นวดหัวใจ (ตอนที่1)


การช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) ด้วยการนวดหัวใจ หรือที่เรียกกันทั่วๆไปว่าปั๊มหัวใจนั้น เป็นสิ่งที่ทุกคนควรเรียนรู้และฝึกทำให้ได้

 

การช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) ด้วยการนวดหัวใจ หรือที่เรียกกันทั่วๆไปว่าปั๊มหัวใจนั้น เป็นสิ่งที่ทุกคนควรเรียนรู้และฝึกทำให้ได้ อย่างถูกต้อง ทำไม BY Jan จึงกล้าพูดแบบนี้
              เหตุผลคือ หากผู้ที่หัวใจหยุดเต้นไม่ได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพ ที่ถูกต้อง ทันที ไม่เกิน 4-5 นาที โอกาสที่จะรอดชีวิต แทบไม่มีเลย และถ้าผู้ที่หัวใจหยุดเต้นต่อหน้าต่อตาเรา นั้นเป็นเพื่อน เป็นพ่อ แม่ พี่น้อง เป็นบุคคลที่รักยิ่งของเรา เราจะทำอย่างไร? การรอรถพยาบาลฉุกเฉิน (1669) ซึ่งต้องใช้เวลาเดินทางกว่าจะมาถึง แล้วแต่ระยะใกล้หรือไกล ก็มักจะสายเกินไปเสียแล้ว
             จากการที่ได้พูดคุยกับผู้ประสบเหตุ หลายท่าน ที่เรียกใช้บริการ 1669 รวมถึงนำผู้ป่วยมาส่งโรงพยาบาลเอง 1 ใน 10 รายเท่านั้น ที่มีการนวดหัวใจทันทีระหว่างรอรถพยาบาล หรือระหว่างนำส่ง สาเหตุที่ส่วนใหญ่ เขาไม่ทำพอสรุปได้ว่า
             - ทำไม่เป็น จึงไม่กล้าทำ
             - กลัวจะเป็นอันตราย กลัวซี่โครงหัก
             - กลัวติดเชื้อโรค ถ้าจะต้องเป่าปากช่วยหายใจ
             - กลัวผิดกฏหมาย 

             ลองถามตัวท่านเองซิว่า ท่านก็เป็นแบบนี้หรือเปล่า?

Figure 1

          1                    2                   3                  4                   5

             นี่คือภาพสัญลักษณ์ แสดงห่วงโซ๋แห่งการรอดชีวิต ล่าสุด ปี 2010

ห่วงที่ 1 คือ การโทร. 1669 ขอความช่วยเหลือจากรถพยาบาลฉุกเฉิน (EMS)
ห่วงที่ 2 คือ การนวดหัวใจทันที อย่างถูกต้อง
ห่วงที่ 3 คือ การ ช็อค ด้วยเครื่องกระตุกหัวใจ (Defibrillator) ซึ่งบางสถานที่
            ก็จัดให้มี เช่น บนเครื่องบิน โรงแรมบางแห่ง
ห่วงที่ 4 คือ ความช่วยเหลือจากรถพยาบาลฉุกเฉิน (EMS)
ห่วงที่ 5 คือการดูแลภายหลังการช่วยฟื้นคืนชีพสำเร็จแล้ว
            นั่นหมายความว่า หากห่วงโซ่นี้ ขาดห่วงใดห่วงหนึ่งไป โอกาสรอดชีวิต
ก็เป็นไปได้ยาก
            ท่านคงพอจะมองออกแล้วว่า ทำไมทุกคนจึงควรเรียนรู้และฝึกทำให้ได้ อย่างถูกต้อง เพราะ ห่วงที่ 1 และห่วงที่ 2 เป็นหน้าที่ของผู้พบเหตุที่จะต้องรีบทำในทันที ซึ่งอาจจะเป็นเราเองก็ได้ !!!

ขอบคุณภาพจาก http://circ.ahajournals.org/cgi/content/full/122/18_suppl_3/S676/F1
หมายเลขบันทึก: 434370เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2011 20:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

สวัสดีค่ะ

ตอนแรกชอบนวด และชอบสปาค่ะ มันผ่อนคลายดี  แบบถึงเวลาก็ต้องไปนวดทุกครั้ง

ภายหลังออกกำลังกายสม่ำเสมอ  ไม่ปวดไม่ต้องเสียตังค์ เสียเวลาด้วยค่ะ  นวดเบิกได้  แต่สปาจ่ายแพงสูญเปล่าค่ะ

Ico48 5-5 นวดคนละอย่างแล้วหละค่ะ

สวัสดีค่ะ

จะคุยต่อเรื่องนวดฟื้นคืนชีพ แต่รีบไปรับโทรศัพท์แล้วลืมไปเลยค่ะ

พี่คิมเคยช่วยบีบถุงลมให้เพื่อนในห้องไอซียู  พยาบาลนวดไม่ไหว  และบอกว่าสุดท้ายแล้วให้บีบไปเรื่อย ๆ

แม้ว่าเพื่อนไปแล้ว แต่พวกเราก็ยังยุ่งที่จะนวดอยู่ค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • ขอบคุณความรู้นี้ค่ะ

 

มาชม

เป็นสิ่งที่เราควรเรียนรู้นะครับ...

นึกถึงท่านมหาตมะคานธี ตอนไปอยู่แอฟริกาใต้

วันหนึ่งเดินไปร้านขอตัดผม  เจ้าของร้านกลัวเสียลูกค้าที่มาตัดผมให้คนผิวดำ ขอบอกปฏิเสธ

แต่นั้นมาท่านเลยไปซื้อเครื่องมาตัดมาโกนผมเสียเองเลยละ...คือลงมือทำเอง...

เมื่อภรรยาคลอดลูกชายก้ทำคลอดเอง...เป็นต้น.

ขอบคุณครับ เป็นประโยชน์ต่อสังคมมากครับ

Ico48 จรรย์ทำงานร.พ.ชุมชน บ่อยครั้งที่ทีมรักษาของเรา
ให้การช่วยฟื้นคืนชีพ กับคนไข้ที่เสียชีวิตก่อนถึงร.พ.
ถึงแม้จะหมดหวัง เหนื่อย หรือมีค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือก็ตาม
การบอกญาติว่า หมดหวังแล้ว หรือปฏิเสธการช่วยทันทีที่มาถึง
เป็นสิ่งที่เขายังรับไม่ได้เช่นกันค่ะ

 

Ico48 ขอบคุณค่ะที่มาเยี่ยม

 

Ico48 ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนค่ะ

Ico48 สวัสดีค่ะ ยังมีตอน 2 แต่ต้องรอหน่อยนะคะ

เป็นแบบนี้แหละครับ แต่ว่าคราวนี้ทราบเรื่องราวแล้ว คงรอดได้อีกหลายปี นะครับ

Ico48 กำลังคิดอยู่ค่ะว่าจะเขียนตอน 2 อย่างไร
ให้เข้าใจง่าย และทำได้ทุกคน

สวัสดีค่ะ

เป็นบันทึกที่ดีมีประโยชน์จริง ๆ นะคะ ขอบคุณที่เขียนเพราะไม่ว่าใครก็มีโอกาสเป็นหนึ่งในห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิต เขียนต่อนะคะ..เพราะถ้าคนอ่านแล้วเข้าใจนำไปปฎิบัติได้ ก็นับว่าเป็นบุญมาก จะรออ่านค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท