ถอดบทเรียนงานเสวนาที่ สสส. เรื่อง Social media กับการสื่อสารในองค์กร



อาทิตย์ที่ผ่านมา อ.หมอ JJ (http://gotoknow.org/blog/uackku/437243) พี่ิจิ๊บเมตตา และดิฉันได้ขึ้นเวทีเสวนาร่วมกับผู้จัดการ สสส. และ ฝ่าย IT ของ สสส. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง Social media กับการสื่อสารในองค์กรค่ะ

ในการรับหน้าที่เป็น moderator ในครั้งนี้ค่ะ ดิฉันอยากให้ผู้ฟังได้รับทั้งมุมมองของผู้บริหารและคนหน้างาน และอยากให้ได้เห็นการใช้เครื่องมือ IT ที่แตกต่างกันในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ

สสส. ใช้ Yammer (ซึ่งคล้าย Twitter และ Facebook) เพื่อการสื่อสารภายในองค์กร ส่วน อ. หมอ JJ ใช้บล็อกบน GotoKnow เพื่อการสื่อสารสำหรับองค์กรสู่สาธารณะ และพี่จิ๊บใช้บล็อกบน Share.psu.ac.th เพื่อการสื่อสารสำหรับองค์กรสู่สาธารณะเช่นกันแต่เน้นวงสมาชิกใน share.psu จะเป็นเฉพาะบุคลากร มอ. เท่านั้นค่ะ

ดิฉันคิดว่าสามคำถามสำคัญในวันนั้น คือ

1. ใครควรเป็นคนเขียน
2. จะเขียนอะไร เขียนอย่างไร
3. ทำอย่างไรให้เครื่องมือนี้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน


ในข้อแรก ใครควรเป็นคนเขียนเพื่อการสื่อสารในและนอกองค์กร

การร่วมกันถอดบทเรียน ร่วมกันถ่ายทอดเรื่องราว คำว่า "ร่วมกัน" นี่แหละค่ะ คือ วัตถุประสงค์ของเครื่องมือ Social media ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นทั้งผู้บริหารและคนหน้างานควรบันทึกอย่างเป็นประจำ โดยเฉพาะผู้บริหารควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้เครื่องมือเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ

ในข้อสอง เขียนอะไร เขียนอย่างไร

ทั้ง GotoKnow, Share.psu, และ สสส. เปิดโอกาสให้บุคลากรใช้พื้นที่ทางออนไลน์พื่อการเขียนได้ทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวได้ค่ะ แม้ระบบของ Yammer ซึ่งใช้เฉพาะในองค์กรของ สสส. (ซึ่งเหมือนอนุทินของ GotoKnow) จะตั้งคำถามไว้ว่า  What are you working on? ก็ตามค่ะ และบรรยากาศของพื้นที่ออนไลน์ของ สสส. นั้นผู้บริหารอยากให้เป็นไปอย่างมีกัลยาณมิตร อย่างที่ได้พบเห็นใน GotoKnow ค่ะ

แต่การเขียนก็ต้องมีขอบเขต เคารพนโยบายการใช้และกฎกติกามารยาท โดยเฉพาะการเขียนที่พาดพิงผู้อื่นหรือนำมาซึ่งข้อพิพาทจะต้องระวังเป็นพิเศษ

ส่วนข้อสุดท้าย ทำอย่างไรให้เครื่องมือนี้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน

คำถามข้อนี้ อ.หมอ JJ ตอบได้ดีที่สุดค่ะ เพราะท่านแสดงให้เห็นโดยไม่ต้องถามก่อนเลยค่ะ ท่านใช้ GotoKnow รายงานสดก่อนการเริ่มเสวนาค่ะ

ดิฉันเสริมค่ะว่า GotoKnow ก็มี microblog เหมือน Yammer และ Twitter เราเรียกว่า อนุทินค่ะ ไว้บันทึกสดๆ จะเป็นความคิด กิจกรรม การทำงาน หรือ bookmark สั้นๆ ง่ายๆ สะดวกค่ะ โดยคำถามของอนุทิน GotoKnow คือ คุณกำลังทำงานอะไรอยู่/มีอะไรน่าแบ่งปันบ้าง เหมือนกับเป็นการทำให้เรามีสติอยู่กับสิ่งที่ต้องทำตอนนั้นนั่นเองค่ะ

ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมืออะไร การจะทำให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันนั้น ส่วนที่สำคัญที่สุด คือ ความสุข ค่ะ อยากใช้เพราะอยากมีความสุข ความสุขทั้งให้และรับ เห็นประโยชน์ของการแบ่งปันค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 437808เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2011 12:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 สิงหาคม 2014 10:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับอาจารย์

อาจารย์หมอเจเจ ถือเป็นต้นแบบของผมในการทำให้การสื่อสารใน Social network เนียนเข้ากับชีวิตปกติ (เนียนในความหมายที่ว่าถ้าวันใดไม่ได้ทำในสิ่งที่เคยทำเหมือนรู้สึกว่าขาดอะไรไปสักอย่าง)

แต่จะว่าไปแล้วนอกจากหมอเจเจแล้ว ก็ยังมีบล็อคเกอร์ใน โกทูโนอีกหลายคนนะครับ ที่เข้้าข่ายลักษณะดังกล่าว ไม่ว่าจะเแป็น อ.หมอวิจารณ์ พี่คิม อ.ดร.วิรัตน์ และอีกหลายต่อหลายคน

ผมคิดว่าแต่ละคนต่างก็มีสไตล์การเล่าเรื่องและบอกกล่าวแตกต่างกันไป ทั้งเนื้อหา และวิธีการ ซึ่งควรค่าแก่การเรียนรู้และสกัดออกมาเป็นความรู้อย่างยิ่ง ถ้าเราอยากเห็นสังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งนี่ก็คือรูปธรรมและประสบการณ์จริงของสิ่งที่ผมกล่าวถึง

ผมดีใจมากครับที่เข้ามาเป็นสมาชิกของชุมชนนี้ แม้ว่าจะไม่สม่ำเสมอดังรายนามบล็อคเกอร์ที่ผมเอ่ยถึงข้างต้น แต่สิ่งเหล่านี้ก็เป็นกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง ที่ต้องค่อยเติบโตขึ้นไป

คำถามข้อสามนั้นสำหรับผมเป็นเป้าหมายครับ ที่ยังไม่มีคำตอบสุดท้่ย แต่พอจะเห็นเค้าลางบ้างแล้วครับ...

เรียนท่านอาจารย์ ดร.จัน คู่ ชัย

  • กิจกรรมที่พวกเราชาว G2K ไปเล่าสู่กันฟัง ให้ชาว สสส ไม่แน่ใจว่าทาง สสส มีการประเมินกิจกรรมวันนี้นประการใดหรือไม่
  • หากมีและ สื่อสารให้พวกเรา Blogger ได้รับรู้น่าจะ ย้ำเตือน เรื่องการสื่อสารสองทาง
  • เพื่อพวกเราจะได้นำไปเป็นบทเรียนต่อไปครับ

สวัสดีครับอาจารย์ พบกันเสมอนะครับที่โกทูโนวท์นี่ มีประโยชน์มากๆ ครับ ผมก็อ่านแต่โดยการใช้คือการนำไปประยุกต์นะครับ ผิดไปแก้ไขไปนะครับ ผมคิดอย่างนั้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท