การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน


การสอนแบบโครงงาน

การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน

การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน
                  เรียนรู้แบบโครงงานเป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ หรือการค้นคว้าหาคำตอบ ในสิ่งที่ผู้เรียนอยากรู้หรือสงสัยด้วยวิธีการต่างๆ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้เลือกศึกษา ตามความสนใจของตนเองหรือกลุ่มเป็นการตัดสินใจร่วมกันจนได้ชิ้นงานที่สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ได้ในชีวิตจริง
                  การเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นการเรียนรู้ที่ใช้เทคนิคหลากหลายรูปแบบ นำมาผสมผสานกัน ได้แก่ กระบวนการกลุ่ม การฝึกคิด การแก้ปัญหา การเน้นกระบวนการ การสอนแบบปริศนาความคิด และการสอนแบบร่วมกันคิด ทั้งนี้มุ่งหวังให้ผู้เรียนเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งจากความสนใจอยากรู้อยากเรียนของผู้เรียนเอง โดยใช้กระบวนการและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ เพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง เป็นการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงกับแหล่งความรู้เบื้องต้น ผู้เรียนสามารถสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งความรู้ที่ผู้เรียนได้มาไม่จำเป็นต้องตรงกับตำรา แต่ผู้สอนจะสนับสนุนให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งการเรียนรู้และปรับปรุงความรู้ที่ได้ให้สมบูรณ์
                  การเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงหลักการพัฒนาการคิดของบลูม  (Bloom) ทั้ง6ขั้นกล่าวคือ
                -  ความรู้ความจำ (Knowledge)

-  ความเข้าใจ (Comprehension)

-  การนำไปใช้ (Application)
                -  การวิเคราะห์ (Analysis)
                -  การสังเคราะห์ (Synthesis)
                -  การประเมินค่า (Evaluation)
                และยังเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในทุกขั้นตอนของการเรียนรู้ ตั้งแต่การวางแผนการเรียนรู้ การออกแบบการเรียนรู้ การสร้างสรรค์ประยุกต์ใช้ผลผลิต และการประเมินผลงาน โดยผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้จัดการเรียนรู้

 

 การออกแบบโครงงาน
               การสอนแบบกิจกรรมโครงงานคุณครูอาจเกิดความไม่มั่นใจว่าจะเริ่มต้นกันอย่างไร เริ่มที่ตรงไหน     ขอนำเสนอการออกแบบโครงงานอย่างง่าย เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการออกแบบ การทำโครงงานเป็นการออกแบบ รูปแบบโครงงานที่ทำ ประกอบด้วย ขั้นตอนต่างๆ อย่างหลากหลาย ซึ่งเป็นการวางแผนรูปแบบการสอนแบบโครงงาน    ที่ครูผู้สอนแต่ละคนจะพิจารณาตามความเหมาะสม ในการนำเสนอครั้งนี้จะขอเสนอ 6 ขั้นตอน และขอชี้แจงเกี่ยวกับ ความหมายของแต่ละหัวข้อ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1   การคิดและเลือกหัวข้อเรื่องการตั้งชื่อโครงงาน
ขั้นตอนที่ 2  การออกแบบการทำโครงงาน การวางแผนรูปแบบโครงงานที่ทำประกอบด้วยหัวข้อ                ต่อไปนี้
                1.  การตั้งชื่อโครงงาน  กำหนดปัญหาหรือหัวข้อที่ต้องการศึกษาค้นคว้าคำตอบ ถ้าผู้เรียนระดับชั้นต้นๆควรจะเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ควรเป็นคำถามหรือข้อความที่กะทัดรัดชัดเจน สื่อความหมายได้ตรง ผู้อ่าน อ่านแล้วสนใจชวนให้ติดตามเนื้อหาสาระ
                2. การเขียนความเป็นมาของโครงงาน  หมายถึง กล่าวถึงสาเหตุหรือแรงจูงใจที่ทำให้นักเรียนเกิดความสงสัย   ใคร่รู้ อยากรู้คำตอบของสิ่งที่ต้องการศึกษา เป็นการอธิบายว่าเหตุใดจึงเลือกทำโครงงานชิ้นนี้ มีเหตุจูงใจอะไร มีความสำคัญอย่างไร มีหลักการหรือทฤษฎีอะไรที่เกี่ยวข้อง
                3. การเขียนวัตถุประสงค์ของโครงงาน  หมายถึง  การกำหนดสิ่งที่ต้องการทราบว่าเมื่อเสร็จสิ้นการศึกษา ควรมีความหมายเฉพาะเจาะจง และสามารถวัดได้เป็นการบอกขอบเขตของงานที่จะทำได้ชัดเจนขึ้น คิดทบทวนไตร่ตรองหาเหตุผลประกอบการตัดสินใจว่าต้องการอะไรจากการทำโครงงานครั้งนี้ เขียนสิ่งที่ตนเองต้องการ พูดคุยกับเพื่อนเพื่อให้เกิดความมั่นใจยิ่งขึ้น
                4. การเขียนแผนผังความคิดแบบ Web  หมายถึง  เป็นการเขียนเพื่ออธิบายจากหัวข้อใหญ่สู่หัวข้อย่อยๆ ของแต่ละเรื่อง ปัญหาที่ต้องการศึกษา แตกแขนงให้เห็นรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกัน ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษา
                5. การเขียนแผนผังโครงงานแบบตาราง  หมายถึง การนำตารางแผนผังโครงงานที่ได้ทำขึ้นเพื่อเป็นเสมือนแผนการดำเนินงานโครงงานมาใส่ไว้เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ของคำถาม สมมุติฐาน วิธีการศึกษา แหล่งศึกษา

                   คำถาม  ดอกกุหลาบมีเกสรตัวผู้หรือไม่
                   สมมุติฐาน  มีเพราะกุหลาบมีเมล็ดอยู่ในกระเปาะของดอก
                  วิธีการศึกษา  สอบถามผู้รู้ค้นคว้าทดลองพิสูจน์จากของจริง
                   แหล่งศึกษา ผู้รู้ หนังสือเกี่ยวกับพืช ดอกกุหลาบจริง
                   ระยะเวลาที่ใช้ศึกษา กำหนดเป็นจำนวนวัน สัปดาห์ หรือเดือนแล้วแต่ความเหมาะสม
                   ผู้รับผิดชอบ กำหนดผู้รับผิดชอบแต่ละหัวข้อให้ชัดเจน


                6.  การเขียนขั้นตอนการดำเนินงาน  หมายถึง การบรรยายสภาพให้เห็นขั้นตอนการทำงานของนักเรียนตั้งแต่ต้นจนจบเป็นโครงงานสำเร็จ จะต้องอธิบายว่าออกแบบอย่างไร จะเก็บข้อมูลอะไรบ้าง รวมทั้งระบุวัสดุที่จำเป็นต้องใช้  ครูชี้นำให้ดังนี้
                    1. นักเรียนถามตัวเองว่ามีวิธีใดบ้างที่จะศึกษาเรื่องนั้นๆได้
                    2. นักเรียนเลือกวิธีการที่เหมาะสมและสามารถทำได้ในข้อจำกัดที่มีอยู่
                    3. กำหนดขั้นตอนหรือวิธีการศึกษาและระยะเวลา

    4. กำหนดวิธีการนำเสนอผลงาน
                7.  วิธีการนำเสนอผลการศึกษา หมายถึง การนำผลการศึกษาออกเผยแพร่ให้สาธารณชนรับทราบด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ที่เหมาะสมกับเรื่องที่ศึกษาและมีความเป็นไปได้ ซึ่งผู้เรียนจะเป็นผู้นำเสนอข้อมูลหรือผลสรุปของการศึกษาค้นคว้า อาจนำเสนอในรูปของรายงาน การจัดบอร์ดแสดงสิ่งที่ศึกษา
                8.  การเขียนประโยชน์ที่ได้รับ หมายถึง การเขียนบรรยายความคาดหวังที่นักเรียนมีต่อโครงงาน การบรรยายผลที่ได้รับจากการศึกษาโครงงานชิ้นนี้ ว่าผู้ศึกษาได้ศึกษาแล้วตรงกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ ให้ประโยชน์ด้านใดบ้าง เช่น ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น ได้ทราบคำตอบของปัญหาที่ศึกษาอย่างละเอียดชัดเจนจนเป็นที่พอใจ
                9.  วิธีการนำเสนอผลการศึกษา หมายถึง การนำผลการศึกษาออกเผยแพร่ให้สาธารณชนรับทราบด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ที่เหมาะสมกับเรื่องที่ศึกษาและมีความเป็นไปได้ ซึ่งผู้เรียนจะเป็นผู้นำเสนอข้อมูลหรือผลสรุปของการศึกษาค้นคว้า อาจนำเสนอในรูปของรายงาน การจัดบอร์ดแสดงสิ่งที่ศึกษาหรือการแสดงในรูปของละครหรือด้วยวาจา เป็นต้น
               10.  การเขียนแหล่งอ้างอิง หมายถึง หนังสือหรือเอกสารหรือบุคคลที่นักเรียนไปศึกษาค้นคว้า แล้วได้นำความรู้มาตอบคำถามของโครงงาน การเขียนเอกสารอ้างอิงควรบอกรายละเอียดที่จำเป็นให้ครบถ้วน เช่น
                    1. ถ้าเป็นหนังสือตำรา ต้องบอกชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ ชื่อโรงพิมพ์ ปีพ.ศ.ที่พิมพ์ นักเรียนได้ เขียนข้อมูลจากหน้าที่เท่าไร
                    2. ถ้าเป็นสิ่งพิมพ์ เช่น วารสาร หนังสือพิมพ์ ต้องบอกชื่อผู้เขียนคอลัมน์ ชื่อวารสารหรือหนังสือพิมพ์ วัน/เดือน/ปี ที่ตีพิมพ์
                    3. ถ้าเป็นบุคคล บอกชื่อ นามสกุล อายุ อาชีพ สถานที่ของผู้ที่สามารถติดต่อได้ ความชำนาญที่มี
                11. การเขียนความรู้สึกที่มีต่อการทำโครงงานชิ้นนี้ หมายถึง ให้นักเรียนเขียนบรรยายความรู้สึกที่เกิดขึ้นก่อนทำโครงงาน ขณะทำโครงงาน และหลังทำโครงงาน ประโยชน์ที่นักเรียนได้รับ หรือความคาดหวังที่นักเรียนมีต่อโครงงาน

ขั้นตอนที่ 3  การลงมือทำโครงงาน ลงมือปฏิบัติงานตามที่วางแผนไว้ในขั้นตอนที่ 2

ขั้นตอนที่ 4  การเขียนรายงานโครงงาน เขียนรายงานโครงงานจากข้อมูลที่ไปศึกษาค้นคว้ามา                       ตรวจสอบกับสมมุติฐานลงในแบบบันทึก
ขั้นตอนที่ 5 การนำเสนอผลงาน เขียนบรรยายวิธีการนำเสนอผลงาน
ขั้นตอนที่ 6 การวัดผลประเมินผล เขียนความรู้สึกที่มีต่อการทำโครงงานแลกเปลี่ยนตรวจสอบกับเพื่อน ผู้ปกครอง ครู

 

กระบวนการของกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน
กระบวนการ แบ่งเป็น  3 ระยะ  คือ
ระยะที่ 1 การเริ่มต้นโครงงาน
                 เป็นระยะที่ผู้สอนต้องสังเกต/สร้างความสนใจให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน จากนั้นตกลงร่วมกัน เลือกเรื่องที่ต้องการศึกษาอย่างละเอียด ผู้สอนสร้างความสนใจให้เกิดกับผู้เรียนซึ่งมีหลายวิธี โดยอาจศึกษาเรื่องจากการบอกเล่าของผู้ใหญ่หรือผู้รู้ จากประสบการณ์ของผู้เรียน/ผู้สอน จากเอกสารสิ่งพิมพ์ หรือสื่อต่างๆ จากการเล่นของผู้เรียน จากความคิดที่เกิดขึ้น จากวัตถุสิ่งของที่ผู้สอนนำมาในห้องเรียน หรือจากตัวอย่างโครงงานที่ผู้อื่นทำไว้แล้ว เป็นต้น เมื่อเกิดความสนใจแล้วก็จะถึงการกำหนดหัวข้อโครงงาน โดยนำเรื่องที่ผู้เรียนสนใจมาอภิปรายร่วมกัน แล้วกำหนดเรื่องนั้นเป็นหัวข้อโครงงาน ทั้งนี้จะต้องคำนึงว่าการกำหนดหัวข้อโครงงานนั้นจะกระทำหลังจากการตรวจสอบสมมติฐานเสร็จสิ้นแล้ว


ระยะที่ 2 ขั้นพัฒนาโครงงาน
                   เป็นขั้นที่ผู้เรียนกำหนดหัวข้อคำถาม หรือประเด็นปัญหา ที่ผู้เรียนสนใจอยากรู้ แล้วตั้งสมมติฐานมาตอบคำถามเหล่านั้น ทดสอบสมมติฐานด้วยการลงมือปฏิบัติ จนค้นพบคำตอบด้วยตนเอง ตามขั้นตอนดังนี้
                   1. ผู้เรียนกำหนดปัญหาที่จะศึกษา
                   2. ผู้เรียนตั้งสมมติฐานเบื้องต้น
                   3. ผู้เรียนตรวจสอบสมมติฐานเบื้องต้น
                  4. สรุปข้อความรู้จากผลการตรวจสอบสมมติฐาน
                   ในกรณีที่ผลการตรวจสอบไม่เป็นไปตามสมมติฐาน ผู้สอนควรให้กำลังใจผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนไปแสวงหาความรู้เพิ่มเติม สิ่งที่ไม่ควรกระทำคือการตำหนิหรือกล่าวโทษ ผู้สอนควรกระตุ้นให้ผู้เรียนมีกำลังใจจนสามารถตั้งสมมติฐานใหม่ได้ ในกรณีที่ผลการตรวจสอบเป็นไปตามสมมติฐาน ให้ผู้เรียนสรุปองค์ความรู้จากการค้นพบด้วยการลงมือปฏิบัติของผู้เรียนเองเมื่อได้องค์ความรู้ใหม่แล้ว ผู้เรียนจะนำองค์ความรู้นั้นไปใช้ในการทำกิจกรรมตามความสนใจต่อไปได้ ผู้เรียนอาจใช้ความรู้ที่ค้นพบเป็นพื้นฐานของการกำหนดประเด็น ปัญหาขึ้นมาใหม่เพื่อ
กำหนดเป็นโครงงานย่อย ศึกษารายละเอียดในเรื่องนั้นต่อไปอีก
ระยะที่ 3 ขั้นสรุป
                   เป็นระยะสุดท้ายของโครงงานที่ผู้เรียนค้นพบคำตอบของปัญหาแล้ว และได้แสดงให้ผู้สอนเห็นว่าได้สิ้นสุดความสนใจในหัวข้อโครงงานเดิม และเริ่มหันเหความสนใจไปสู่เรื่องใหม่ ระยะนี้เป็นระยะที่ผู้สอนและผู้เรียนจะได้แบ่งปันประสบการณ์การทำงานและแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของการทำงานตลอดโครงงานแก่คนอื่นๆ มีกิจกรรมที่ผู้สอนให้ผู้เรียนดำเนินการในขั้นตอนนี้ ดังนี้
               1.  ผู้เรียนเขียนรายงานเป็นรูปแบบงานวิจัยเล็กๆ
               2.  ผู้เรียนนำเสนอผลงาน (แสดงเป็นแผงโครงงาน) ให้ผู้สนใจรับรู้ สรุปและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

 

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
ขั้นตอนการจัดกระบวนการเรียนรู้ แบบโครงงานมี ดังนี้
                   1. ขั้นนำเสนอ หมายถึง ขั้นที่ผู้สอนให้ผู้เรียนศึกษาใบความรู้ กำหนดสถานการณ์ ศึกษาสถานการณ์ เกม รูปภาพ หรือการใช้เทคนิคการตั้งคำถามเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้ที่กำหนดในแผนการจัดการเรียนรู้แต่ละแผน เช่น สาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรและสาระการเรียนรู้ที่เป็นขั้นตอนของโครงงาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการเรียนรู้
                   2. ขั้นวางแผน หมายถึง ขั้นที่ผู้เรียนร่วมกันวางแผน โดยการระดมความคิด อภิปรายหารือข้อสรุปของกลุ่ม
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ
                   3. ขั้นปฏิบัติ หมายถึง ขั้นที่ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมเขียนสรุปรายงานผลที่เกิดขึ้นจากการวางแผนร่วมกัน
                   4. ขั้นประเมินผล หมายถึง ขั้นการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง โดยให้บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้ โดยมีครู ผู้เรียนและเพื่อนร่วมกันประเมิน


แนวทางการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน มี 2 แนวทาง ดังนี้

1. การจัดกิจกรรมตามความสนใจ
                   เป็นการจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนเลือกศึกษาโครงงานจากสิ่งที่สนใจอยากรู้ที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน สิ่งแวดล้อมในสังคม หรือจากประสบการณ์ต่างๆ ที่ยังต้องการคำตอบ ข้อสรุป ซึ่งอาจจะอยู่นอกเหนือจากสาระการเรียนรู้ในบทเรียนของหลักสูตร มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
                   1) ตรวจสอบ วิเคราะห์ พิจารณา รวบรวมความสนใจแก่ผู้เรียน
                   2) กำหนดประเด็นปัญหา/หัวข้อเรื่อง
                   3) กำหนดวัตถุประสงค์
                   4) ตั้งสมมติฐาน
                   5) กำหนดวิธีการศึกษาและแหล่งความรู้
                   6) กำหนดเค้าโครงของโครงงาน
                   7) ตรวจสอบสมมติฐาน
                   8) สรุปผลการศึกษาและการนำไปใช้
                   9) เขียนรายงานเชิงวิจัยง่ายๆ
                   10) จัดแสดงผลงาน 

2. การจัดกิจกรรมตามสาระการเรียนรู้
                   เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยยึดเนื้อหาสาระตามที่หลักสูตรกำหนด ผู้เรียนเลือกทำโครงงานตามสาระการเรียนรู้ จากหน่วยเนื้อหาที่เรียนในชั้นเรียน นำมาเป็นหัวข้อโครงงาน มีขั้นตอนที่ผู้สอนดำเนินการดังต่อไปนี้
                   1) เริ่มจากศึกษาเอกสารหลักสูตร คู่มือครู
                   2) วิเคราะห์หลักสูตร
                   3) วิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา เพื่อแยกเนื้อหา จุดประสงค์ และกิจกรรมให้เด่นชัด
                   4) จัดทำกำหนดการสอน
                   5) เขียนแผนการจัดการเรียนรู้
                   6) ผลิตสื่อ จัดหาแหล่งการเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
                   7) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้
                       7.1) แจ้งจุดประสงค์ เนื้อหาของหลักสูตรให้ผู้เรียนทราบ
                    7.2) กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนในขอบเขตของเนื้อหาและจุดประสงค์ในหลักสูตร
                    7.3) จัดกลุ่มผู้เรียนตามความสนใจ
                    7.4) ผู้สอนใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น
                     -  ทำไมผู้เรียนจึงสนใจอยากเรียนเรื่องนี้ (แนวคิด/แรงดลใจ)
                     -  ผู้เรียนสนใจเกี่ยวกับอะไรบ้าง (กำหนดเนื้อหา)
                          -  ผู้เรียนอยากเรียนรู้เรื่องนี้เพื่ออะไร (กำหนดจุดประสงค์)
                          -  ผู้เรียนจะทำอย่างไรจึงจะเรียนรู้ได้ในเรื่องนี้ (กำหนดวิธีศึกษา/กิจกรรม)
                          -  ผู้เรียนจะใช้เครื่องมืออะไรบ้างในการศึกษาครั้งนี้ (กำหนดสื่ออุปกรณ์)
                          -  ผู้เรียนจะไปศึกษาที่ใดบ้าง (กำหนดแหล่งความรู้แหล่งข้อมูล)
                          -  ผลที่ผู้เรียนคาดว่าจะได้รับคืออะไรบ้าง (สรุปความรู้/สมมติฐาน)
                          -  ผู้เรียนจะทำอย่างไรจึงจะรู้ว่าผลงานของผู้เรียนดีหรือไม่ดีอย่างไร จะให้ใครเป็นผู้    ประเมิน (กำหนดการวัดและประเมินผล)
                          -  ผู้เรียนจะเผยแพร่ผลงานให้ผู้อื่นรู้ได้อย่างไร (นำเสนอผลงาน รายงาน)
                   7.5) ผู้เรียนแต่ละกลุ่มศึกษาตามที่ตกลงกันไว้ (จากคำถามที่ผู้สอนซักถาม) ภายใต้กรอบเวลาในแต่ละครั้ง ถ้ายังไม่สำเร็จให้ศึกษาต่อในคาบต่อไป
                   7.6) ผู้เรียนทุกคนต้องสรุปองค์ความรู้ได้ด้วยการเรียนของผู้เรียนและสามารถนำเสนอความรู้ที่ได้แก่เพื่อนๆ และผู้สอนได้
                   7.7) ผู้เรียนเขียนรายงานเชิงวิจัยแบบง่ายๆ และแสดงแผงโครงงาน
              8) ผู้สอนจัดแหล่งความรู้เพิ่มเติมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
              9) ผู้สอนเขียนบันทึกผลการเรียนรู้

 

ประเภทของโครงงาน

                จากขอบข่ายของโครงงานดังกล่าว จะเห็นได้ว่า นักเรียนเป็นผู้ดำเนินงาน  โดยคำแนะนำปรึกษาจากครู – อาจารย์ที่สนับสนุน ให้นักเรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง ทั้งด้านการเสนอโครงงาน รายละเอียดและขั้นตอนการปฏิบัติ ตลอดจนถึงการจัดทำแผนปฏิบัติและการแปลผล และรายงานผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ทำให้สามารถแบ่งแยกประเภทของโครงงานได้ดังนี้


ประเภทของโครงงาน  แบ่งงออกเป็น  4  ประเภท  คือ

1.  ประเภทศึกษาค้นคว้าทดลองโครงงานประเภทนี้ เป็นโครงงานที่เกิดขึ้นจากการศึกษาหลักการต่างๆ ทางวิชาการแล้วนำมาทดลองค้นคว้าเพื่อยืนยันทฤษฎีหรือหลักการหรือต้องการทราบแนวทางเพิ่มคุณค่า และการใช้ประโยชน์มากยิ่งขึ้น
             เป็นโครงงานที่ต้องการนำเสนอแนวคิดหรือทฤษฎีใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครคิดมาก่อน หรือว่านำเสนอหลักฐานใหม่เพื่อแย้งหรือขยายความทฤษฎีที่มีอยู่เดิม ซึ่งจะต้องผ่านการพิสูจน์มาอย่างชัดเจน

เช่น

             - การศึกษาสูตรอาหารไก่ตอน
             - การทดลองปลูกพืชในน้ำยาหรือการปลูกพืชโดยไม่ต้องใช้ดิน
             - การควบคุมการเจริญเติบโตของไม้ประดับประเภทเถา
             - การใช้ฮอร์โมนกับกิ่งกุหลาบ
             - การศึกษาขนมชนิดต่างๆ
             - การศึกษาสูตรเครื่องดื่มที่ผลิตจากผลไม้
             - การศึกษาทำปุ๋ยชีวภาพ

2. ประเภทสำรวจข้อมูล  โครงงานประเภทนี้ เป็นโครงงานที่ศึกษาสำรวจข้อมูลสำหรับดำเนินงานพัฒนาปรับปรุง เพิ่มเติมผลงานและส่งเสริมผลผลิตให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ข้อมูลดังกล่าวอาจมีผู้จัดทำขึ้น แต่มีการแปลเปลี่ยนไปแล้ว ต้องทำการสำรวจจัดทำขึ้นใหม่ให้ทันสมัยอยู่เสมอ
              เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและรวบรวมข้อมูล นำมาเข้ากระบวนการจำแนกออกเป็นหมวดหมู่ และนำเสนออย่างมีแบบแผน ทั้งนี้ จุดที่สำคัญก็คือต้องชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ได้สำรวจและรวบรวมมาได้

เช่น
              - การสำรวจราคาผลผลิตเกษตรในท้องถิ่น
              - การสำรวจราคาอุปโภคบริโภคในท้องถิ่น
              - การสำรวจแหล่งวิชาการและสถานประกอบการในท้องถิ่น
              - การสำรวจงานบริการในท้องถิ่น
              - การสำรวจปริมาณการปลูกข้าวโพดในท้องถิ่น
              - การสำรวจปริมาณการเลี้ยงห่านในท้องถิ่น 2

3. ประเภทสร้างสิ่งประดิษฐ์  โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ขึ้นมาใหม่ หลังจากได้ศึกษาทางทฤษฎี หรือพบเห็นผลงานของผู้อื่นแล้วเกิดความคิดสร้างสรรค์ที่จะพัฒนาต่อไปจึงประดิษฐ์คิดค้นให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ดียิ่งขึ้น
             เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์ในการนำความรู้และทฤษฎีต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการสร้างผลงานให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน ทั้งนี้ อาจเป็นการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ขึ้นใหม่ทั้งหมด หรือเป็นการแก้ไขปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นก็ได้
เช่น

             - การควบคุมระบบการให้น้ำแปลงเพาะชำ
             - การประดิษฐ์เคลือบรูปพลาสติก (กรอบรูปวิทยาศาสตร์)
             - การประดิษฐ์หัวฉีดพ่นน้ำในแปลงปลูกผัก
             - การประดิษฐ์ของชำร่วยจากเรซิ่น
             - การประดิษฐ์เครื่องขยายเสียง
             - การประดิษฐ์เครื่องหรี่ไฟฟ้า
             - การประดิษฐ์กรอบกระจก
             - การประดิษฐ์ป้ายชื่อหินอ่อน
             - แกะลายกระจก

4. ประเภทพัฒนาผลงาน โครงงานประเภทนี้ เป็นโครงงานที่เกิดจากการศึกษาเนื้อหาทางวิชาการ หรือ หลักทฤษฎีเกี่ยวกับวิชาการงาน และอาชีพหรือวิชาสามัญต่าง ๆ แล้วนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้สอดคล้องกับแนวทฤษฎีดังกล่าวส่งผลให้มีรูปธรรมยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น เมื่อนักเรียนได้ศึกษาทางทฤษฎีเกี่ยวกับ พลังงานแสงอาทิตย์ นักเรียนอาจทำโครงงานการใช้ยกปราบศัตรูพืชสมุนไพรกำจัดเพี้ย หนอน แมลงปีกแข็ง ฯลฯ
           พืชสมุนไพร นักเรียนอาจทำโครงงาน การแปรรูปผลผลิต การทำผักกาดดองสามรส การทำไส้กรอก การดองพืชผัก ผลไม้ต่าง ๆ ฯลฯ
          การเลี้ยงปลา นักเรียนอาจทำโครงงาน  การเลี้ยงปลาสวยงาม การเปลี่ยนสีปลาออสก้า ฯลฯ

ตัวอย่างประเภทของโครงงาน

ที่

ชื่อโครงการ

ประเภทโครงงาน

พัฒนาผลงาน

ค้นคว้าทดลอง

สร้างสิ่งประดิษฐ์

สำรวจข้อมูล

1

ประดิษฐ์ของชำร่วยจากเรซิ่น

 

 

ü     

 

2

งานไม้(กรอบรูป/โต๊ะ/เก้าอี้/กระถางต้นไม้/ชั้นวางหนังสือ)

 

 

ü     

 

3

งานอลูมิเนียม(ทำมุ้งลวด / ราวตากผ้า)

 

 

ü     

 

4

 งานเรซิ่น (หล่อรูปต๊กตา / เคลือบกรอบรูป)

 

 

ü     

 

5

งานปูน (ม้านั่งหินอ่อน / อิฐตัวหนอน / แผ่น-ทางเดิน)

 

 

ü     

 

6

งานโลหะ (บัวรดน้ำ / เสียม / ตู้ใส่จดหมาย / เหล็กดัด)

 

 

ü     

 

7

งานไฟฟ้า (โคมไฟฟ้า / ชุดต่อปลั๊กแบบ -ประหยัด)

 

 

ü     

 

8

 งานอิเล็กทรอนิกส์(นาฬิกาดิจิตอล / เครื่องหรี่ไฟ / เครื่องชาร์ทแบตเตอรี่ เป็นต้น

 

 

ü     

 

9

ประดิษฐ์ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์

ü     

ü     

ü     

 

10

แกะลายกระจก

 

 

ü     

 

 

ประโยชน์ของการจัดทำโครงงาน

1.   ทำงานตามความถนัด ความสนใจของตนเอง

2.   ฝึกทักษะกระบวนการทำงานด้วยตนเอง หรือร่วมกันทำงานเป็นกลุ่ม

3.   สามารถวางแผนการทำงานเป็นระบบ

4.   พัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

5.   ศึกษา ค้นคว้า  และแก้ปัญหาจากการทำงาน

6.   เป็นสิ่งยืนยันว่าเป็นผู้มีความรู้  ความสามารถ  และประสบการณ์ในโครงงานที่ทำจริง ในกรณีที่ต้องนำแสดงต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การทำโครงงานคอมพิวเตอร์
               เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีผลกระทบต่อความเจริญก้าวหน้าของทุก ๆ สังคมในโลกปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีด้านนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงเป็นเรื่องยากที่ประชาชนจะคอยติดตามความก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลาและเป็นสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์คุ้มค่าอีกด้วย ดังนั้นการศึกษาเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์จึงต้องศึกษาหลักการและเนื้อหาพื้นฐานเป็นสำคัญ  การศึกษาด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งจำเป็นเสมือนกับการศึกษาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ คอมพิวเตอร์ได้เปลี่ยนแปลงโลกของเราในด้านต่าง ๆ มากมายได้แก่
                - สังคมโดยส่วนใหญ่เปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมเป็นสังคมสารสนเทศ
                - การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ มักขึ้นอยู่กับข้อมูลซึ่งได้จากระบบคอมพิวเตอร์
                - คอมพิวเตอร์กลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญแทนเครื่องมืออื่น ๆ ในอดีต เช่น เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องคิดเลขเป็นต้น
                - คอมพิวเตอร์ถูกใช้ในการออกแบบสถานการณ์หรือปัญหาที่ซับซ้อนต่าง ๆ
                - คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารของโลกปัจจุบัน

                นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาเรียนวิทยาศาสตร์ธรรมชาติเพื่อความเข้าใจความเป็นไปของธรรมชาติในโลก ในทำนองเดียวกันนักเรียนต้องเรียนวิชาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์เพื่อความเข้าใจในสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของสังคมต่าง ๆ ในยุคสารสนเทศ เนื้อหาวิชาทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษามีเป้าหมายที่จะพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ความเข้าใจในวิทยาการของคอมพิวเตอร์และมีความสามารถในการพัฒนาโปรแกรมได้ ดังนั้นกา

หมายเลขบันทึก: 436015เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2011 11:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 13:15 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท