occrayong
กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม รพ.ระยอง

ถาม-ตอบ กับปัญหา "กัมตภาพรังสี" ที่พบบ่อย


กัมมันตภาพรังสี

คำถามเกี่ยวกับ

"สารกัมมันตภาพรังสี" ที่มีหลายคนสงสัย และตั้งข้อคำถามมากมายเกี่ยวกับสารนี้ถึงอันตราย หรือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากได้รับหรือสัมผัสกับสารนี้  วันนี้เรามาดูคำถามที่พบบ่อยๆ พร้อมกับคำตอบเหล่านั้นกันนะคะ

1.มีรายงานการปนเปื้อนของสารกัมตรังสีเกินขนาดจากสินค้าเกษตรที่นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น...แล้วประเทศไทยจะปลอดภัยจากกัมมันตภาพรังสีที่รั่วไหลจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งนี้หรือไม่?

          ผศ.ดร.สมพร จองคำ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.)กล่าวว่า "โอกาสที่สารกัมมันตรังสีจะฟุ้งกระจายมาถึงประเทศไทยนั้นมีโอกาสน้อยมาก มองว่าน่าจะมีโอกาสแค่ 0.001 เปอร์เซ็นต์ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ระเบิดมีการดับเครื่องแล้ว เปรียบเหมือนรถยนต์เมื่อหม้อน้ำแห้งก็จะระเบิด แตกต่างจากกรณีเชอร์โนบิลที่มีการระเบิดรุนแรง จนทำให้กัมตภาพรังสีลอยขึ้นฟ้าและลมพัดพาไปไกลหลายพันกิโล"

2.ระดับสารกัมมันตภาพรังสีที่รั่วไหลออกจากโรงงานไฟฟ้า มีปริมาณมากพอที่จะก่อให้เกิดอันตรายหรือไม่

           ระบบตรวจจับกัมมันตภาพรังสีของร่างกายมนุษย์มีความสามารถในการตรวจสอบสารกัมมันตภาพรังสีหากจำนวนอะตอมกัมมันตภาพรังสีบนผิวหนังมากถึง 50 จนถึงหลายร้อยอะตอม  แต่ถ้าระดับสารรังสีอยู่ในระดับต่ำร่างกายก็สามารถป้องกันตัวเองได้

3.สารกัมมันตรังสีที่รั่วออกมาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เกิดความเสียหายมีอันตรายมากแค่ไหน


           สารกัมมันตรังสีที่รั่วออกมามีหลายชนิดเช่น ไอโอดีน-131 ซีนอน-137 ซีเซี่ยม-137 สตรอนเชี่ยม-90 เป็นต้น การที่จะมีอันตรายมากน้อยแค่ไหนนั้นนอกจากปริมาณที่รั่วออกมามากแค่ไหนแล้ว ยังขึ้นกับคุณสมบัติของสารแต่ละอย่างด้วย สารบางชนิดมีค่าครึ่งชีวิตสั้นเมื่อรั่วออกมาไม่นานก็สลายตัวหมดไปไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆเช่นซีนอน-137 มีค่าครึ่งชีวิตเพียง 3.8 นาที ดังนั้นไม่กี่นาทีก็หมดไปเอง บางชนิดเป็นอนุภาคเล็กๆสามารถลอยไปกับลมได้แต่เมื่อลมหยุดพัดก็จะตกลงสู่เบื้องล่างปนเปื้อนในดินหรือในน้ำเช่นซีเซียมเป็นต้น บางชนิดมีลักษณะเป็นกาซถ้ามีค่าครึ่งชีวิตนานก็จะสามารถลอยไปได้ไกลเช่นไอโอดีนเป็นต้น แต่ถ้าฝนตกก็จะสามารถละลายไอโอดีนให้ตกลงสู่เบื้องล่างได้เช่นกัน ดังนั้นจึงเห็นว่าในกรณีการรั่วไหลที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นสารกัมมันตรังสีที่จะมีความเสี่ยงมากที่สุดต่อประเทศไทยได้แก่ไอโอดีนเนื่องจากเป็นกาซสามารถลอยไปได้ไกลและเข้าสู่ร่างกายได้โดยการหายใจ ส่วนซีเซียมจะมาในลักษณะปนเปื้อนมากับอาหารต่างๆซึ่งสามารถป้องกันได้โดยการตรวจวัดปริมาณรังสีก่อนนำเข้าประเทศ สำหรับไอโอดีนที่ลอยมาจะเป็นอันตรายมากแค่ไหนก็ขึ้นกับปริมาณที่รั่วออกมาว่ามากน้อยแค่ไหน ลมแรงเพียงใดและพัดไปในทิศทางใด เนื่องจากไอโอดีนมีค่าครึ่งชีวิตประมาณ 8 วัน ดังนั้นถ้าลมไม่แรงก็อาจจะมาไม่ถึงประเทศไทย

4.เราจำเป็นที่ต้องกังวลต่ออันตรายที่เกิดจากสารกัมมันตภาพรังสีทางอ้อมหรือไม่ เช่น การบริโภคอาหารทะเลจากพื้นที่ดังกล่าวมีความปลอดภัยหรือไม่

         หากว่ารายงานระดับสารกัมมันตภาพรังสีมีความแม่นยำ ก็ไม่มีเหตุผลที่จำต้องกังวล เนื่องจากสารกัมมันภาพรังสีสามารถพบได้ทั่วไปในสภาพแวดล้อมทั่วไป

5.กัมมันตภาพรังสีทำให้เกิดการกลายพันธุ์ได้จริงหรือ

         ใครที่เคยดูหนังประเภทสัตว์หรือสัตว์ที่ได้รับกัมมันตภาพรังสีและกลายพันธุ์เป็นสัตว์ประหลาดออกอาละวาด หยุดความคิดนั่นไว้ก่อนค่ะ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับกัมมันตภาพรังสีคือ DNA Mutations หรือการเปลี่ยนแปลงของพันธุกรรม ซึ่งในที่นี้หมายถึง กัมมันตภาพรังสีมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรมในเซลล์ของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ และเมื่อเซลล์มีการเปลี่ยนแปลงหรือผิดปกติก็จะทำให้เกิดโรคต่างๆ อย่างโรคมะเร็ง โรคผิวหนัง เป็นต้น

6.สารกัมมันตภาพรังสีปนเปื้อนอาหารได้อย่างไร

         อาจปนเปื้อนโดยลมพัดไปตกค้างอยู่บนพื้นผิวของผัก ดังนั้นการล้างผักด้วยน้ำสะอาดจะช่วยลดสารกัมมันตภาพรังสีลงได้มาก ส่วนการปนเปื้อนในน้ำนมวัวนั้น เป็นผลมาจากการที่วัวกินหญ้าหรือน้ำที่มีสารกัมมันตภาพรังสีตกค้างอยู่

7.สารกัมมันตภาพรังสีมีผลต่อเด็กอย่างไร

         เด็กมีความอ่อนไหวต่อสารกัมมันตภาพรังสีมากกว่าผู้ใหญ่ ในกรณีของผู้ใหญ่ สารกัมมันตภาพรังสีจะถูกสะสมที่ต่อมไทรอยด์เพียงร้อยละ 7 ส่วนที่เหลือจะถูกขับออกจากร่างกายภายใน 24 ชั่วโมง แต่สำหรับเด็กจะถูกสะสมในร่างกายประมาณร้อยละ 20 (ตามเกณฑ์ปกติ เด็กจะสามารถรับสารกัมมันตภาพรังสีได้ไม่เกิน 100 Bq/ลิตร และผู้ใหญ่ไม่เกิน 300 Bq/ลิตร)

8.มีวิธีป้องกันไม่ให้ร่างกายรับสารกัมมันตรังสีไอโอดีนหรือไม่


         ดังกล่าวข้างต้นอันตรายที่จะเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหนขึ้นกับว่าปริมาณที่มาถึงประเทศไทยจะมากน้อยแค่ไหน อย่างไรก็ดีคงไม่มีโอกาสที่จะมีปริมาณมากถึงระดับที่ก่อให้เกิดอาการเฉียบพลันหรือเสียชีวิต แต่ความพิเศษของไอโอดีนรังสีก็คือถ้าได้รับเข้าสู่ร่างกายแล้วมันจะเข้าไปสะสมอยู่มากในต่อมไทรอยด์ซึ่งอยู่ที่บริเวณคอ เนื่องจากต่อมไทรอยด์จะต้องใช้ไอโอดีนในการสร้างเป็นไทรอยด์ฮอร์โมนต่อไป ดังนั้นต่อมไทรอยด์จะได้รับปริมาณรังสีมากกว่าอวัยวะอื่นๆในร่างกาย ถ้าหากได้รับเข้าไปมากต่อมไทรอยด์ก็อาจจะเกิดอาการอักเสบหรือถูกทำลายหมดทำให้ร่างกายขาดไอโอดีน ถ้าได้รับเพียงปริมาณน้อยๆความเสียหายต่อสารพันธุกรรมไม่มากร่างกายซ่อมแซมได้ก็จะไม่เกิดอันตรายแต่อย่างใด แต่ถ้าได้รับในปริมาณปานกลางก็อาจมีโอกาสที่จะเกิดมะเร็งต่อมไทยรอยด์ได้ในภายหลัง ทั้งนี้มิได้หมายความว่าทุกคนที่ได้รับในปริมาณนี้จะเกิดเป็นมะเร็งทุกคน เพียงแต่มีโอกาสมากขึ้นกว่าผู้ที่ไม่ได้รับรังสีเลยเท่านั้น

9.มีวิธีป้องกันไม่ให้ร่างกายรับสารกัมมันตรังสีไอโอดีนหรือไม่
              

          วิธีป้องกันไม่ให้เข้าสู่ร่างกายที่ทำได้ก็คือไม่เข้าไปอยู่ในบริเวณที่มีสารกัมมันตรังสีและไม่รับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนเท่านั้น แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็จะมีวิธีป้องกันไม่ให้สารกัมมันตรังสีไอโอดีนเข้าไปสะสมอยู่ในต่อมไทรอยด์ได้ ทั้งนี้เนื่องจากต่อมไทรอยด์มีความสามารถจับไอโอดีนได้ในปริมาณจำกัดปริมาณหนึ่ง ถ้าต่อมไทรอยด์มีปริมาณไอโอดีนในต่อมจะเพียงพอแล้วก็จะไม่จับไอโอดีนที่ได้รับเข้าไปอีก เราจึงใช้วิธีรับประทานสารไอโอดีนที่ไม่มีรังสีเข้าไปจนทำให้ต่อมไทรอยด์มีไอโอดีนมากพอที่จะไม่จับไอโอดีนเพิ่มเติมอีก ดังนั้นเมื่อเราได้รับไอโอดีนรังสีก็จะไม่เข้าไปสะสมในต่อมไทรอยด์ต่อไป

10.จะรับประทานยาไอโอดีนดังกล่าวป้องกันไว้ก่อนเลยดีหรือไม่


          จำเป็นหรือไม่ขึ้นกับ 2 ปัจจัยคือโอกาสที่จะได้รับไอโอดีนรังสีเข้าไปสะสมในต่อมไทรอยด์ในปริมาณที่มากน้อยแค่ไหน และโอกาสที่จะเกิดมะเร็งต่อมไทรอยด์มากน้อยแค่ไหน เด็กเล็กจะมีโอกาสที่จะเกิดมะเร็งมากกว่าผู้ใหญ่ ดังนั้นถ้าปริมาณไอโอดีนรังสีในบรรยากาศมีน้อยก็ไม่จำเป็นที่จะต้องรับประทาน ถ้ามีปริมาณมากขึ้นอีกหน่อยและอายุน้อยก็ควรจะต้องรับประทานแต่ถ้าอายุมากแล้วก็อาจจะยังไม่จำเป็น มีข้อแนะนำว่าถ้าอายุมากกว่า 40 ปีแล้วโอกาสที่จะเกิดมะเร็งต่อมไทรอยด์จากกรณีนี้น้อยมากไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรับประทานยาแต่อย่างใดนอกเสียจากว่ามีโอกาสที่จะได้รับปริมาณรังสีมากในขนาดที่ต่อมไทรอยด์อาจจะถูกรังสีทำลายจนหมดได้

          นี้ก็เป็นคำถามที่นำมาฝากในวันนี้นะคะ แต่หากว่าท่านใดที่สนใจหรือต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับสารกัมมันตภาพรังสี ก็สามารถหาคาวมรู้เพิ่มเติมได้จากแหล่งต่างๆทั้งจากอินเตอร์เนต สื่อหรือหนังสือต่างๆได้นะคะ

 

หมายเลขบันทึก: 435758เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2011 10:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท