (regional varieties) และสังคม (social varieties) โดยที่ด้านภูมิศาสตร์ นั้นขอบเขตของภาษาถูกแบ่งโดยกำแพงทางธรรมชาติ เช่น ภูเขา แม่น้ำ และระยะทาง ระยะทางยิ่งห่างกันมาก ก็จะส่งผลให้รูปแบบการใช้ภาษาแตกต่างตามไปด้วย ส่วนตัวแปรทางสังคมแบ่งออกได้เป็นสองประเด็นคือ กำแพงหรืออุปสรรคทางสังคม (social barriers) และระยะห่างทางสังคม (social distance) โดยที่ปัจจัยที่เรียกว่าสิ่งกีดกันทางสังคมหรือกำแพงทางสังคมนั้นได้แก่ระดับชนชั้นในสังคม อายุ เชื้อชาติ ศาสนา เป็นต้น ส่วนปัจจัยด้านระยะห่างทางสังคม ก็จะส่งผลกระทบที่คล้ายคลึงกับ ระยะห่างทางภูมิศาสตร์ โดยทั้งปัจจัยด้านอุปสรรคทางสังคมและระยะห่างทางสังคมนี้เป็นสาเหตุสำคัญของการยับยั้งหรือส่งเสริมการแพร่กระจายของรูปแบบการใช้ภาษา (linguistic feature) เช่น รูปแบบของภาษาที่กำเนิด จากบุคคลชั้นสูงจะแพร่กระจายได้เร็วกว่า เพราะชนชั้นสูงมีอำนาจมากกว่าและเป็นที่ยอมรับกว้างขวางกว่า บุคคลทั่วไปจะนิยมนำไปใช้เป็นแบบอย่าง เป็นเรื่องของทัศนคติที่คิดว่าการมีพฤติกรรมลอกเลียนแบบพฤติกรรมของคนชั้นสูงแล้ว จะได้รับการยอมรับในสังคมจึงทำให้การแพร่กระ-จาย เป็นไปอย่างรวดเร็วเมื่อเปรียบเทียบกับรูปแบบภาษาที่เกิดจากบุคคลชั้นแรงงาน

การแบ่งชนชั้นในสังคมของสังคมอุตสาหกรรมในประเทศตะวันตก จะแบ่งระดับชั้นของสังคมตาม ความมีอำนาจ (power) ความร่ำรวย (wealth) และยศ ตำแหน่งหรือฐานะเดิม (status) ซึ่งการแบ่งชนนั้นโดยทั่วไปแล้วจะ ไม่ได้มีกฏเกณฑ์ตายตัว ขึ้นอยู่กับการเมืองการปกครองแต่ละประเทศ หรือแต่ละภูมิภาคนั้นๆ ยกเว้นการแบ่งวรรณะ (castes) ในประเทศอินเดีย ที่ไม่มีการยืดหยุ่นเหมือนการแบ่งชนชั้นของชาวตะวันตก ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นการแบ่งชนชั้นในชาติตะวันตก (Wardhaugh, 2002)

Upper upper class: Old money

Lower upper class: New money

Upper middle class: Professional

Middle class: White collar and entrepreneurs

Workong class: Blue collar

Upper lower class: Unskilled laborers

Lower class: Socially and economically disadvantaged

 

โดยรวมแล้วระยะห่างทางภูมิศาสตร์จะเป็นอุปสรรคของการแพร่กระจายของภาษามากที่สุดโดยระยะทางยิ่งห่างมากเท่าไหร่ รูปแบบของภาษาก็จะยิ่งแตกต่างกันมากขึ้นเท่านั้น แต่ในกรณีของภาษาที่ใช้ในวรรณะของประเทศอินเดียนั้นมีความแตกต่างออกไป กล่าวคือ กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในเมืองเดียวกันแต่ต่างวรรณะกันกลับมีรูปแบบทางภาษาที่แตกต่างกันมาก ในขณะที่คนที่อยู่ในวรรณะเดียวกันแต่อยู่ห่างไกลกันคนละแคว้น กลับมีรูปแบบของภาษาที่เหมือนกัน ดังนั้นในกรณีนี้ กำแพงหรืออุปสรรคด้านวรรณะจึงมีอิทธิพลมากกว่าความห่างของระยะทาง แต่อย่างไรก็ตาม การแพร่กระจายของภาษาระหว่างวรรณะ (castes) ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกับ การแพร่ของภาษาระหว่างชนชั้น (social class) ในกลุ่มประเทศตะวันตกได้ เนื่องจาก ชนชั้นทางสังคมของกลุ่มประเทศดังกล่าวมีความยืดหยุ่น (social mobility) สามารถปรับเปลี่ยนได้ คนในสังคมสามารถเปลี่ยนชนชั้นได้ ขึ้นอยู่กับ ความมีอำนาจ (power) ความร่ำรวย (wealth) และยศ ตำแหน่งหรือฐานะเดิม (status) ที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง

อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าคนแต่ละชนชั้นจะมี รูปแบบภาษาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่มที่เรียกว่า social-class หรือ sociolect แล้วนั้น คนแต่ละคนก็ยังมีรูปแบบของภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองด้วยเช่นกัน เรียกว่า idiolect ซึ่งนักวิจัยที่ชื่อ William Labov ค้นพบว่า แม้แต่ในตัวบุคคล คนเดียวกันยังมีความไม่แน่นอนในการออกเสียงหรือสำเนียงในคำคำเดียวกัน ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ต่างๆ และปัจจัยอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับตัวภาษา (extra-linguistic factors) อย่างไม่ตั้งใจ เช่น เวลาพูดกับเพื่อนเป็นอีกอย่าง (gonna) แต่พูดกับบุคคลสำคัญเป็นอีกอย่าง (going to) ซึ่งในเวลาต่อมาเรียกว่า free variation จากผลการวิจัย การไม่ออกเสียง r (r-dropping) ที่อยู่หลังสระ เช่น car และ farm พบว่าชนชั้นกลางมีการเปลี่ยนการออกเสียง r กลับไปกลับมา เยอะกว่าคนชั้นสูงที่พบว่ามีเปลี่ยนแปลงน้อยมาก

                รูปแบบภาษาที่มีความแตกต่างกันระหว่างชนชั้นทางสังคม ภายใต้ regional dialect เดียวกัน ที่เห็นได้ชัดจากงานวิจัยของ Trudgill (2000) ที่ทำการทดสอบการเติม s หลังคำกริยาบุรุษที่สาม (He likes… vs He like…) ที่เมือง Detroit (USA) และเมือง Norwich (UK) ที่พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่เป็นชนชั้นแรงงานของทั้งสองเมือง ไม่นิยมเติม s หลังคำกริยาบุรุษที่สาม ซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ของภาษาอังกฤษ ซึ่งจะแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับชนชั้นกลางของทั้งสองเมืองแสดงให้เห็นถึงการปะปนของ social classes ที่อยู่ภายได้ community เดียวกัน กรณีนี้เรียกว่า dialect mixture

จึงกล่าวโดยสรุปได้ว่า การแปรทางภาษาและการแพร่กระจายของภาษา ที่เกิดขึ้นกับปัจจัยด้านชนชั้นของสังคมนั้น เกิดขึ้นได้ทั้ง ปัจจัยด้านกำแพงหรืออุปสรรคทางสังคม และปัจจัยด้านระยะห่างทางสังคม โดยที่รูปแบบการใช้ภาษาจะแพร่จากสังคมชนชั้นสูงไปสู่ชนชั้นแรงงานได้ดีกว่า เนื่องจากทัศนคติของคนที่คิดว่า คนชั้นสูงได้รับการยอมรับมากกว่า

 

 

 

 

 

หมายเหตุ: บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการทบทวนการเรียนรายวิชาภาษาศาสตร์เชิงสังคม เรื่อง ภาษากับระดับชั้นในสังคม (Language and Social Class) หากมีข้อผิดพลาดประการใด ขอความกรุณา ท่านผู้รู้ทั้งหลาย โปรดชี้แนะ แนวทางที่ถูกต้องด้วยครับ ขอขอบคุณครับ

 

Name: Parinya Thongprapha

Student Code: 51922806

Lecturer: Dr. Ubon Dhanesschaiyakupa

Course Title: 227532 : Sociolinguistics

Graduate School, Burapha University, 2010

 

References

Trudgill, P. (2000). Sociolinguistics: an introduction to language and society. Suffolk: Clays Ltd.

Wardhaugh, R. (2002), an introduction to Sociolinguistics. Massachusetts: Blackwell Publishers Ltd



ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะคุณ'รินทร์'

แวะมาอ่าน'ภาษากับระดับชั้นในสังคม(Language and Social Class)

โชคดีที่แคนาดาเป็นประเทศที่ให้ความเคารพในเสรีภาพสิทธิมนุษยชนมากเพราะสังคมของเขามีผู้คนหลากหลายวัฒนธรรมมาก

ถ้ามีการวัดระดับการพูดภาษากับระดับชั้นในสังคม ดิฉันเองคงจะอยู่ประมาณชั้นกรรมกรนะคะ

ปัจจุบันนี้ทุกแห่งในโลกในป่ามหลังเขา ความเจริญเข้าไปถึง...คนมีการติดต่อสื่อสารกัน,พยายามทำความเข้าใจกัน,พูดกันรู้เรื่อง...ระดับชั้นไม่น่าจะมีแล้วนะค่ะ

ยิ่งสูงยิ่งหนาว...บอกที่มาที่ไป..บอกสถานะในสังคมก็น่าจะพอนะคะ...

ขอคุณมากครับ :)

สำหรับความคิดเห็นดีๆ และความรู้เกี่ยวกับสังคมของประเทศแคนาดา คร๊าบบบ

จะว่าไปแล้วการศึกษาด้านภาษาศาสตร์เชิงสังคม (Sociolinguistics) นี้

ไม่ได้ใช้ภาษาเป็นตัวแบ่งชนชั้นทางสังคมครับ

หากแต่สังคมตั้งแต่อดีตได้มีการแบ่งชนชั้นทางสังคมเอาไว้ก่อนแล้ว

โดยใช้ปัจจัยทางสังคม เช่น power, wealth, and status

ซึ่งในปัจจุบัน บางประเทศอาจไม่มีการแบ่งชนชั้นแล้วก็ได้

ส่วนหน้าที่ของนักภาษาศาสตร์เชิงสังคมนั้น

คือการศึกษาลักษณะหน้าตาของภาษา (linguistic feature)

ที่ใช้อยู่ในชนชั้นที่มีอยู่แล้วว่ามีความเหมือนหรือมีความแตกต่างกันอย่างไร

และให้คำตอบว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น

(ผิดถูกประการใด ขอความกรุณา ท่านผู้รู้ทั้งหลาย โปรดชี้แนะด้วยคราบบบ ^-^! )

การแปรภาษาระดับยากที่สุดคะ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลทำวิจัยค่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท