เมื่อสมองได้ผ่อนคลาย...ในมะเร็ง Vs สมองเสื่อม


ขอบคุณคุณลุงที่มีภาวะ Dementia และคุณน้าที่มีภาวะ Cancer ที่มาประเมินความล้าและความไวของสมองที่คลินิกกิจกรรมบำบัด...คุณลุงบินมาจาก US และคุณน้าบินมาจากสิงค์โปร์

ทั้งคุณลุงและคุณน้าของผมบินมาจากต่างประเทศ แต่ได้รับการรักษาทางการแพทย์เฉพาะทางได้ดี คือ สภาวะการทำงานของสมองหลัง Dementia ของคุณลุงผมนั้น "สามารถดูแลตนเองได้ 70% มีคุณป้าคอยช่วยเหลืออีก 30%" และสภาวะการทำงานของร่างกายหลัง Cancer ที่กระจายไปตามท่อรังไข่ ปอด ฯลฯ ของคุณน้าผมนั้น "สามารถดูแลตนเองและทำงานบางส่วนได้ 90% อีก 10% ต้องมีผู้ช่วยเหลือเรื่องงานประจำ"

อย่างไรก็ตามคุณลุงของผมต้องไป-กลับ Nursing Care ณ อเมริกา มีกิจกรรมประจำ แต่ไม่ได้รับการบริการหรือส่งต่อกิจกรรมบำบัด เช่นเดียวกับคุณน้าของผมที่ไม่มีการบำบัดฟื้นฟูจากกิจกรรมบำบัดหลังภาวะมะเร็ง ณ สิงค์โปร์ ผมไม่แน่ใจว่าระบบอยู่ที่อะไร แต่คาดว่า "นักกิจกรรมบำบัดไม่ได้สร้างสรรค์โปรแกรมที่เชื่อมโยงกับการรักษาทางการแพทย์ในสภาวะสมองเสื่อมและมะเร็งอย่างชัดเจน"

ผมในฐานะลูกศิษย์คนแรกของอาจารย์มือหนึ่งของโลกในเรื่อง "โปรแกรมการจัดการความล้าหลังโรคเรื้อรัง" คือ Prof. Tanya L. Packer คลิกอ่านที่ http://occupationaltherapy.dal.ca/Faculty%20%26%20Staff/Faculty_.php 

และได้มีประสบการณ์ในผู้ที่มีสภาวะมะเร็งแล้ว คลิกอ่านที่ http://gotoknow.org/blog/otpop/324576 และ http://gotoknow.org/blog/otpop/324578

กับประสบการณ์ในผู้ที่มีสภาวะสมองเสื่อม คลิกอ่านที่ http://gotoknow.org/blog/otpop/433614

ผมเลยชวน อ.ติ๊ก มาช่วยประเมินความไวของสมองและอัตราการใช้ออกซิเจนที่เชื่อมโยงกับชีพจร ก่อนและหลังเข้า "โปรแกรมการผ่อนคลายภายใต้สิ่งแวดล้อมเทียมที่หลากหลาย" พร้อมให้คำปรึกษา "การดัดแปรรูปแบบการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตเพื่อการสงวนพลังงานในคุณน้า กับการกระตุ้นความสามารถในการคิดเข้าใจของสมองในคุณลุง"

ดร.ป๊อป จึงขอสรุปกรณีศึกษาทั้งสองท่านดังนี้

ก่อนเข้าโปรแกรม

คุณลุงมีภาวะซึมเศร้าเล็กน้อย (คะแนน 7/9) ได้คะแนนทดสอบสมองเบื้องต้น 8/30 เมื่อวัดความไวของการมองเห็นได้ 0.96 วินาที ความไวของการได้ยิน 1.06 วินาที มีค่า SatO2 97% Pulse Pressure 62 b/m  ดร.ป๊อป ตั้งสมมติฐานถึงความล้าทางความคิดและจิตใจหลังสมองเสื่อมโดยประมวลจากข้อมูลข้างต้นและการสอบถามถึงความสุขความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต ณ ปัจจุบัน คือ ไม่มีการกระตุ้นวัน เวลา สถานที่ บุคคล มีการนอนระหว่างวันมากเกินไป ไม่มีกิจกรรมที่ท้าทายความคิดมากนักในแต่ละวัน

คุณน้าไม่มีภาวะซึมเศร้า (คะแนน 4/9) ได้คะแนนทดสอบสมองเบื้องต้น 27/30 เมื่อวัดความไวของการมองเห็นได้ 0.31 วินาที ความไวของการได้ยิน 0.33 วินาที มีค่า SatO2 97% Pulse Pressure 67 b/m ดร.ป๊อป ตั้งสมมติฐานถึงความล้าทางร่างกายหลังภาวะมะเร็งโดยประมวลจากข้อมูลข้างต้นและการสอบถามถึงความสุขความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต ณ ปัจจุบัน คือ ทำงานตอนกลางคืน ไม่มีกิจกรรมที่มีความหมายระหว่างวัน เพราะครึ่งวันเช้าใช้เป็นเวลานอน (ตี 4 - เที่ยงวัน) มีอาการเหนื่อยง่ายและมีความเสื่อมของกระดูกและกล้ามเนื้อ

โปรแกรมที่แนะนำคุณลุง ได้แก่ การฝึกหายใจเข้าออกผ่านเครื่องเป่า การฝึกสื่อสารกับร่างกายในการเคลื่อนไหวทำกิจกรรมต่างๆ การฝึกสมาธิและนึกคิดสิ่งที่เห็นแยกจากสิ่งที่ได้ยินแล้วค่อยผสมผสานกันขณะทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตระหว่างวัน เมื่อลองฝึกกิจกรรมมองภาพเคลื่อนไหวจนถึงมองและฟังเสียงต่างๆ ในหลายๆ มิติ ก็พบว่า มีความไวของการมองเห็นลดลงที่ 1.94 วินาที ความไวของการได้ยินลดลงที่ 1.46 วินาที มีค่า SatO2 98% Pulse Pressure 61 b/m แสดงว่า สมองที่ทำงานอยู่ต้องการการผ่อนคลายก่อนที่จะฝึกสติคิดและเข้าใจในกิจกรรมการดำเนินชีวิตตามสิ่งแวดล้อมโดยธรรมชาติ

โปรแกรมที่แนะนำคุณน้า ได้แก่ การนั่งพิงฟังดนตรีเบาๆ พร้อมนับ 1-100 ขณะหลับตาทำสมาธิ จากนั้นก็ฝึกทำสมาธิแบบลืมตาฟังเพลงโดยไม่คิดอะไรอีก 5 นาที ต่อด้วยการฝึกการผ่อนคลายกล้ามเนื้อตามลำดับส่วน 5 รอบ ไม่มีดนตรี และการสื่อสารกับร่างกายขณะนอน-ตะแคง-นั่ง-ยืน-เดิน โดยหายใจออกยาวๆ ทุกครั้งที่ริเริ่มการเคลื่อนไหวแล้วบอกกับตัวเองในใจ  เมื่อลองฝึกกิจกรรมมองภาพเคลื่อนไหวจนถึงมองและฟังเสียงต่างๆ ในหลายๆ มิติ ก็พบว่า มีความไวของการมองเห็นลดลงที่ 1.27 วินาที ความไวของการได้ยินลดลงที่ 0.35 วินาที มีค่า SatO2 98% Pulse Pressure 65 b/m แสดงว่า ร่างกายที่ทำงานอยู่ต้องการการผ่อนคลายก่อนที่จะฝึกสงวนพลังงานเพื่อใช้ในกิจกรรมการดำเนินชีวิตตามสิ่งแวดล้อมโดยธรรมชาติ 

บทสรุปจากสองกรณีศึกษานี้คือ "ให้เวลาพักผ่อนระหว่างวันบ้าง เพื่อส่งเสริมสุขภาวะของผู้ที่มีความเสี่ยงหรือกำลังใช้ชีวิตกับโรคเรื้อรัง เช่น มะเร็ง และสมองเสื่อม"

หมายเลขบันทึก: 436010เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2011 09:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 22:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

คืนนี้ดีใจมากที่พบว่า นักศึกษากิจกรรมบำบัดรุ่นแรก ม.มหิดล ได้เขียนเรื่องราวใน Blog ลองอ่านและให้กำลังใจที่ http://3potmu1.blogspot.com/2010/11/blog-post.html

คืนนี้ดีใจมากได้อ่านบันทึกหนึ่งของนักศึกษากิจกรรมบำบัด ม.มหิดล รุ่นแรก ลองคลิกอ่านและเป็นกำลังใจให้น้องนักศึกษาที่ http://3potmu1.blogspot.com/2010/11/blog-post_15.html

อบรมฟรี กิจกรรมบำบัดจิตสังคมกับการจัดการมะเร็ง 17 ก.ย. 54

คลิกอ่านประชาสัมพันธ์ที่ http://www.gotoknow.org/classified/ads/1623

อาจารย์หนูฝากบล็อกด้วยนะค่ะ เป็นเรื่องกิจกรรมบำบัดสำหรับผู้ป่วยสมองเสื่อม ขอให้อาจารย์เพิ่มเติมข้อเสนอแนะให้ด้วยนะค่ะhttp://otcmu.wordpress.com/

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท