เราอยากเห็น "เด็กดี ครูดี มีจรรยางาม"


การจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้

 

                การศึกษา ซึ่งถือว่าเป็นเบ้าหลอมคนในสังคม ให้เป็นไปตามที่สังคมต้องการ โดยมีสถาบันการศึกษา เป็นสถานที่หลักในการบ่มเพาะ และมีครูเป็นผู้บ่มเพาะ พร้อมกับสังคมให้ความคาดหวังว่า สถาบันที่บ่มเพาะ จะเป็นสถานที่ที่เป็นตัวอย่างแก่สถานที่อื่นๆ คนบ่มเพาะ ก็เป็นตัวอย่างแก่อาชีพอื่นๆ และผู้ที่ถูกบ่มเพาะแล้ว จะออกมาตามที่สังคมมุ่งหวัง คือ "ดี เก่ง และอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมอย่างมีความสุข"

               องค์ประกอบ 3 ประการ คือ สถานที่  ครู และ นักเรียน  จะเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญ ที่รัฐได้ใช้งบประมาณมหาศาลในการให้ได้ในสิ่งที่สังคมคาดหวัง โดยใช้ "หลักสูตร" เข้าไปเป็นตัวกำหนด เพื่อกระทำให้เกิด "คุณภาพ" ตามมา

               ได้มีนักวิชาการเอาแนวคิด ทฤษฎี หรือหลักวิชามากมาย เข้าไปใส่ในองค์ประกอบทั้ง 3 อย่าง เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ของประเทศ ของประชาคมโลก และให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก และแนวคิด ทฤษฎี เหล่านั้นถูกนำไปใช้ ประยุกต์ และวิจัยพัฒนาออกมามากมายหลายแนวทาง ซึ่งเรียกว่า "นวัตกรรม" ซึ่งมีความมุ่งหมายอย่างเดียวคือ "คุณภาพ" ที่สังคมต้องการ อยากให้เป็น 

               ไม่มีใครปฏิเสธที่อยากเห็น "เด็กดี ครูดี มีจรรยางาม" เพราะหากดี ความหมายคือต้องเก่งด้วย จึงจะดีได้  จรรยางาม คือ แนวทางในการปฏิบัติที่เป็น มารยาทในสังคมและวิชาชีพที่ถูกกำหนดมาให้เป็น เพื่อเป็นตัวอย่าง

              เราอยากเห็น เด็กดี มีจรรยางาม หมายถึงสังคมและครูต้องช่วยกัน แต่ครูจะทำให้เด็กดีได้ ครูต้องดี มีจรรยางามที่เป็นตัวอย่าง (เป็นแบบดีกว่าบอก)

              จรรยางามสำหรับครู คือ จรรยาบรรณของวิชาชีพ  ซึ่งได้กำหนดไว้แล้ว ในจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2546 (เรียกว่า จรรยาบรรณของ วิชาชีพ มี 5 กลุ่ม 9 ประการ) ดังนี้

จรรยาบรรณต่อตนเอง

1 ) ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ

จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ

2) ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ

จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ

3) ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า

4) ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัย ที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ

5) ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ

6) ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์ และผู้รับบริการ

7) ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและ เสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ

จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ

8) ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ

จรรยาบรรณต่อสังคม

9) ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของ ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

           เราอยากเห็น "เด็กดี ครูดี มีจรรยางาม" จริงๆ

ที่มา : ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ.2548 

  

หมายเลขบันทึก: 434372เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2011 20:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท