ความรุนแรงในครอบครัว สาเหตุหนึ่งของภาระโรค (การคาดการณ์ความรุนแรงในครอบครัว)


Murray A. Straus (1977) ได้ศึกษาต่างวัฒนธรรมเรื่องการทะเลาะวิวาทระหว่างสามีภรรยา
พบสาเหตุที่เป็นปัจจัยรุนแรงนำไปสู่การทะเลาะวิวาท 4 ประการ คือ

1.  การบ่มเพาะความอึดอัดไม่พอใจระหว่างสามีภรรยาเป็นเวลานาน

2.  กิจกรรมของครอบครัว และความสนใจของสามีและภรรยาที่แตกต่างกัน 
     กล่าวคือ เวลาของสามีและภรรยาจะไม่ตรงกันในการกระทำกิจกรรมของครอบครัว

3.  เวลาของสามีและภรรยามุ่งไปสู่การทำงานเฉพาะกิจของตนเอง ขาดความเอาใจใส่ต่อกัน

4.  ความไม่เสมอภาคระหว่างเพศ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ภายในครอบครัว
     สามีจะแสดงบทบาทผู้มีอำนาจเหนือกว่า ต้องการให้ภรรยาสมยอมในทุกเรื่อง 
     และทำให้ภรรยาต้องอยู่ในภาวะพึ่งพาสามี โดยเห็นว่าการหย่าร้างจะนำผลร้ายมาสู่ลูกๆ
. . .

. . .

ความรุนแรงในครอบครัว (Violence in the Family)   สามารถจำแนกเป็น 2 ประเภท คือ

1.  การทำร้าย ทุบตีภรรยา (Wife Battering)
2.  การกระทำทารุณต่อเด็ก (Child Abuse)

การทำร้าย ทุบตีภรรยา  (Wife Battering)
เกิดขึ้นได้ทุกชนชั้นในสังคม (Lenore E. Walker) สาเหตุเกิดจากการทำความผิดของสมาชิกครอบครัว (Steinmetz, 1977) 
ทำให้เกิดข้อขัดแย้งและการพิพาทในครอบครัว ถ้าปล่อยทิ้งให้เป็นความขัดแย้งที่เรื้อรังไม่ได้แก้ไข
ผลสุดท้ายจะเกิดภาวะที่ไม่สามารถควบคุมได้ นักวิชาการหลายท่านแสดงความคิดเห็นว่า
ความรุนแรงในครอบครัวเกิดจากการใช้อำนาจอาวุโสระหว่างเพศ  เช่น  Goode (1971)  และ O'Brien  (1971) ได้เสนอว่า
สามีที่ไม่ประสบความสำเร็จทางสังคมในหน้าที่การงาน มักจะแสดงความวิตกกังวลหงุดหงิดไปสู่ภรรยา
Goode (1971) ได้สรุปว่า ความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้นเมื่อสามีไม่สามารถมีสถานภาพทางสังคม
ประสบความล้มเหลวต่อการมีอำนาจนอกบ้าน  ไม่สามารถทำงานบรรลุวัตถุประสงค์เพื่อนำมาสนับสนุนการมีอำนาจในบ้าน 

ประเด็นเหล่านี้ ต้องทำการศึกษาต่อไปอีก  โดยจะต้องนำปัจจัยอื่นมาทำการศึกษา 
เช่น  กระบวนการขัดเกลาทางสังคม  ปัจจัยทางจิตวิทยา  ปัจจัยความกดดันทางสังคม 
เช่น  ปัญหาการว่างงาน  ปัญหาด้านการเงิน  และปัญหาด้านสุขภาพ
. . .

. . .
การกระทำทารุณต่อเด็ก  (Child Abuse)

เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ ตั้งแต่เรื่องความขัดสน ด้อยโอกาส ขาดแคลนความจำเป็นพื้นฐานของชีวิต 
ด้านอาหาร  เสื้อผ้า  ที่อยู่อาศัย  ไปจนถึงเรื่องการขาดความรัก  ความอบอุ่นในครอบครัว  การกระทำทารุณทางร่างกาย 
ถูกกักขังหน่วงเหนี่ยว  นำไปเร่ขาย  ทอดทิ้งให้อดอยากหิวโหย  ต้องเร่ร่อน การฆ่าทิ้งถ้าพบเป็นเพศหญิง 
และการทำแท้งจากการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์  บางประเทศที่อยู่ระหว่างการทำสงครามจะให้เด็กจับอาวุธ ทำหน้าที่เป็นทหาร
และเด็กต้องตกเป็นเหยื่อจากการสู้รบตั้งแต่อายุระหว่าง  7 - 8 ขวบ การกระทำทารุณต่อเด็กนั้น
นักวิชาการหลายท่านได้สรุปสาเหตุว่า เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม สังคมเกิดภาวะไร้ระเบียบวินัย
รวมทั้งการเกิดสภาพความเป็นเมือง (Urbanization) ทำให้สังคมละทิ้งคุณค่าทางวัฒนธรรม
และการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวล้มเหลว ทำให้เสี่ยงต่อการกระทำทารุณต่อเด็กยิ่งขึ้น
. . .

. . .

ครอบครัวสุขภาพดีจะต้องรู้จักการสื่อสารด้วยการพูด และทำความเข้าใจกันอย่างเปิดเผย  รู้จักยอมรับและเข้าใจแนวคิดของแต่ละฝ่าย ในสังคมไทยความรุนแรงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดภาระโรค ซึ่งก็มาจากหลายสาเหตุ เช่น

- Unsafe Sex สาเหตุหนึ่งของความรุนแรง และภาระโรค คลิก

- สุรา ความรุนแรง และภาระโรค คลิก

เรามาดูกันว่า พื้นที่ไหนในเมืองไทยที่มีการเสียชีวิตจากความรุนแรงสูงสุด

...

รายละเอียดประกอบภาพ คลิก 

คุณจะทราบได้อย่างไรว่าคุณจะต้องเผชิญกับความรุนแรงในครอบครัวหรือป่าว โปรดอ่าน
การคาดการณ์ความรุนแรงในครอบครัว
สัญญาณต่อไปนี้จะเกิดขึ้นก่อนที่ความก้าวร้าวที่แท้จริงจะเกิดขึ้น หรือมีโอกาสที่จะเกิดขึ้น

1. เขาเติบโตในครอบครัวที่ใช้ความรุนแรงหรือเปล่า? คนส่วนใหญ่ที่เติบโตในครอบครัวที่ใช้
   ความก้าวร้าวจะเป็นเด็กที่ก้าวร้าว หรือครอบครัวที่มีพ่อหรือแม่ทำร้ายกัน เด็กก็จะเติบโตและเรียนรู้
   ว่าพฤติกรรมความก้าวร้าวเป็นเรื่องที่ปกติ

2. เขาได้รับการดูแลหรือใช้ความรุนแรงเพื่อแก้ปัญหาหรือเปล่า? ชายหนุ่มผู้เป็นอาชญากรที่ถูกบันทึก
   ว่าใช้ความรุนแรง จะใช้การต่อสู้ หรือชอบแสดงออกถึงความมุทะลุและชอบที่จะแสดงการกระทำ
   ในลักษณะเดียวกันนี้กับภรรยาและลูก เขามีความรุนแรงแบบนี้หรือไม่?  เขาแสดงออกมากถึง
   ปัญหาหรือความผิดหวังหรือไม่? ทารุณกรรมสัตว์หรือเปล่า? ต่อยกำแพง หรือขว้างปาสิ่งของเมื่อ
   อารมณ์เสียหรือเปล่า? พฤติกรรมเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของบุคคลที่จะแสดงออกถึงความรู้สึก
   ก้าวร้าวที่อยู่ในจิตใจ

3. เขามีพฤติกรรมดื่มแอลกฮอลล์ หรือใช้ยาเสพย์ติดอื่นๆ หรือไม่? มีการเชื่อมโยงระหว่างพฤติกรรม
   ความรุนแรงและปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับแอลกอฮอล์ และยาเสพย์ติด

4. เขามีความคิดเก่าแก่ที่เด็ดเดี่ยวเกี่ยวกับว่าผู้ชายจะต้องเป็นอย่างนี้และผู้หญิงต้องเป็นอย่างนี้
    หรือเปล่า? คิดว่าผู้หญิงจะต้องอยู่กับบ้าน ดูแลสามี และทำตามที่ปรารถนาหรือที่สั่งทุกอย่าง
    หรือเปล่า?

5. เขาหึงหวงหรือระแวงเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของคุณกับคนอื่นหรือเปล่า? ต้องการรู้ว่าคุณอยู่ที่ไหน
    ตลอดเวลาหรือเปล่า? ต้องการให้คุณอยู่กับเขาตลอดเวลาหรือเปล่า?

6. เขาเข้าใกล้ปืน มีด หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่ทำให้ถึงแก่ชีวิตได้หรือเปล่า? มีการพูดเกี่ยวกับการ
    ต่อสู้กับคนอื่นหรือใช้การข่มขู่เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการหรือเปล่า?

7. เขาคาดหวังว่าคุณจะต้องทำตามคำสั่งหรือคำแนะนำของเขาหรือเปล่า? และกลายเป็นคนโกรธง่าย
   ถ้าคุณไม่สามารถเติมเต็มในสิ่งที่ปรารถนาหรือถ้าคุณไม่สามารถทำในสิ่งที่เขาต้องการเปล่า?

8. เมื่อเขาโกรธ? คุณกลัวหรือไม่? คุณรู้สึกยากที่จะทำในสิ่งที่เขาต้องการหรือไม่

9. เขาดูแลคุณอย่างหยาบคายหรือเปล่า? คุณถูกบังคับให้ทำสิ่งที่คุณไม่ต้องการหรือไม่ ?
......

. . .

ถ้าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับความสัมพันธ์ของคุณ โปรดเล่าเรื่องนี้ให้คนที่ไว้ใจได้ฟัง ปรึกษาเพื่อหาทางออก
พยายามอย่าสร้างเงื่อนไขให้ถูกทำร้าย และรู้จักวางตัว ป้องกันตัว วางแผนเอาตัวรอด
และมองเหตุผลทางด้านความเสียหายที่จะเกิดขึ้น มากกว่าบูชาความรัก
เพราะคุณจะประสบกับปัญหาความรุนแรงต่อเนื่องอย่างแน่นอน

ร่วมเป็นเครือข่ายกับเรา Facebook: BOD

อ้างอิง

http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A7
http://health.exteen.com/20071205/entry-21
http://www.vcharkarn.com/vblog/36292

หมายเลขบันทึก: 437538เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2011 15:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:27 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท